ข้าวหอมมะลิไทย ทุเรียนเวียดนาม หรือเนื้อสดจากออสเตรเลียเป็นต้น ปัจจุบัน สินค้าเกษตรที่ตลาดจีนนำเข้ามามีมากมายหลากหลาย ขณะเดียวกันบนโต๊ะอาหารของประเทศต่างๆ ก็มีพืชผลทางการเกษตรที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศจีนวางอยู่เต็มโต๊ะด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น การเกษตรกรรมของประเทศจีนยังได้ใช้วิธีการนำเข้าเงินทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ พร้อมทั้งนำเงินลงทุนและเทคนิคออกไปนอกประเทศด้วย ในด้านการค้าผลิตผลทางการเกษตร และการร่วมลงทุนในต่างประเทศ มีความเป็นนานาชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการซื้อของจากทั่วโลกมาและนำสินค้าของตนออกไปขายยังทั่วโลก
มะเขือเทศเชอร์รี่ของเนเธอร์แลนด์ แพะพันธุ์บอร์(boer)จากออสเตรเลีย เนื้อวัวปิเอมอนเต้ (Piemonte)จากอิตาลี แหล่งพันธุ์พืชและสัตว์สายพันธุ์ชั้นเลิศได้ถูกนำเข้ามาจำนวนมากขึ้นอย่างไม่ขาดสาย ทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนทั่วไปมีความหลากหลายมากขึ้น และยกระดับความสามารถในการผลิตโดยรวมของการเกษตรกรรมในจีน
จีนได้เริ่มนำเข้าเทคโนโลยีการเกษตรจากต่างประเทศมานานแล้ว เมื่อปี 1998 สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์เมืองฮาร์บิน คณะวิทยาศาสตร์การเกษตร ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันไข้หวัดนกจากเชื้อไวรัส 135 สายพันธุ์ซึ่งเป็นที่รู้จักจากทั่วโลกเกือบทั้งหมด วัคซีนที่คิดค้นสำเร็จมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศจีน และในปัจจุบันก็ยังคงเป็นประโยชน์ต่อประเทศจีนและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย เนื่องจากได้เริ่มโครงการพัฒนานำเข้าเทคโนโลยีต่างๆ มาแต่เนิ่นๆ ทำให้มีเทคโนโลยีสำรองเพียงพออย่างเต็มที่ การป้องกันและควบคุมโรคระบาดขนาดใหญ่ของสัตว์ชนิดอื่นๆ จึงได้รับการพัฒนาตามไปด้วย
การมอบดอกกุหลาบให้ผู้อื่น มือของตนก็มีกลิ่นหอมไปด้วย จีนเป็นผู้รับเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามา ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ด้วย
เมืองในเขตคารา(kara)ของประเทศโตโก ทวีปแอฟริกา มีคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรมของจีนประจำอยู่ที่นั้น หลี่ หัวอัน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวโพดเป็นหนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นข้าวโพดล้มตาย เมื่อต้นข้าวโพดโตได้ประมาณ 1 เมตร หลี่ หัวอันได้ลงไปยังพื้นที่เพาะปลูกทีละแปลงเพื่อสอนให้ชาวไร่ยกดินที่โคนต้นข้าวโพดให้สูงขึ้น หลี่ หัวอันกล่าวว่า ให้ชาวไร่รู้จักเทคนิคง่ายๆ ก็จะสามารถปกป้องผลผลิตของตนได้ ต้นข้าวโพดที่ผ่านการยกดินที่โคนต้นให้สูงขึ้นเมื่อมีพายุฝนก็จะไม่เอนล้มง่าย เกษตรกรในท้องถิ่นต่างก็ยกนิ้วโป้งแสดงความยกย่องชื่นชอบ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรของจีนได้ลงมือสอนเทคนิคการทำไร่ ทั้งวิธีการเพาะเมล็ดปลูกลงดิน รวมถึงวิธีการป้องกันโรคและแมลง ซาอีร์ซึ่งเป็นชาวไร่ท้องถิ่นเล่าว่า หลังจากใช้เทคนิคการปลูกพืชของจีน ปริมาณผลผลิตของเขาได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ปีนี้คิดว่าจะขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นอีก
จู้ จื้อตง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศูนย์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการเกษตรจีนกล่าวว่า นับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950 จีนได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านเกษตรกรรมแก่ประเทศกำลังพัฒนาตั้งแต่โครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น การชลประทานของโซมาเลีย และศูนย์สาธิตเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อช่วยเหลือทวีปแอฟริกา ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอยู่ในกรอบขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ การอาชีวศึกษาด้านเกษตรกรรมของเอธิโอเปีย โครงการที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีโดยยึดหลักการสร้างทักษะความสามารถเป็นสำคัญ จีนได้ดำเนินการตามหลักแนวคิดว่า "ช่วยเหลือคนต้องช่วยให้เขารู้จักวิธีที่จะช่วยเหลือตนเอง" สร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตพืชผลทางการเกษตร และความมั่นคงทางอาหารให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา
ประเทศตามแนวทาง "1 แถบ 1 เส้นทาง" ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา มีทรัพยากรทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ และมีศักยภาพสูงในการบุกเบิก จีนและประเทศเหล่านี้มีข้อได้เปรียบทั้งในด้านทรัพยากรทางการเกษตร เทคโนโลยี กำลังการผลิตและตลาด ซึ่งจะช่วยเสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อนของกันและกันได้เป็นอย่างดี การร่วมมือกับการพัฒนาเกษตรกรรมเป็นจุดเชื่อมที่ดีในการผนึกกำลังเพื่อสร้างผลประโยชน์และรวมชะตาเดียวกันเป็นส่วนช่วยสนับสนุนสำคัญในนโยบาย "1 แถบ 1 เส้นทาง"
หลายสิบปีมานี้ การสร้างความเป็นสากลร่วมกันในด้านเกษตรกรรมของประเทศจีนได้รุดหน้าไปอย่างต่อเนื่อง การที่ผู้ประกอบการของจีนได้ออกไปลงทุนยังต่างประเทศก็มีส่วนช่วยในด้านการเกษตรกรรมของประเทศต่างๆ ด้วย เราได้เผยแพร่เทคนิคการเกษตรใหม่ๆ ให้แก่ทาจิกิสถานด้วย เช่น การปลูกพืชโดยคำนึงถึงระยะห่างของพืชแต่ละต้นให้มีความเหมาะสม การปลูกพืชโดยใช้พลาสติกคลุมดินและใช้ระบบน้ำหยด และการดูแลรักษาพืช เป็นต้น ทำให้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยของข้าวสาลี ข้าวโพด ฝ้ายในไร่สาธิตมีมากกว่าสองเท่าของกำลังการผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่น สร้างสถิติกำลังการผลิตทางการเกษตรที่มากที่สุดในทาจิกิสถาน ซึ่งการสร้างผลประโยชน์ให้กันอย่างแท้จริงและแนวคิดที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกัน เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญในนโยบาย "1 แถบ 1 เส้นทาง" เมื่อท้องที่นั้นแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ จีนก็ได้เผยแพร่เทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือการผันน้ำเข้าไร่อย่างประหยัด สาธิตการผันน้ำเข้าสู่ท้องถิ่นที่ขาดแคลนน้ำและมุ่งพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำ เฉิน เยี่ยนเหลี่ยง ผู้จัดการใหญ่และประธานกรรมการบริษัทในเขตหวงฟั่น มณฑลยูนนาน กล่าวว่าความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นมาตรฐานสำคัญซึ่งผู้ประกอบการที่ออกไปลงทุนยังต่างประเทศต้องพึงระลึกไว้เสมอ