หลังจากปี 2008 จีนได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ด้วยความสำเร็จแล้ว ทางการจีนจึงกำหนดว่า ต่อไปนี้ วันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันออกกำลังกายของประชาชนทั่วประเทศ
วันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาของจีนนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 ที่ประชาชนและทางการท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศจีนพากันจัดกิจกรรมด้านการกีฬา เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการออกกำลังกาย อีกทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้เวลาในการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น
วันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นวัน ชีซี ซึ่งเป็นวันวาเลนไทน์ของจีน หรือวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 7 ตามจันทรคติของจีน ที่เมืองหวู่ฮั่นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยเขตภาคกลางของจีน มีการจัดงาน "วันเดินออกกำลังกายโลก" โดยมีชาวเมือง นักท่องเที่ยวประเทศต่างๆ จำนวน 8,000 คน รวมถึงบ่าวสาวที่แต่งชุดแต่งงานจำนวน 50 คู่ ร่วมเดินริมแม่น้ำแยงซีช่วงที่ไหลผ่านเมืองนี้ นับเป็นการเปิดฉากวันออกกำลังกายของประชาชนในมณฑลหวู่ฮั่นครั้งที่ 3 พิธีเปิดงานครั้งนี้ ฝ่ายจัดงานหรือทางการท้องถิ่นยังมีข้อความประชาสัมพันธ์กับชาวเมืองว่า "ผู้ที่อยู่อาศัยบนตึกแต่สูงไม่เกินชั้น 6 นั้น ขอให้ใช้บันใดขึ้นลง และควรเดิน6,000 ก้าวหลังรับประทานอาหารมื้อหลักแล้ว"
มณฑลยูนนานอยู่เขตชายแดนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ประชาชนในเขตนี้ นอกจากมีชาวฮั่นเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีอีกหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ด้วยกัน วันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่ามาในปีนี้ ในถนนหนานผิงซึ่งอยู่กลางเมืองคุนหมิงเมืองเอกของมณฑลยูนนาน มีจักการประกวดแอโรบิก ชนกลุ่มน้อย เด็กและเยาวชนจากชนเผ่าต่างๆ เช่นชนเผ่าหว่า ชนเผ่าอี๋ ชนเผ่าไตหรือไทใหญ่ ตลอดจนชนเผ่าทิเบตในมณฑลนี้ พวกเขาต้องจากบ้านเกิดที่อยู่ทั้งใกล้และไกลกับสถานที่จัดประกวด เดินทางมาชุมนุมกันที่เมืองคุนหมิง ร่วมประชันขันแข่งแอโรบิกและประสบการณ์ท่ามกลางบรรยากาศอันเปี่ยมไปด้วยความสนุกสนาน
ปีหลังๆ นี้ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย ทางการจีนมีกำหนดนโยบายให้ทางการท้องถิ่น พยายามค้นหาและรวบรวมวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย อาทิ ระบำของชนกลุ่มน้อย และให้ดัดแปลงเป็นแอโรบิกที่เป็นชุดและจำง่าย เพื่อสะดวกในการเผยแพร่อย่างทั่วถึงและอยู่ได้นาน
ที่เมืองลาซาเมืองเอกเขตปกครองตนเองทิเบต มีจัดประกวดรำ ไทเก็กประเภททีม ทีมที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ มาจากหน่วนงานราชากรในทิเบต แต่ผู้ชมเป็นชาวเมืองลาซาทั้งนั้น นายเต๋อจี๋จัวก่า อธิบดีกรมการกีฬาเขตปกครองตนเองทิเบตเป็นหัวหน้าคณะและผู้นำทีมกรมการกีฬามาลงแข่ง และแสดงท่ารำไทเก็กด้วยความคล่องแคล่ว บรรดาผู้ชมชาวทิเบตแสดงความสนใจอย่างมากต่อท่ารำไทเก๊ะ นายลั่วซังผิงชั่วเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เขาบอกกับผู้สื่อข่าวว่า การรำไทเก๊ะเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ดีมาก โดยเฉพาะเหมาะสมสำหรับคนทิเบตที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูง เพราะจังหวะการรำไทเก๊ะจะช้าๆ ไม่ต้องหายใจหนักและไม่เหนื่อยมาก หวังว่าในโอกาสหน้า จะมีการสั่งสอนรพไทเก็กมากขึ้น ขณะนี้มีหน่วยงานสอนรำไทเกํะไม่มาก หวังว่าการประกวดรำไทเก็กครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้มีการเปิดสโมสรฝึกอบรมรำไทเก็กมากขึ้น ทำให้เรามีโอกาสฝึกรำำไทเก็กมากขึ้น
วันที่ 28 กรกฏาคมถึงวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมาที่อำเภอเหยาโจวเมืองหลินถันมณฑลกันซู่ อำเภอที่ได้ชื่อว่า "หมู่บ้านแห่งกีฬา ชักเย่อของจีน" ได้จัดแข่งขันชักเย่อไชน่าโอเพ่นปี 2011 นับเป็นครั้งที่ 3 โดยจัดต่อเนื่องกัน 3 ปี มีนักกีฬาจาก 10 กว่าประเทศเช่นมองโกเลียและเนเธอแลนด์ เป็นต้น มาร่วมแข่งขัน ประวัติการแข่งชักเย่อของอำเภอเหยาโจว มีนานกว่า 600 ปีแล้ว ตามบันทึก ในเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคมไฟ ปี 2001 มีการจัดแข่งชักเย่อครั้งหนึ่งเพื่อฉลองเทศกาลเก่าแก่ของจีน สถิติปรากฏว่า มีผู้ร่วมแข่งขันรวม 150,000 คน จึงได้รับการบันทึกเข้าไว้ในกินเนสส์บุ๊ค
