ปาฐกถาของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเรื่อง
"ปฏิรูปและเปิดประเทศอย่างลึก ร่วมสร้างเอเชีย-แปซิฟิกที่งดงาม"
ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม องค์การเอเปค
(เอเปค ซีอีโอ ซัมมิท)
ณ เกาะบาเหลี อินโดนีเซีย
วันที่ 7 ตุลาคม ปี 2013
ท่านประธานที่เคารพ สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และมิตรทั้งหลาย
วันนี้ ณ ที่นี้ มิตรผู้ทรงเกียรติมากันเต็มที่นั่ง บุคคลนิยามความก้าวหน้ามาชุมนุมกัน การมีโอกาสพบกับมิตรทั้งหลายจากวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเอเชีย-แปซิฟิก ณ เกาะสวรรค์อันสวยงามแห่งนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกปิติยินดีเป็นที่ยิ่ง
ที่นี่ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกเท่านั้น หากยังเป็นแหล่งกำเนิดของกระบวนการบาหลี โรดแมพบาหลี และอื่นๆ ด้วย การจัดประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ ณ เกาะบาหลี ได้แบกรับความต้องการของเอเชีย-แปซิฟิกและทั่วโลก
ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างยากลำบาก ขณะที่เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกรักษาแนวโน้มการพัฒนาที่ดี พร้อมกันนี้ก็เผชิญกับการท้าทายใหม่ๆ เช่นกัน ผู้คนทั้งหลายต้องการให้การประชุมครั้งนี้สามารถอัดฉีดพลังใหม่ให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจภูมิภาคและทั่วโลก
สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และมิตรทั้งหลาย
เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในช่วงปรับตัวระดับลึก มีทั้งวี่แววแห่งการเติบโต และปัญหาพื้นฐานที่ไม่มั่นคง พลังขับเคลื่อนไม่เพียงพอ และอัตราความเร็วไม่เท่ากัน โดยเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยังคงห่างจากการแก้ไขไกลโข มีความต้องการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคมากขึ้น ขณะที่เขตเศรษฐกิจที่เจริญขึ้นใหม่มีอัตราการเติบโตชะลอลง ภัยเสี่ยงและการท้าทายจากภายนอกเพิ่มขึ้น ส่วนการเจรจารอบโดฮาขององค์การการค้าโลกก็ก้าวย่างอย่างลำบาก ลัทธิกีดกันทางการค้าและการลงทุนมีลูกเล่นใหม่ การให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวทุกด้านและเติบโตด้วยดีจึงเป็นกระบวนการที่ยาวนานและเลี้ยวลดคดเคี้ยว
ต่อหน้าการท้าทายใหม่ที่นำมาโดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ไม่ว่าเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วหรือเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา ต่างกำลังพยายามหาแรงขับเคลื่อนใหม่เพื่อการเติบโต
แรงขับเคลื่อนเพื่อการเติบโตมาจากไหน ในความเห็นของข้าพเจ้า มาจากการปฏิรูป การปรับเปลี่ยน และการสร้างสรรค์อย่างเดียว เอเชีย-แปซิฟิกเป็นพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด ภายใต้ภูมิหลังที่การเติบโตของเศรษฐกิจโลกขาดแรงขับเคลื่อนนั้น เขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกควรใช้ความกล้าหาญที่กล้าเป็นผู้ริเริ่มของทั่วโลก (ผู้ริเริ่มใต้หล้า) ผลักดันสร้างรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เปิดเสรี พัฒนาอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมต่อกันด้านการเติบโต และหลอมรวมผลประโยชน์เข้าด้วยกัน มีเพียงแต่เช่นนี้ จึงจะสามารถทำถึงขั้น "ภูเขาและธารน้ำทับซ้อนสงสัยว่าไม่มีทาง แต่เห็นต้นหลิวและบุปผาแจ่มจรัสมีหมู่บ้านอีกแห่ง" ทำให้เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกแสดงบทบาทนำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก
จีนกำลังใช้ความพยายามเช่นนี้ โดยครึ่งแรกปีนี้ เศรษฐกิจจีนเติบโตร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งชะลอลงบ้างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่มากกว่าร้อยละ 8 ในอดีตที่ผ่านมา มิตรบางคนมีความกังวลต่ออนาคตของเศรษฐกิจโลก บางคนถึงตั้งคำถามดังต่อไปนี้ว่า เศรษฐกิจจีนจะเกิด "ฮาร์ดแลนดิ้ง (หรือ ดิ่งลงอย่างรุนแรง) หรือไม่" เศรษฐกิจจีนจะสารมาถพัฒนาด้วยดีอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ จีนจะรับมืออย่างไร สถานการณ์เศรษฐกิจจีนจะสร้างผลกระทบต่อเอเชีย-แปซิฟิกอย่างไร สำหรับคำถามดังกล่าว ข้าพเจ้ายินดีแถลงข้อคิดเห็นหลายข้อดังนี้
ก่อนอื่น สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องเน้นก็คือ สรุปสภาพต่างๆ โดยรวมแล้ว ข้าพเจ้ามีความมั่นใจเต็มเปี่ยมต่ออนาคตการพัฒนาของเศรษฐกิจจีน
ประการแรก ความมั่นใจมาจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่อยู่ในกรอบที่เหมาะสมและเป็นไปตามคาด อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนปรับจากตัวเลขสองหลักในอดีตมาเป็นร้อยละ 9.3 ในปี 2011 และร้อยละ 7.8 ในปี 2012 ตลอดจนร้อยละ 7.6 ในครึ่งแรกปีนี้ นับว่าโดยรวมผ่านระยะผ่านอย่างราบรื่น อัตราการเติบโตร้อยละ 7.6 นั้นติดอันดับแรกในเขตเศรษฐกิจสำคัญๆ ของโลก เศรษฐกิจจีนโดยพื้นฐานแล้วอยู่ในเกณฑ์ดี การเติบโตและดัชนีเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามคาด ไม่ได้เกิดอะไรที่เกินความคาดหมาย