China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2006-03-22 16:45:25    
เรือรบคือทูตสันถวไมตรีที่เยี่ยมเยือนกันระหว่างไทย-จีน

cri

สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง 2 ครั้งแล้วนะคะที่ดิฉันชวนคุณผู้ฟังไปสนทนากับผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารของไทยประจำประเทศจีน พันเอกสิริพจน์ รำไพกุล นาวาอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ นาวาเอก รณัชย์ เทพวัลย์

2 ครั้งก่อนเราฟังผู้การสิริพจน์พูดถึงภาพรวมของความร่วมมือระหว่างกลาโหมไทยกับกลาโหมจีน และภารกิจของสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารซึ่งมีทั้งหมด 6 ประการแล้วนะคะ หน้าที่หนึ่งในนั้นก็คือ ดูแลนายทหารที่ไปศึกษาอยู่ในประเทศจีน ซึ่งมีอยู่ 3 หลักสูตร วันนี้เราลองไปฟังรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการการการศึกษา และความร่วมมือด้านอื่น ๆ จากผู้การอีก 2 ท่านดีไหมคะ

"สำหรับกองทัพเรือ ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับผู้บัญชาการทหารเรือในระดับสูง ผู้บัญชาการทหารเรือคนแรกที่มาเยือนจีนก็ในราวปี 25424 จากนั้นก็มีมาอย่างต่อเนื่องตามช่วงเวลาต่าง ๆ จนกระทั่งปีที่แล้ว ก็มีการเยือนกันอีกครั้งหนึ่ง ตามคำเชิญของกองทัพเรือจีน ในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน ซึ่งนอกจากมีการเยือนในระดับสูงของแต่ละกองทัพแล้ว กองทัพของสองประเทศก็ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของเรือรบของทั้งสองประเทศด้วย ซึ่งเรามาเยือนจีนเป็นครั้งแรกในปี 2537 มาเยี่ยมที่นครเซี่ยงไฮ้ จนกระทั่งครั้งสุดท้ายก็คือเมื่อเดือนมีนาคมทีผ่านมานี้ ซึ่งกองทัพเรือจัดเรือจำนวนมากที่สุด 3 ลำ กำลังพลมากที่สุดคือทั้งหมด 872 คน มาเยี่ยมเซี่ยงไฮ้ เพื่อฉลงอความสัมพันธ์ไทยจีน 30 ปี แล้วก็สุดท้ายที่เพิ่งผ่านมานี้ คือเรือหลวงปัตตานี ซึ่งเราสร้างที่เซี่ยงไฮ้ มาแวะเยี่ยมที่นครกว่างโจวเมื่อวันที่ 8-11 ธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง

"ส่วนเรือของกองทัพเรือจีน ไปแวะเยี่ยมกรุงเทพฯครั้งแรก ประมาณปี 2533 ครั้งล่าสุดที่ผ่านมาก็คือระหว่าง 9-13 ธันวาคม 2548 ผ่านมาไม่กี่วันนี้เอง ในโอกาสฉลองความสัมพันธ์ 30 ปีเช่นกัน"

"การที่เรือรบต่างประเทศเยือนกันนั้น เรือรบเปรียบเหมือนทูตสันถวไมตรีของแต่ละประเทศ เรือรบลำหนึ่งก็คือประเทศหนึ่ง แสดงถึงอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยที่แผ่ขยายออกไป ตัวเรือรบก็เป็นตัวแทนประเทศ คนไปกับเรือรบก็เหมือนทูตสันถวไมตรีที่จะเดินทางไปพบปะประชาชนท้องถิ่น ทำให้เขาได้รู้จักประเทศ เรือ รวมทั้งกำลังพลซึ่งเป็นคนของประเทศนั้น ๆ ที่เดินทางไปเยือน เวลาเรือรบไปเยือนก็จะจอด แล้วเปิดให้ประชาชนขึ้นในเรือด้วย ส่วนทหารก็ปล่อยขึ้นบกให้ไปทัศนศึกษา มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การที่เรือเดินทางมา ถ้าเป็นเรือหมู่ฝึกนักเรียนนายเรือ ก็จะนำศิลปะการแสดงของประเทศไทยมาเผยแพร่ด้วย"