ปี 2011 กรมการกีฬาเขตปกครองตนเองซินเกียงอุยกุรทางภาคตะวันตกของจีน ได้จัด "โครงการพัฒนากีฬาดั้งเดิมของชนกลุ่มน้อย" โดยจะค้นหา เรียบเรียงและอนุรักษ์กีฬาชนกลุ่มน้อยชนิดต่างๆ ที่สืบทอดกันมา พัฒนาให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และใช้ความพยายามเพื่อให้กีฬาของชนกลุ่มน้อยบางรายการสามารถบรรจุเข้าไว้บัญชีรายชื่อมรดกวิถีชน
วันออกกำลังกายประชาชนปี 2011 ของเขตปกครองตนเองอุยกุรซินเีกียง ประชาชนท้องที่ต่างๆ ชุมนุมกันที่ศูนย์ออกกำลังกายประชาชน เพื่อชมหรือร่วมการแข่งขันกีฬาหรือเกมส์การละเล่นแบบชนกลุ่มน้อยชนิดต่างๆ อาทิ การแข่งม้า มวยปล้ำแบบซินเกียง แกว่งล้อหมุน เกมส์สู้ไก่ สู้แกะ ตลอดจนการแข่งขันปิงปอง บาสเกตบอล สนุ๊กเก้อ ชักเย่อ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ในปี 2011 ทางการซินเกียงจะเริ่มต้นโครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาสำหรับประชาชนทั่วไป 10 แห่ง แต่ละแห่งลงทุนประมาณ 10 ล้านหยวน ทั้งยังจะเผยแพร่นโยบายด้านการออกกำลังกายใน 32 อำเภอ รวมกว่า 200 หมู่บ้านทั้งเขตซินเกียง อีกทั้งกำหนดเป้าหมายว่า จนถึงปี 2015 ถนนหลักในเมืองต่างๆ กว่า 60% และอำเภอเมืองกว่า 30% ทั่วทั้งเขตซินเกียง ต้องเปิดศูนย์กีฬาหรือสโมสรกีฬาที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป
กล่าวคือ ในช่วงก่อนหรือหลังวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันออกกำลังกาย มณฑล เมืองหลักเมืองใหญ่และเขตปกครองตนเองชนเผ่าต่างๆ ล้วนได้จัดกิจกรรมการกีฬาเพื่อเพิ่มจิตสำนึกด้านการออกกำัลังการแก่ประชาชนทั่วไป ส่วนทางการมีโครงการใหญ่บางโครงการเช่นกัน อย่างเช่น คณะกรรมการรณรงค์การออกกำลังกายประชาชนทั่วประเทศปี 2011 ก็ไ้ด้เริ่ม "โครงการ 836" โดยเรียกร้องให้สโมสรฟิตเนสเปิดให้บริการฟรีแก่ประชาชนทั่วไปในวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสสถานที่ออกกำลังระดับสูง และมีความกระตือรือร้นในการออกำลังการมากยิ่งขึ้น ข้อริเริ่มนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากสโมสร ฟิตเนสที่มีชื่อเสียงในประเทศ สถิติปรากฏว่า จนถึงวันก่อนวันที่ 20 มีสโมสรกีฬาหรือฟิตเนสกว่า 1 ,000 แห่งใน 38 เมืองทั่วประเทศจีนได้สมัครร่วมกิจกรรมครั้งนี้
ส่วนวันที่ 8 สิงหาคมทีผ่่านมา ทางการจีนได้ประกาศจัดโดยรวม "แอโรบิกทางเสียงตามสายชุดที่ 9 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน" นับเป็นกิจกรรมสำคัญในวันออกกำลังกายของประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 3
ตั้งแต่เมื่อปี 1951 จีนได้ประกาศให้มีโครงการ "แอโรบิกทางเสียงตามสายครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน" จนถึงปัจจุบัน ได้ปรับพัฒนา แอโรบิกทางเสียงตามสายทั้งหมด 8 ชุดมาแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรัฐบาลจีนและหน่วยงานการกีฬาระดับต่างๆ ของจีน ไม่เคยหยุดการใช้ความพยายามเพื่อส่งเสริมประชาชนทั่วประเทศใช้เวลาในการออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อยกระดับสุขภาพร่างกายของชาวจีนให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
คนรุ่นเก่ายังคงจำได้ว่า หลายสิบปีก่อน แอโรบิกทางเสียงตามสายได้รับความนิยมอย่างมากจากประชาชน เพราะสมัยนั้นรัฐบาลคงมีเงินทุนไม่พอ ทั่วประเทศขาดแคลนสถานที่ออกกำลังกายและอุปกรณ์กีฬาอย่างมาก ดังนั้น เมื่อถึงเวลาสถานีวิทยุก็จะเปิดเพลงให้เต้นแอโรบิก พนักงานตามหน่วยงานต่างๆ หรือชาวบ้านที่ชุมนุมกันตามลานกว้าง มักจะเต้นแอโรบิกที่รัฐบาลสอนให้ตามจังหวะเพลงพร้อมกัน ซึ่งเป็นภาพที่ลืมได้ยาก
พร้อมๆ กับการพัฒนาของสังคม ปัจจุบัน ประชาชนจีนที่เต้นแอโรบิก ทางเสียงตามสายคงมีไม่มาก เพราะผู้คนมีทางเลือกและรูปแบบการออกกำลังกายหลากหลายตามใจชอบ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาเสียงตามสายเปิดเพลงให้เต้นแอโรบิก นั่นเป็นสัณญาญเตือนประชาชนว่า อย่าลืมออกำัลังกายในวันนี้
(In/Lin)