พิพิธภัณฑ์เหลาเส่อ นักเขียนอมตะของจีน
  2009-11-19 13:47:13  cri

เหลาเส่อยอมรับว่า "การปฏิวัติปัญญาชน ได้มอบจิตวิญญาณและถ้อยภาษาทางวรรณกรรมใหม่ให้ ผมสำนึกเสมอว่า การปฏิวัติปัญญาชนได้อนุญาตให้ผมเป็นนักเขียนด้วย"

เหลาเส่อได้เดินทางไปกรุงลอนดอนเพื่อสอนภาษาจีนในสถานบันตะวันออกศึกษา (ในสมัยนั้น) ของมหาวิทยาลัยลอนดอน ระหว่างปี 1924 – 1929 ระหว่างนี้เขาได้ซึมซาบในวรรณกรรมของฝั่งอังกฤษอย่างมาก และเริ่มเขียนงานของตนเอง ซึ่งชีวิตในช่วงนี้ได้สะท้อนอยู่ในผลงานชิ้นหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า "อ้าหม่า" หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า " Ma and Son" หรือในชื่อไทยว่า "พ่อลูกตระกูลหม่า"

ฤดูร้อนปี 1929 เข้าเดินทางจากเกาะอังกฤษไปยังเกาะสิงคโปร์ โดยเข้าสอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง และระหว่างการเดินทางกลับสู่ประเทศจีน ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 1930 จนกระทั่งถึงปี 1937 เขาตระเวณสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งตามเส้นทางที่ผ่าน รวมทั้งมหาวิทยาลัยชีหลู และมหาวิทยาลัยซานตง (ชิงเต่า)

เมื่อสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 (1937-1945) ปะทุขึ้น ความความคิดและมุมมองของเหลาเส่อได้เปลี่ยนไป ระหว่างนี้เขาเขียนบทละครหลายชิ้น และทำงานเป็นนักโฆษณา และเป็นประธานสหพันธ์นักเขียนจีนทั่วประเทศเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้ตีพิมพ์นวนิยายที่มีชื่อว่า "ซื่อสื้อ ถงถัง(SiShi Tongtang)" หรือในฉบับแปลเป็นไทยว่า "คนสี่รุ่น" ซึ่งจำลองมาจากประสบการณ์ชีวิตในช่วงการเข้ายึดครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น ระหว่างปี 1946 -1949 เขาย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาตามคำเชิญของสำนักงานแห่งรัฐ แต่พอประเทศจีนใหม่สถาปนาขึ้นในปี 1949 เขาก็เดินทางกลับมายังบ้านเกิด

1 2 3 4 5 6 7 8
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040