China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2007-08-17 20:07:53    
ครบรอบ 40 ปีอาเซียน----บทสัมภาษณ์ ฯพณฯ รัฐกิจ มานะทัต เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีน

cri

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง วันนี้ ขอเชิญท่านฟังรายการพิเศษ "ครบรอบ 40 ปีอาเซียน" เนื่องในโอกาสที่องค์การอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นเป็นเวลา 40 ปี ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุซีอาร์ไอภาคภาษาไทย ผิงผิง สวี่ ได้สัมภาษณ์ ฯพณฯ รัฐกิจ มานะทัต เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีน ณ กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ในประเด็นเกี่ยวกับผลสำร็จของอาเซียนในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา บทบาทของอาเซียนในเวทีโลก ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์อะไรบ้างจากอาเซียน กฎบัตรอาเซียนจะมีบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนาองค์การอาเซียน และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน ตลอดจนความสำคัญของความร่วมมือ "10+3" ต่อไปขอเชิญท่านฟังบทสัมภาษณ์ครับ

ผู้สื่อข่าว:ก่อนที่ท่านจะมาประจำที่ปักกิ่งท่านเคยอยู่ที่ไหนบ้างคะ

ฯพณฯรัฐกิจ มานะทัต:ก่อนมาที่นี่ผมประจำอยู่ที่ลาวและสิงคโปร์ซึ่งเป็ปนกลุ่ม สมาชิกอาเซียน

ผู้สื่อข่าว:วันที่ 8 สิงหาคมนี้เป็นวันที่อาเซียนครบรอบ 40 ปี อยากจะขอความเห็นของท่านเกี่ยวกับความสําเร็จของอาเซียนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาว่า อาเซียนมีบทบาทอย่างไรในเวทีโลก

ฯพณฯรัฐกิจ มานะทัต:

ถ้าพูดถึงความสําเร็จของอาเซียน เราต้องรู้ก่อนว่า อาเซียนมีอะไรเป็นเสาหลัก เสาหลักของอาเซียนก็คือความร่วมมือด้านความมั่นคง ต่อจากนั้นก็คือเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ แล้วเสาหลักที่สามก็คือด้านสังคม เมื่อมองว่าความสําเร็จที่ว่านั้นแต่ละส่วนเป็นอย่างไร เริ่มจากด้านการเมืองความมั่นคงก่อน สิ่งที่อาเซียนทําไปในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น เราได้พูดถึงความมั่นคงทางด้านการเมืองเป็นหลัก ภายหลังความร่วมมือด้านความมั่นคงขยายขอบเขตมากมายเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัยการข้ามชาติ เรื่องยาเสพติด เรื่องโรคระบาด โรคซาส์และโรคไข้หวัดนก ในด้านความมั่นคง เราคงไม่สามารถจะมีความร่วมมือในระหว่างสมาชิกอาเซียนด้วยกัน หรือในระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอกได้ ในความร่วมมือด้านความมั่นคงนั้น เรามีกลไกต่างๆในการเจรจาหารือ ผมยกตัวอย่าง เช่นเวทีที่ประชุมหารือด้านความมั่นคงซึ่งประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ แน่นอน อาเซียนคงไม่สามารถที่จะเข้าใจหรือช่วยกันแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้โดยปราศจาก AIFจะมีญี่ปุ่น จีนมาร่วมด้วย ภูมิภาคอาเซียนมีพลังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในด้านเศรษฐกิจ ถ้าเราจะมองว่าเดิมที อาเซียนมีเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่เป็นหลัก ถ้าเรามองย้อนกลับไปแค่ในเรื่องของความร่วมมือเขตการค้าเสรีอาเซียนที่เป็นกฎการณ์ผ่านมาไม่นานนัก เขตการค้าเสรีในโลกปัจจุบัน สิ่งสําคัญในการค้าจะต้องอํานวยความสะดวก จะอํานวยความสะดวกอย่างไง เราต้องขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคออก อุปสรรคที่ว่าคือ ภาษี มีการลดภาษี มีการยกเว้นภาษี ซึ่งอุปสรรคทางภาษีเรียกว่าภาษีอัตราสูง ทําให้การค้าในอาเซียนคล่องตัวมากขึ้น มีตัวเลขสูงขึ้น ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด โดยจํานวนสมาชิกทั้งหมดปัจจุบันมีประชากรรวมประมาณ 567 ล้านคน ถ้าเราคิดเฉพาะแยกเป็นไทย 50 กว่าล้านคน ลาว 5-6 ล้านคน สิงคโปร์ 4-5 ล้านคน ถ้าแยกเป็นแต่ละตลาด สามารถทําการค้าไม่ได้มาก ถ้ารวมตลาดเดียวกัน การค้าที่เกิดขึ้นมันก็เกิดภายในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน เมื่อเกิดภายในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ละประเทศก็เจริญ การพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น เมื่อพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น ก็หมายความว่าการค้าขายในประเทศต้องขยายไปยังประเทศอื่นๆนอก กลุ่มอาเซียนด้วย เราต้องลดอุปสรรคต่างๆในการลงทุน ให้เกิดการลงทุนมากขึ้นตามลําดับ ในหลักเสาที่สามก็คือด้านสังคม สังคมเป็นภาพที่ค่อนข้างกว้าง วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา การศึกษา ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับ ประชาชนด้วยกัน ถ้าเราเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เราก็สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรมอาเซียนแม้เป็นคนเอเซียด้วยกัน วัฒนธรรมประเพณความเชื่อีก็แตกต่างกัน วัฒนธรรมที่ใกล้เข้ามา ต้องดูว่าทําอะไรได้บ้าง อย่างเรื่องศาสนา แล้วตัวสําคัญตัวหนึ่งก็คือเรื่องการศึกษา อาเซียนจะไปได้ไกลขนาดไหน ประชาคมอาเซียนต้องมีประชากรที่มีการศึกษาและมีคุณภาพ การศึกษาเป็นเรื่องสําคัญ

1 2 3