6. (ม้วนที่ 1 ต่อจากตอนที่ 5 เล็กน้อย) "เมืองท่าที่จีนเปิดให้เรือรบมาเยือนได้ก็มีเมืองขิงเต่า เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว จ้านเจียง และฮ่องกง จ้านเจียงอยู่ที่กวางตุ้งเหมือนกัน ส่วนใหญ่เราจะมาเซี่ยงไฮ้ เพราะชิงเต่าจะขึ้นเหนือไปอีก เราไม่ค่อยได้ไป เพราะต้องใช้เวลาเดินทางนานพอสมควร"

"เทียนสินเข้าไม่ถึงหรือคะ"

"เขาไม่อนุญาตให้แวะเยี่ยม"

"แล้วมาที 800 กว่าคน แต่ละครั้งใช้เวลากี่วันคะ"

"ปกติจะแวะเยี่ยม 5 วันครับ ทหารที่มาก็ไปทัศนศึกษาตัวเมืองอะไรต่าง ๆ"

"มีจุดมุ่งหมายที่จะต้องไปคลุกคลีแล้วต้องให้ชาวบ้านรู้จักไหมคะ หรือว่าเพียงแต่ให้เขาขึ้นมาเที่ยว"

"เราให้ทหารได้ขึ้นไปทัศนศึกษา ได้รู้จักชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว เวลาเราขึ้นบกเราจะแต่งเครื่องแบบขึ้น สำหรับกำลังพลนะครับ เพราะการแต่งเครื่องแบบจะช่วยให้ชาวบ้านได้รู้จักว่า คนเหล่านี้มาจากเรือรบของไทย"

"แล้วต้องไปเป็นกลุ่มใหญ่หรือเปล่าคะ หรือกระจัดกระจายต่างคนต่างไป"

"แล้วแต่ อย่างเช่นเซี่ยงไฮ้ เรือจอดตัวเมือง สามารถเข้าเมืองได้เลย เขาเองก็ไปเองได้ ไม่ต้องไปที่ไหนอย่างเป็นพิธีการ"

"แล้วทุกครั้งที่มาจะต้องมีพิธีการกับทหารเรือของจีนไหมคะ"

"มีครับ เพราะว่าทางจีนจะเป็นผู้ให้การรับรองรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ตต่าง ๆ อย่างเช่น การอนุญาตให้ขึ้นชมเรือ ทางทหารเรือจีนก็จะเป็นผู้ประชาสัมพันธ์และเป็นผู้แจกจ่ายบัตรขึ้นชมเรือ เราไม่ต้องยุ่งกับตรงนี้เลย แล้วก็จัดการดูแลเรื่องการกลั่นกรองอะไรต่าง ๆ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยอะไรทั้งหมด"

"แล้วการขึ้นชมเรือ เรามีอะไรให้เขาดูคะ"

แหม รู้สึกดิฉันจะตั้งคำถามไวเกินไปจนผู้การ รณัชย์ แทบตอบไม่ทันเลยนะคะท่านผู้ฟัง เพราะทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ดิฉันเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนเลย ไม่เคยรู้ว่าทางการทหาร ไทยกับจีนก็มีความสัมพันธ์ที่สนุกสนานได้เหมือนกัน อย่างเช่นเรือรบ ใครจะคิดล่ะคะ ชื่อก็บอกว่าเรือรบ แต่ที่แท้เป็นทูตสันถวไมตรีก็ได้ เวลาไปเยือนกัน เรือก็เป็นสัญลักษณ์เปรียบเหมือนประเทศหนึ่ง พอไปถึงก็เปิดให้ประชาชนของอีกชาติหนึ่งขึ้นชมเรือ ก็เหมือนเปิดให้เขาไปรู้จักกับประเทศของตัวเอง สนุกมากค่ะ อดใจไว้ฟังผู้การรณัชย์เล่าต่อสัปดาห์หน้านะคะ

สัปดาห์นี้ดิฉันขอลาไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