China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2007-07-04 14:55:00    
ขงเบ้งกับหมั่นโถว

cri

สวัสดีครับท่านผู้ฟังที่เคารพพบกับรายการสัมผัสชีวิตจีนอีกครั้ง รายการวันนี้ขอเล่าเรื่องหมั่นโุถว หมั่นโถวที่คนไทยเรานำมารับประทานกับขาหมูนั้นในจีนมีหลากหลายประเภท มีทั้งแบบหวาน และเค็ม เช่น ไส้ครีม ถั่วแดง หมูแดง หมูสับ และผักต่างๆ สาเหตุที่รายการวันนี้จะเล่าเรื่องหมั่นโถวก็เนื่องจากหมั่นโถวที่เรารู้จักกันดีนั้นมีความสัมพันธ์กับขงเบ้ง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ แห่งสติปัญญาของชาวจีน

ที่มาของหมั่นโถวมีตำนานเล่าต่อๆกันมาว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย สามก๊ก เล่ากันว่า สมัยนั้นชนชาติพื้นเมืองทางใต้ของแคว้นสู่ที่เรียกตนเองว่า เผ่าหนันหมันชอบก่อความวุ่นวายโดยยกทหารมาโจมตีแคว้น สูู่่อยู่บ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งหัวหน้าเผ่าชื่อว่าเมิ่งฮั่ว นำทัพเข้ามา ขงเบ้งจึงนำทหารออกไปปราบปรามเมิ่งฮั่วด้วยตนเอง

เมื่อขงเบ้งรบชนะและกวาดต้อนเชลยศึกผ่านมาถึงแม่น้ำหลูซุ่ยซึ่งเป็นดินแดนป่าเถื่อน อากาศก็เป็นพิษแต่เป็นเส้นทางที่เหล่าทหารต้องข้ามไป ดังนั้นเพื่อสร้างกำลังใจให้กับเหล่าทหาร ลูกน้องของขงเบ้งเสนอความคิดขึ้นว่าให้ตัดหัวเชลยศึกเผ่าหนัน หมันนำมาเซ่นไหว้บูชาเทพเจ้าประจำแม่น้ำมรณะสายนี้

แต่ขงเบ้งไม่เห็นด้วยที่จะตัดคอคนจริงๆ จึงคิดอุบายนำแป้งมาปั้นเป็นรูปหัวคนห่อไส้เนื้อแกะและวัว หลังจากนั้นนำไปนึ่ง แล้วนำไปเซ่นไหว้แม่น้ำแทน ครั้งนั้นทหารแคว้นสู่จึงเดินทางข้ามแม่น้ำมาได้โดยปลอดภัย

นับแต่นั้นมา แป้งนึ่งก้อนกลมนี้ก็ถูกเรียกว่า 'หมันโถว' ซึ่งแปลว่า หัวเชลยเผ่าหมันและตกทอดกันมาจนแพร่หลายโดยทั่วไป เฉพาะได้กลายมาเป็นอาหารที่ชาวจีนทางเหนือนิยมรับประทานกันเป็นอาหารเช้า

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเรื่องเล่าเพิ่มเติมอีกว่า ในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อรูปร่างของหมั่นโถวเปลี่ยนไปไม่ปั้นเหมือนรูปหัวคนและยังมี

ขนาดเล็กลง ผู้คนจึงตั้งชื่อให้หมั่นโถวมีไส้ประเภทนี้ว่า 'เปาจึ' ในเวลาต่อมา

ในสมัยราชวงศ์ถัง(ค.ศ.618-907)หมั่นโถวกลายเป็นหนึ่งในสำรับฮ่องเต้ทำหน้าที่เป็นอาหารประดับหรืออาหารตาเพื่อความ สวยงาม ซึ่งต้องทำให้มีขนาดเล็กลง มิฉะนั้นกินเข้าไปแล้วก็จะอิ่มเกินไปและยังมีการประดิษฐ์ไส้ หลากหลายประเภทด้วย

ที่จะอดกล่าวถึงไม่ได้ก็คือ 'หมั่นโถวไท่เสีย' หมั่นโถวที่โด่งดังแห่งราชวงศ์ซ่ง(ค.ศ.960-1127) ตามที่ทราบกันดีว่าคำ'ไท่เสีย'ใช้เรียกสำนักศึกษาระดับสูงของ จักรพรรดิ ดังนั้นหมั่นโถวชนิดนี้ก็ย่อมต้องมีที่มาที่ไปเกี่ยวข้องกับสถานศึกษานี้เอง กล่าวคือ ต้นรัชกาลหยวนเฟิง จักรพรรดิซ่งเสินจง ได้เสด็จเยือนสถานศึกษาไท่เสีย ขณะนั้นเป็นเวลาอาหารของ บรรดาอาจารย์และศิษย์ซึ่งกำลังรีบประทานหมั่นโถวกันอย่างเอร็ดอร่อย พระองค์จึงถือโอกาสนี้ร่วมเสวยหมั่นโถวด้วย หลังจากลองชิมแล้วก็ติดพระทัยในหมั่นโถวรสโอชาเป็นอย่างมาก ถึงกับรับสั่งด้วยความพอพระทัยว่า "ใช้สิ่งนี้บำรุงเลี้ยงปัญญาชน ก็มิมีสิ่งใดต้องละอายแก่ใจแล้ว"

สำนักไท่เสียจึงนำหมั่นโถวแสนอร่อยมามอบเป็นของกำ นัลแด่ญาติมิตรและได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและจิตสำนึกในบุญคุณต่อองค์จักรพรรดิ ซึ่งหลังจากนั้น ชื่อเสียงของหมั่นโถวแห่งไท่เสียก็ขจรขจายไปทั่ว และแม้ว่า ราชวงศ์ซ่งจะเสื่อมสลายลงไปนานแล้ว หมั่นโถวไท่เสียก็ยังเป็นที่รู้จักกันในสมัยต่อๆมาจนถึงทุกวันนี้

ท่านผู้ฟังครับ ได้รับฟังประวัติวิวัฒนาการของหมั่นโถวแล้ว ท่านผู้ฟังก็คงเริ่มสนใจหมั่นโถวที่เราเคยรู้สึกธรรมดา ๆ เกินไปใช่ไหม ความจริงในชีวิตเรา สิ่งที่เรามักรู้สึกว่าธรรมดาหรือมองข้ามไปนั้น อาจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าก็ได้ รายการวันนี้ขอจบลงเพียงเท่านี้ พบกันใหม่ในรายการสัมผัสชีวิตจีนในสัปดาห์หน้า หันซีเขียนบท ชาติณรงด์ วิสุตกุลดำเนินรายการ สวัสดีครับ