จูชังเปี้ยหรือขนมเปี๊ยะกรอบ ขนมไหว้เทศกาลเช็งเม็ง
"เช็งเม้ง" เป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ยในช่วงเดือน 3 ของจีน โดยกำหนดว่าปีหนึ่งแบ่งเวลาเป็น 24 ช่วง เดือนหนึ่ง
มี 2 ช่วง การไหว้เช็งเม้ง ถือเอาช่วงหนึ่งของเดือน 3 เป็นช่วงเวลาของการไหว้ ธรรมเนียมนี้มีผู้รู้เล่าว่าได้สืบทอดต่อกันมาประมาณ 3800 ปีแล้ว
โดยคนจีนในไทยนิยมไหว้ในวันที่ 5 เมษายน ซึ่งยังตกอยู่ในช่วงเดือน 3 ของจีน ของที่ใช้ไหว้ก็เหมือนการไหว้ในเทศกาลอื่น ว่ามีของคาวพวก
หมู เป็ด ไก่ มีการจัดการกับข้าวที่คิดว่าบรรพบุรุษชอบ บางบ้านก็เลือกชนิดที่ลูกหลานชอบด้วย แล้วก็มีขนมไหว้ มีผลไม้ มีการเผากระดาษเงิน
กระดาษทองโดยต้องไหว้เข้าที่ก่อน แล้วจึงไหว้บรรพบุรุษ ฟังมาว่า มีเหมือนกันที่มีการนิมนต์พระจีนไปสวดด้วย แต่มีน้อยมากเรื่องที่น่าสนใจใน
วันเช็งเม้งจึงน่าจะเป็นเรื่องของฮวงซุ้ย จริง ๆ
แล้วคำว่า ฮวงซุ้ย ในภาษาจีนไม่มี มีแต่คำว่า ฮวงจุ้ย ซึ่งคำว่า ฮวงจุ้ยนี้เป็นภาษาแต้จิ๋ว ถ้าออกเสียงแบบจีนกลางจะเป็น "ฟงซุ่ย"
ก็ได้สันนิษฐานว่า เป็นการเรียกเพี้ยนมาจากคำใดคำหนึ่ง แล้วกลายเป็นฮวงซุ้ยไป คำว่าฮวงจุ้ยนี้ มีผู้แปลว่า "ภูมิพยากรณ์" สำหรับฮวงจุ้ยนี้
คนจีนส่วนใหญ่มีความเชื่อถือมาก เรื่องการเลือกที่และการสร้างบ้าน ว่าต้องให้ถูกโฉลก หรือถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ย โดยเชื่อกันว่าในแต่ละที่จะมี
พลังลึกลับที่เรียกว่า "แสงที่" แฝงอยู่ การเลือกที่ได้ถูกต้อง และสร้างบ้านได้ถูกหลักฮวงจุ้ย แสงที่จะยิ่งช่วยเสริมให้ที่ตรงนั้นถูกโฉลกกับเจ้าของ
ทำให้ผู้อยู่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า
ศาสตร์เรื่องฮวงจุ้ยนี้ ไม่เพียงแต่ใช้กับที่อยู่อาศัยของคนเป็น ซึ่งคนจีนเรียกว่า "เอี๊ยงกัง" เท่านั้น กับ "อิมกัง" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของ
คนตาย หรือบ้านของบรรพบุรุษในปรโลก ก็ต้องดูให้ถูกโฉลกด้วย การเลือก "ฮวงซุ้ย" หรือสุสานของบรรพบุรุษ จึงต้องมีการเลือกที่และดูทิศทาง
ให้ถูกต้องตามตำรา เพื่อให้ถูกโฉลกกับทั้ง "อิมกัง" และ "เอี้ยงกัง" จะได้ส่งผลสะท้อนถึงลูกหลานให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ฮวงจุ้ยที่นิยมกันมาก คือ ตรงหน้าที่ต้องให้มีน้ำเพราะคนจีนเปรียบน้ำเป็นเงินทองโชคลาภ เมื่อตีความให้ลึกลงไป จะพบว่าคนจีนมีความ
