China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2007-06-11 14:12:02    
ฉงชิ่ง-นครขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางอายุน้อยที่สุดของจีน
รายการพิเศษเฉลิมฉลองการจัดตั้งฉงชิ่งเป็นนครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของจีนครบรอบ 10 ปีเรื่อง "นครฉงชิ่งในทุกวันนี้"(1)

cri

ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมีเมืองแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ เมืองนี้อิงภูเขา มีแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิงไหลผ่านล้อมรอบ ชาวจีนเรียกเมืองนี้ว่า "เมืองแห่งภูเขา"หรือ "เมืองแห่งแม่น้ำ" นั่นก็คือฉงชิ่ง-นครขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางทางภาคตะวันตกแห่งเดียวของจีน ส่วนนครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางอีกสามแห่งของจีนคือกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้และนครเทียนสินล้วนตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของจีน เมื่อปี 1997 ฉงชิ่งกลายเป็นนครขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางแห่งที่ 4 ของจีน จนถึงปัจจุบันได้ 10 ปีแล้ว รายการวันนี้ เราจะแนะนำประวัติการพัฒนาของเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของจีนแห่งนี้ครับ

ที่ท่านกำลังฟังอยู่เป็นเสียงตะโกนสัญญาณของกรรมกรลากเรือทวนน้ำ นายฟริตซ์ ไวสส์กงสุลเยอรมนีประจำฉงชิ่งเมื่อปลายสมัยราชวงค์ชิงของจีนเป็นผู้บันทึกเสียงไว้ เมื่อปี 1911 นายฟริตซ์ ไวสส์ นั่งเรือจากเมืองอวู่ฮั่นทวนน้ำในแม่น้ำแยงซีขึ้นไปเมืองฉงชิ่งเพื่อไปดำรงตำแหน่ง ระหว่างทางได้ชมวิวซานเสียที่สวยงาม และสภาพที่กรรมกรลากเรือออกเสียงตะโกนให้สัญญาณพยายามลากเรือทวนกระแสน้ำ ทำให้เขาประทับใจมาก จึงอัดเสียงไว้เป็นที่ระลึก จนปัจจุบันกลายเป็นข้อมูลที่ล้ำค่า

แม่น้ำแยงซียาวกว่า 6300 กิโลเมตร เริ่มจากภาคตะวันตกถึงภาคตะวันออกของจีน ได้รับขนานนามว่าเป็น "ทางน้ำทอง" โดยเชื่อมโยงนครฉงชิ่งที่อยู่ตอนต้นน้ำ เมืองอวู่ฮั่นและเมืองฉางซาที่อยู่ตอนกลางและเมืองนานกิง นครเซี่ยงไฮ้ที่อยู่ตอนปลายของแม่น้ำล้วนเป็นเมืองใหญ่ทั้งนั้น ตั้งแต่สมัยก่อน เมืองฉงชิ่งก็เป็นศูนย์การค้าสำคัญในทางภาคตะวันตกของจีนแล้ว

แต่สิ่งที่ทำให้ฉงชิ่งได้รับความสนใจจากชาวโลกคือเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1937 นครนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้นถูกทหารญี่ปุ่นยึดครอง รัฐบาลก๊กมิ่นตั๋งจึงย้ายไปตั้งอยู่ที่ฉงชิ่ง ดังนั้น เมืองฉงชิ่งจึงเคยเป็นเมืองหลวงเป็นเวลา 8 ปีที่ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น จนถึงปี 1945 ที่ทหารญี่ปุ่นพ่ายแพ้ เวลานั้น วิสาหกิจขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษาชั้นสูงและบุคคลวงการปัญญาชนมากมายก็ย้ายไปฉงชิ่งพร้อมกับรัฐบาลด้วย นายหวางหงจู่ผู้ว่าการนครฉงชิ่งเห็นว่า การโยกย้ายครั้งใหญ่ในสมัยสงครามนั้นเป็นสาเหตุที่ส่งเสริมให้ฉงชิ่งได้รับการพัฒนาครั้งสำคัญ เขากล่าวว่า

" เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วิสาหกิจสำคัญของจีนส่วนมากได้ย้ายจากเขตที่ถูกรุกรานยึดครองมาตั้งที่เมืองฉงชิ่งพร้อม ๆ กับรัฐบาล รวมแล้วมีกว่า 2500 วิสาหกิจ "

 

1 2