เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า จะขึ้นภาษีต่อผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียมของตุรกีเป็นเท่าตัว ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% และ 20% ตามลำดับ ทั้งๆ ที่ตุรกีกำลังเผชิญกับวิกฤตค่าเงินครั้งร้ายแรง พร้อมๆ กับที่ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เพิ่งประกาศอายัดทรัพย์สินของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงมหาดไทยของตุรกีที่มีอยู่ในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า เหตุใดสหรัฐจึงทำร้ายประเทศที่เรียกว่าพันธมิตร และยังมีความชอบธรรม หรือความน่าเชื่อถือสำหรับประเทศอื่น ๆ รวมถึง ความรับผิดชอบต่อประชาคมโลกอีกหรือไม่
เมื่อปี 2017 หลังจัดการประชุมกลุ่มประเทศ G 7 ที่เกาะซีซิลิเป็นต้นมา นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีแสดงความผิดหวังกับสหรัฐโดยระบุว่า "ยุคสมัยที่เชื่อถือหุ้นส่วนคนอื่นผ่านไปแล้ว ฉันเชื่อว่าชาวยุโรปเองต้องตัดสินอนาคตของเราเอง"
สื่อมวลชนสหรัฐฯ เคยระบุว่า "นายเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เคยกล่าวว่า นโยบายทางการทูตไม่ควรเกี่ยวโยงกับภารกิจการเผยแพร่ศาสนา" แต่ที่จริงแล้ว นโยบาย "สหรัฐฯ มาก่อน" ขัดต่อคำกล่าวนี้
นโยบายอเมริกามาก่อน ไม่เพียงจะทำให้สหรัฐฯ ยืนอยู่ตรงกลางตอนถ่ายภาพหมู่ หากยังเป็นเพื่อนที่มองข้ามความรับผิดชอบและไม่รักษาคำมั่นสัญญา หลังจากปธน.โดนัล ทรัมป์ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียง 4 วัน สหรัฐฯ ก็ขอถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ซึ่งมี 12 ประเทศเจรจามาหลายรอบ ด้านข้อตกลงปารีส สหรัฐฯ ก็ขอถอนตัวเพราะอยากควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 สหรัฐฯ รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี บรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ทางการสหรัฐฯ ก็ประกาศขอถอนออกจากข้อตกลง และเมื่อปี 2017 สหรัฐฯ ยังขอถอนตัวออกจากยูเนสโก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ไม่รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในเวทีสากล และไม่แบกรับความรับผิดชอบที่ควรมีในกิจการระหว่างประเทศ จะให้ผู้อื่นเชื่อถือและเคารพอย่างไร ในด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา สหรัฐฯ เพิ่งได้ลงนามในข้อตกลงหยุดสงครามการค้าเป็นการชั่วคราว และขึ้นภาษีต่อสินค้าจีนนั้น เป็นหลักฐานที่ระบุว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ไม่มีจุดยืนและขาดความน่าเชื่อถือ
BO/Lei/Zheng