ผูกพันกับการเกษตรกรรมมาแต่โบราณ การมีน้ำหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ความสามารถในการเพาะปลูกที่จะทำได้ง่าย มีน้ำกินน้ำใช้
ในการดำรงชีวิต และเป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรไปมา ที่ใดมีน้ำ ที่นั้นย่อมเจริญ ด้วยมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือน สำหรับการเลือกที่"ฮวงซุ้ย" ก็อนุโลมว่า
น้ำที่อยู่หน้าที่อาจเป็น "น้ำไกล" คืออยู่ห่างออกไปเป็นกิโล ไม่จำเป็นต้องว่ามีน้ำอยู่ติดที่ แต่มองไปข้างหน้าแล้วแลเห็นน้ำ ส่วนข้าง ๆ ที่ที่นิยมกันมาก
คือ ชอบให้ดูว่าที่นี้เสมือนหนึ่งมีแขนขา ถ้าเข้าตำรา "จ้อแชเล้ง" อิ๊วแป๊ะโฮ้ว" ได้ก็ยิ่งดี
จ้อแซเล้ง แปลว่า ซ้ายมังกรเขียว
อิ๊วแป๊ะโฮ้ว แปลว่า ขวาพยัคฆ์ขาว
ตรงนี้อธิบายลำบาก ต้องขอผ่าน ส่วนด้านหลังของที่นิยมให้เป็นภูเขา เปรียบเสมือนการนั่งเก้าอี้ที่มีพนักหลัง เวลานั่งจะได้พิงสบาย
ยิ่งถ้าเป็นภูเขาโอบล้อมแล้วค่อย ๆ ลาดมาถึงข้าง ๆ ของที่ ก็ยิ่งดีมากเหมือนเก้าอี้ที่มีเท้าแขน นั่งสบายยิ่งขึ้นไปอีก มือไม้มีที่วางไม่เกะกะ แต่ในทาง
ปฏิบัติแล้ว ฮวงจุ้ยใด ๆ จะให้ได้มา หรือจะให้มีคุณ ก็ต่อเมื่อเจ้าของที่หรือผู้อยู่มีคุณสมบัติครบถ้วนจะให้มีคุณ ก็ต่อเมื่อเจ้าของที่หรือผู้อยู่มีคุณสมบัติ
ครบถ้วน 2 ประการที่เป็นแก่นของปรัชญาแท้ ๆ เป็นคำจีนกล่าวได้ 3 คำ คือ อิก-เต็ก, หยี-เห็ง, ซา-ฮวงจุ้ย
อิก แปลว่า หนึ่ง
เต็ก แปลว่า คุณธรรม
หยี แปลว่า หรือสอง
เห็ง แปลว่า เฮง แปลว่าโชคดี ในที่นี้หมายถึงบุญวาสนา
ซา แปลว่า สาม
ฮวงจุ้ยนั้น ในทางปฏิบัติ คือ การที่คนเราได้อยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า รวมความแล้ว คนเรานั้น หนึ่งต้องมีคุณธรรม สองต้องมีบุญวาสนา
จึงจะมีสาม คือ ชีวิตที่ดี ได้อยู่เย็นเป็นสุข ร่ำรวย ก้าวหน้าไม่ต้องดูอื่นไกล บรรดาราชวงศ์จีนที่พากันล่มสลายแม้ว่าจะสร้างปราสาทราชวังที่ดี ตามตำรา
ฮวงจุ้ยที่ดีที่สุด สร้างสุสานราชวงศ์ด้วยที่ฮวงจุ้ยที่ดีที่สุด พร้อมบุญญาธิการอันเปี่ยมล้นที่ได้เป็นถึงจักรพรรดิ แต่ที่ล่มสลายไปจนหมดทุกราชวงศ์
ไม่ใช้เพราะผู้เป็นใหญ่ขาดคุณธรรมหรอกหรือ
ไปเช็งเม้ง
