เหรียญป้านเหลี่ยงแรก
ท่านผู้ฟังลองนึกภาพดูแล้วกันนะครับ ว่าจะไปทำการค้าแต่ละครั้งนั้น ต้องหอบข้าวของไปมากเพียงใด แถมขากลับยังต้องแบกจอบเสียมกลับมาอีกทั้งหนักทั้งพะรุงพะรัง
ดังนั้นพอถึงราวสมัยราชวงศ์ซาง ประมาณ 700 ปี ก่อนคริสตศักราช จึงมีผู้คิดทำเหรียญกษาปณ์ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นสิ่งตอบแทนสินค้า โดยยังคงทำเป็นรูปมีดและจอบอยู่ เงินชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "พู"
ผมคาดเดาเอาว่า ยุคนั้นพัฒนาการในการถลุงเหล็กคงพัฒนาขึ้นมากแล้ว เครื่องที่เคยใช้แลกของกันมาก่อนจึงหาง่ายขึ้น หรือไม่ก็แลกกันมากจนไม่มีที่เก็บแล้วนั่นเอง จึงมีการออกแบบและกำหนดค่าของเงินขึ้นมา เพื่อใช้ซื้อขายสินค้า แต่ด้วยคุณค่าของจอบ เสียม และมีดยังคงอยู่ ผู้ออกแบบจึงผลิตเหรียญกษาปณ์รุ่นแรกออกมาเป็นรูปดังกล่าว ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ 5-7 นิ้วทั้งบริเวณด้ามยังมีห่วงเล็ก ไว้สำหรับร้อยให้เข้ากับ ทำให้สามารถผูกไว้กับเอวได้ ทำให้เกิดความสะดวกในการพกพา จนการเป็นเครื่องประดับสำคัญของการแต่งกายไปด้วย
เงิน "พู" นั้น ใช้แม่พิมพ์ดินเหนียวประกบกันสองด้าน จากนั้นเอามาประกบกัน โดยใช้เหล็กมัดกันให้แน่นสนิท จึงค่อยเทโลหะเข้าไปในแม่พิมพ์ เมื่อแกะแม่พิมพ์ออกมาแล้ว จะพบว่ามีส่วนที่ซึมเกินออกมาจากบล็อกเล็กน้อย ซึ่งต้องนำมาขัดและตะไบขอบออกให้เรียบเรียบร้อยก่อนจึงค่อยใช้ได้ ข้อดีของเทคนิกกการอัดบล็อกด้วยดินเหนียวก็คือ สามารถผลิตเงินออกมาได้ค่อนข้างจำกัด เพราะข้อเสียของมันก็คือ แม่พิมพ์แต่ละอันนั้นใช้ได้ครั้งเดียว โดยในแต่ละชิ้นที่ผลิตออกมานั้นจะมีสถานที่ที่จัดทำ น้ำหนัก และราคาด้วย ซึ่งเงินชนิดนี้มีใช้แพร่หลายในมณฑลซานตงและซ่านซี
ต่อมามีการผลิตเหรียญกษาปณ์ด้วยแม่พิมพ์หิน ซึ่งเป็นรูปเหรียญรูปแบบวงกลม และเจาะรูตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นเหรียญที่นิยมอย่างแพร่หลาย และมีอยู่ในมือนักสะสมทั่วโลก เหรียญชนิดนี้เริ่มทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหลียง ของยุคหนาน-เป่ยเฉา (ใต้-เหนือ) ด้วยความที่แม่พิมพ์เป็นหิน จึงสามารถทำเหรียญออกมาได้บางเพียง 0.25 - 0.30 ซม. เท่านั้น โดยมีชื่อเรียกว่า "เหรียญป้านเหลียง"
เหรียญรูปแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีขนาดเล็กพกพาสะดวก และใช้ต่อกันมาอีกหลายพันปี ซึ่งก็มีการพัฒนาเทคนิกการทำขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงขีดสุด นอกจากสะท้อนให้เห็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งสำคัญที่สุดคือ การสะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคนั้นๆ ด้วย
แต่เนื่องด้วยประเทศจีนในสมัยก่อน ยังแยกออกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยจำนวนมาก ต่างแยกเป็นอิสระต่อกัน ใครมีกำลังมากก็ผลิตเงินออกมามาก เพื่อเพิ่มศักยภาพและกำลังของตน อีกทั้งก๊กเล็กๆ ก็ยังสามารถผลิตเหรียญของตนเองได้ ทำให้ค่าของเงินลดลง และไม่สามารถควบคุมอัตราการหมุนเวียนของเงินได้
ซึ่งในยุคนี้นี่เอง ยังมีการพัฒนาการผลิตเหรียญเงิน ด้วยเทคนิกแม่พิมพ์สัมฤทธิ์ และมีพิมพ์ทรายขึ้นมาด้วย ซึ่งสามารถผลิตได้จำนวนมาก ซึ่งยิ่งทำให้เงินล้นตลาดมากยิ่งขึ้น