Ensi Tszie กล่าวว่า หลังจีนริเริ่มโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เมื่อปี 2013 ประเทศในเอเชียกลางได้กุมโอกาสนี้ไว้แน่น โดยได้ขยายช่องทางแลกเปลี่ยนกับจีนและประเทศอื่นๆ เพื่อแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นบนเวทีโลก
การริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ทำให้เส้นทางสายไหมที่มีตั้งแต่สมัยโบราณมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง เส้นทางนี้ได้เปิดประตูสู่โลกภายนอกให้แก่ ประเทศที่ตั้งอยู่ในดินแดนชั้นใน และห่างไกลจากชายฝั่งทะเล อย่างเช่น คีร์กีซสถานเป็นต้น อีกทั้งยังได้อำนวยความสะดวกแก่การไปมาหาสู่กันกับจีนมากขึ้น ทำให้ทั้งสองประเทศสามารถพัฒนามิตรสัมพันธ์และมีการพัฒนาร่วมกันมากขึ้นอีกครั้งหนึ่งภายใต้โครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"
นอกจากนี้ เธอยังได้เห็นกับตาถึงการริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ทำให้ประชาชนประเทศคีร์กีซสถานได้รับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ขณะนี้คีร์กีซสถานกำลังเร่งดำเนินหลายโครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่มีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลและการศึกษาภายใต้การริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" โครงการเหล่านี้จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
(YIM/cai)