เทศกาลเช็งเม้งเป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ยในช่วงเดือน 3 ของจีน โดยกำหนดให้ไหว้ภายใน 15 วัน แรกของเดือน
วันไหนก็ได้ ซึ่งที่เมืองไทยนิยมไปไหว้ในวันที่ 5 เมษายน แต่บางบ้านก็อาศัยดูวันดี และก็มีอีกหลายบ้านที่อาศัยดูวันสะดวก
ตำนานการไหว้ที่ฮวงซุ้ย มาจากว่า เดือน 3 เป็นช่วงเวลาในฤดูใบไม้ผลิของจีน ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่มสวยงาม สมควรแก่การไปชม
ทิวทัศน์ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน แทนการไหว้อยู่ในบ้านแต่ต้องไปไหว้ในช่วงเช้า อย่าให้เลย 12.00 น. เมื่อไปถึงสุสาน
ให้ไหว้ศาลเจ้าที่แป๊ะกงด้วยของคาวของหวาน ผลไม้ ขนมอี๊ 5 ที่ 5 ถ้วย เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้งห้า
เวลาจุดธูปไหว้ ก็ต้องไหว้ธูป 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตู หรือที่เรียกกันว่า "มึ่งซิ้ง" ก็ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก 2 ดอก ปักที่เสาประตูข้าง
ละดอก จากนั้นจึงเข้าไปไหว้บรรพบุรุษที่หลุม ซึ่งทางสุสานจะปัดกวาดทำความสะอาด ดายหญ้า และกางเต็นไว้ให้ ถ้าเราสั่ง โดยเสียค่าบริการให้
เข้าไป ของไหว้ที่หลุมมี 2 ชุด
ชุดหนึ่งไหว้บรรพบุรุษ อีกชุดหนึ่งไหว้โท้วตี่ซิ้ง คือ เทพยดาผืนดิน ของไหว้บรรพบุรุษมีของคาว ของหวาน ผลไม้ โดยนิยมกันว่าต้องมี
ขนมไหว้เป็น "จูชังเปี้ย" หรือ "ขนมเปี๊ยะกรอบ" และมีกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ แถมด้วยอาหารน้ำ 1 อย่าง จะเป็นน้ำแกง หรือขนมอี๊ก็ได้
อย่างไรก็ตามแผ่นดินใหญ่และทำตาม ก็จะเอา "หอยแครงลวก" ไปไหว้ด้วย และจะช่วยกันกินหอยแครงตรงฮวงซุ้ยนั่นเอง ส่วนเปลือก
หอยที่เหลือจะโปรยไว้บนเนินดิน
จริง ๆ แล้ว ธรรมเนียมนี้มีลูกหลานจีนในไทยน้อยมากที่รู้ และตำนานที่มาของธรรมเนียมก็ยิ่งน้อยกว่าน้อยที่รู้ ซึ่งที่มาของธรรมเนียม
มาจากตำนานของ 1 ใน 24 ลูกกตัญญูของจีนที่ขึ้นชื่อของจีนที่ขึ้นชื่อ เป็นลูกหลานกตัญญูสุดยอดจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ตำนานเรื่องนี้
ซินแสเล่าให้ฟัง แต่จำชื่อไม่ได้ จำได้แต่ว่าเป็นเรื่องของ 1 ใน 24 ลูกกตัญญูเกิดมาเป็นกำพร้าทั้งบิดามารดา ฐานะก็ยากจน แต่ที่สุดก็ตั้งตัวได้
