China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2004-01-08 19:10:33    
รัฐบาลจีนเริ่มปฏิรูปธนาคารพาณิชย์ด้วยเงินสํารองเิงิน ตราต่างประเทศ

cri
เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศจีนและ ธนาคารการสร้างสรรค์แห่งประเทศจีนซึ่งเป็นธนาคารสองแห่งใน ธนาคารพาณิชย์ทุนเอกเทศของรัฐจํานวนสี่แห่งของจีนได้เริ่ม ดําเนินการปฏิรูปให้เป็นระบบหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการ โดยรัฐบาล จีน ได้ระดมเงินสํารองเงินตราต่างประเทศจํานวน 4 หมื่่น 5 พันล้าน เหรียญสหรัฐไปเป็นเงินทุนเพิ่มเติมของธนาคารสองแห่ง ดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเห็นว่า การปฏิรูปครั้งนี้นับเป็นการ ปฏิบัติทางการปฏิรูปครั้งใหม่ต่อระบบสถาบันการเงินของจีน และ เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ของจีนกําลังดําเนินกันอยู่อย่างเป็นขึ้นเป็นตอน

ธนาคารพาณิชย์ทุนเอกเทศของรัฐของจีนประกอบด้วย ธนาคารอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งประเทศจีน ธนาคารการ เกษตรแห่งประเทศจีน ธนาคารแห่งประเทศจีนและธนาคารการ สร้างสรรค์แห่งประเทศจีน ธนาคาร 4 แห่งดังกล่าวเป็นธนาคาร หลักของ จีน เงินทุนรวมของธนาคาร 4 แห่งดังกล่าวคิดเป็น ร้อยละ 56 ของเงิน ทุนรวมของธนาคารทั้งหมดของจีน แต่ว่า เนื่องจากการประกอบ การและการบริหารยังคงค่อนข้างล้าหลัง หนี้สูญและหนี้เสียของธนาคารสี่แห่งดังกล่าวจึงมีอัตราสูงถึงร้อย ละ 21 ส่วน ของธนาคารทุนต่างชาติในจีนนั้นเป็นเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ผล การประกอบการของธนาคารสี่แห่งดังกล่าวได้ก่อให้ เกิดความเสี่ยงทางการเงินในระดับหนึ่งแก่ระบบสถานบันการเงิน ของจีน ส่วน ตลาดการเงินของจีนจะเปิดรับสถาบันการเงินทุนต่าง ชาติอย่างทั่วด้านในสามปีข้างหน้า ถึงเวลานั้นธนาคารทุนเอก เทศของรัฐของจีนดัง กล่าวก็คงยากที่จะรับมือกับการแข่งขัน ระหว่างประเทศอันดุเดือดได้

ดร. ยี่ เสี่ยนหยุง จากสถาบันวิจัยการเงินสภา วิทยา ศาสตร์ทางสังคมแห่งประเทศจีนเห็นว่า การที่รัฐบาลจีนดําเนิน การปฏิรูปต่อธนาคารแห่งประเทศจีนและธนาคารการสร้างสรรค์ แห่งประเทศจีนให้เป็นระบบหุ้นส่วนนั้น ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับ ปรุงธนาคารดังกล่าวให้เป็นธนาคารการพาณิชย์ที่แท้จริง เขา กล่าวว่า

หลั้งจากประสบความสําเร็จในการปฏิรูปธนาคารดัง กล่าวให้เป็นระบบหุ้นส่วนแล้ว รัฐบาลก็ไม่ต้องกํากับดูแล ธนาคารดังกล่าวอีก และหลังจากระบบของธนาคารได้ปรับให้ดี ขึ้นแล้ว ธนาคารก็สามารถประกอบการแบบธุรกิจในฐานะธนาคาร พาณิชย์ที่แท้จริง

การปฏิรูปธนาคารแห่งประเทศจีนและธนาคารการสร้าง สรรค์แห่งประเทศจีนนั้น สิ่งสําคัญที่สุดก็คือต้องมีเงินทุนที่เพียง พอ แต่ธนาคารทุนเอกเทศของรัฐในจีนมักจะมีปัญหาที่หนี้สูญและ หนี้เสียในอัตราสูง แต่อัตราความเพียงพอของ เงินทุนค่อนข้างตํ่า และปัญหาอื่นๆ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจีนจึงระดมเงินสํารอง เงินตราต่างประเทศจํานวน 4 หมื่น 5 พันล้านเหรียญสหรัฐไปอัด ฉีดในธนาคารแห่งประเทศจีนและ ธนาคารการสร้างสรรค์แห่ง ประเทศจีน เมื่อมีเงินทุนเพียงพอแล้ว ขณะที่ดําเนินการปฏิรูปให้ เป็นระบบหุ้นส่วนนั้น นักลงทุนทั้งจีนและเทศก็จะมีความกระตือรือ ร้นไปซื้อหุ้นของธนาคารแห่งประเทศ่จีนและธนาคารการสร้าง สรรค์แห่งประเทศจีน ซึ่งจะเป็นการอํานวยความพร้อมให้ธนาคาร ดังกล่าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์

กรมการบริหารเงินตราต่างประเทศจีนกล่าวว่า การระดม เงินสํารองเงินตราต่างประเทศไปอัดฉีดในธนาคารในครั้งนี้ มิได้ยัง ผลกระทบทางลบใดๆ ต่อตลาดการเงินทั้งภายในประเทศและ ระหว่างประเทศแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อระดมเงินไปอัดฉีดในธนาคาร ดังกล่าวแล้ว จนถึง ปลายปี 2003 เงินสํารองเงินตราต่างประเทศ ของจีนก็ยังคงอยู่ที่ระดับ สูงถึง 4 แสน 3 พัน 2 ร้อยล้านเหรียญ สหรัฐ

ดร. ยี่ เสี่ยนหยง กล่าวว่า เงินทุนจํานวน 4 หมื่น 5 พันล้านเหรียญสหรัฐดังกล่าวใช่จะมอบให้ธนาคารแ่ห่งประเทศจีนและธนาคารการสร้างสรรค์แห่งประเทศจีนโดยตรงไม่ ธนาคาร สองแห่งดังกล่าวต้องประกันความปลอดภัยของเงินทุนดังกล่าว พร้อมทั้งต้องได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลด้วย

ดร. ยี่ เสี่ยนหยง ยังกล่าวด้วยว่า การปฏิรูปธนาคาร แ่ห่งประเทศจีนและธนาคารการสร้างสรรค์แห่งประเทศจีนให้เป็น ระบบหุ้นส่วนโดยถือเป็นโครงการทดลองนั้นเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่า การปฏิรูประบบสถาบันการเงินของจีนจะดําเนิน ไปอย่างทั่วด้านและอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เขากล่าวว่า

เมื่อการปฏิรูประบบธนาคารเริ่มขึ้นแล้ว ระบบสถาบันการ เิงินที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ก็ต้องปฏิรูปตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตลาด หลักทรัพย์หรือกิจการประกันภัย ล้วนมีส่วนเกี่ยวโยงกันทั้งนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทําก็คือ ปฏิรูปะรบบการทํางานส่วนหนึ่งของรัฐ บาลให้สอดรับกันไปด้วย ให้รัฐบาลค่อยๆ ถอนตัวออกจากการ บริหารสถาบันการเงิน โดยปล่อยให้กลไกการตลาดเป็นผู้ดําเนิน การแทน ความเสี่ยงบางอย่างก็จะค่อยๆ กระจัดกระจายไปยังทั่ว ทั้งตลาด แทนที่จะรับผิดชอบโดย รัฐบาลแต่ผู้เดียว