กลายเป็นผู้มีอันจะกิน ด้วยความเป็นกำพร้าไม่เคยเห็นหน้าพ่อแม่เลย แต่ชายคนนี้ก็ยังอยากจะได้เห็นพ่อแม่สักครั้ง จึงไหว้เจ้าอธิษฐานขอต่อสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา ว่าอยากจะพบและเห็นหน้าบุพการี
วันหนึ่ง จึงมีเจ้ามาเข้าฝันว่า เวลาไปไหว้เช็งเม้ง ให้ชายคนนี้เอาหอยแครงลวกไปไหวพ่อแม่ แล้วแกะเนื้อออกกินตรงฮวงซุ้ยนั้น
ตรงนี้เขามีคำจีนว่า "กุ๊กเน้กเซียงเกี่ยง"
กุ๊ก แปลว่า กระดูก
เน้ก แปลว่า เนื้อ
เซี่ยงเกียง แปลว่า เจอกัน
แปลทั้งความ คือ ให้กระดูกเนื้อเจอกัน
จึงเป็นเคล็ดว่า เมื่อเอาหอยไปไหว้ ก็ต้องแกะเปลือกเอา "เนื้อ" ออกมากิน จึงจะเกิดการ "กระดูกเนื้อเจอกัน" กระดูกคือพ่อแม่ เนื้อ
คือลูก เป็นการอุปมาอุปไมยว่า พ่อแม่ลูกได้เจอกันนั่นเอง ตกกลางคืน ชายหนุ่มก็ฝันว่า พ่อแม่ได้มาหา พร้อมทำนายโชคชะตาว่า เขาจะก้าวหน้า
ร่ำรวย และโชคดีมีสุขจากการเป็นลูกกตัญญู จึงกลายเป็นธรรมเนียมเอาหอยแครงไปไหว้เช็งเม้งสืบต่อมา นอกจากนี้ก็มีของไหว้ของเทพยดาผืนดิน
ซึ่งเหมือนของไหว้แป๊ะกง การไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย มีธรรมเนียมการเอาสายรุ้งไปแต่งโปรยไว้บนเนินดินเหนือหลุม ถ้าไหว้เป็นปีแรก จะใช้สาย
รุ้งสีแดงโดยเฉพาะ ปีต่อ ๆ มาจึงเล่นหลายสีได้ แต่มีบางบ้านลูกหลานเอาธงหลากสีไปปักไว้เต็มไปหมด ฟังมาว่า เรื่องการปักธงนี้ หลายบ้านจะถือมาก
ว่าห้ามปักเด็ดขาด เพราะถือว่าการมีของแหลมทิ่มแทงเข้าใส่บนหลุม อาจทำให้หลังคาบ้านบรรพบุรุษในอิมกัง (โลกของคนตาย) รั่วได้ ในการไหว้
ต้องไหว้เทพยดาผืนดินก่อนด้วยธูป 5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่
จากนั้นจึงไหว้บรรพบุรุษด้วยธูป 3 ดอก และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ) รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว จึงเผากระดาษเงินกระดาษทอง
จากนั้นก็จุดประทัดส่งท้าย เรื่องธรรมเนียมการจุดประทัดนี้ เขาว่าเพื่อให้เสียงอันดังช่วยขับไล่สิ่งไม่ดี ไม่ให้เข้าใกล้กวนบรรพบุรุษของเราแล้วเลย
มีการถือกันว่าเพิ่มด้วยว่า ประทัดนี้ยิ่งดังยิ่งดี จะทำให้ลูกหลานยิ่งรวย ปีละครั้งที่ลูกหลานจะได้ไปเยี่ยมร่างของบรรพบุรุษที่แม้นสังขารท่านอาจสูญ
สิ้นไปแล้ว แต่บุญคุณที่เลี้ยงลูกมาจนเติบใหญ่ยังค้ำฟ้าอยู่ชั่วกาลนาน ความกตัญญูรู้คุณที่ลูกควรมี จะมากหรือน้อย ก็อยู่ที่การปฏิบัตินี้เอง
|