China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2007-10-19 17:22:28    
นายกรัฐมนตรีอังกฤษยืนหยัดไม่ขอประชามติในสนธิสัญญาสหภาพยุโรป

cri
ท่านผู้ฟังครับ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษเดินทางถึงกรุงลิสบอนของโปรตุเกสเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำอย่างไม่เป็นทางการที่มีประเด็นหลักคือร่างสนธิสัญญาสหภาพยุโรปใหม่ เขากล่าวย้ำในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่่าวว่า เขาจะไม่จัดการขอประชามติเีกี่ยวกับสนธิสัญญาดังกล่าว

นายบราวน์เเสดงท่าทีดังกล่าวภายใต้สถานการณ์ที่ชาวอังกฤษเรียกร้องขอประชามตินี้ในสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างมาก พรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเน้นว่า นายโทนี่ ไปรย์ อดีตนายรกรัฐมนตรีอังกฤษเคย ให้คำมั่นสัญญาว่าจะขอประชามติเกี่ยวกับ "สนธิสัญญารัฐธรรมนูญสหภาพยุโรป" เเต่นายบราวน์ไม่รักษาคำมั่นสัญญานี้ ซึ่งเป็นการทำลายความเชื่อถือทางการเมือง พรรคเลเบอร์ไม่ควรตัดโอกาสเเสดงความคิดเห็นของ ปวงชนในเรื่องนี้

ภายในพรรคอนุรักษ์นิยมที่มีนายบราวน์เป็นหัวหน้าพรรคก็มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงเเละสมาชิกรัฐสภามีความคิดเห็นตรงกันกับพรรคเลเบอร์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม คณะกรรมการตรวจสอบกิจการยุโรปของสภาล่างของอังกฤษที่อยู่ใต้การควบคุมของพรรคเลเบอร์ได้เเสดงความเห็นใน สารที่ส่งให้นายดาวีด มิลิเเบน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษว่า "สนธิสัญญาฉบับนี้มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญ ต้องจัดการขอประชามติ เเละการขอประชามติหรือไม่นั้น เกี่ยวพันธ์ถึงความเชื่อถือเเละความซื่อสัตย์"

เเต่ชาวอังกฤษมีเสียงเรียกร้องเกี่ยวกับการขอประชามติในสนธิสัญญานี้สูงขึ้น หนังสือพิมพ์ "ไฟเน็นส์ ไทมส์"ฉบับวันที่ 18 ตุลาคมของอังกฤษลงพิมพ์ผลสำรวจความต้องการในการขอประชามติเรื่องนี้ พบว่ามีชาวอังกฤษ 70% เห็นว่าควรต้องจัดการขอประชามติในเรื่องดังกล่าว เเละมีผู้อ่านของหนังสือพิมพ์ "เดลี่ เทเลกราฟ"กว่าเเสนคนไปเข้าร่วมเรียกร้องด้วย

นักวิเคราะห์มีความเห็นว่า การที่นายบราวน์ยืนหยัดไม่ให้ขอมติปวงชนในสนธิสัญญาสหภาพยุโรปเพราะว่าเขาเห็นถึงความเสี่ยงต่อการไม่เห็นด้วยของชาวอังกฤษ นายดาวีด คาเมรอน ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมกล่าวว่า การที่นายบราวน์ลีกเลียงการขอประชามติก็เพราะว่าเขาประจักษ์ชัดว่า ชาวอังกฤษมีความสงสัยต่อทวีปยุโรปมาโดยตลอด พวกเขาจะปฏิเสธสนธิสัญญานี้

เพื่อโน้มน้าวปวงชนให้ยอมรับการตกลงของเขา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม นายบราวน์เเก้ต่างในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า สนธิสัญญาฉบับใหม่ไม่เหมือนกันกับ "สนธิสัญญารัฐธรรมนูญสหภาพยุโรป" ฉบับเก่า สนธิสัญญาฉบ้บใหม่จะไม่นำมาซึ่งการเปลี่ยนเเปลงในหลักการพื้นฐาน อังกฤษยังรักษาสิทธิกำหนดนโยบายการต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของประเทศเป็นต้น นายบราวเรียกสิทธิพิเศษดังกล่าวว่าเป็น "เส้นเเดง"

ดูจากสถานการณ์ปัจจุบันเเล้ว การที่นายบราวน์พยายามให้สหภาพยุโรปผ่าน "เส้นเเดง"ของอังกฤษได้รับผลคืบหน้ามาก ไม่ีกี่วันก่อน นายโจเซ เมนูยล์ บาโรโซ ประธานคณะกรรมการสหภาพยุโรปกล่าวขณะไปเยือนกรุงลอนดอนว่า หากสหภาพยุโรปผ่าน "เ้ส้นเเดง" ของอังกฤษไม่อาจมีปัญหา"

วันที่ 19 ตุลาคมนี้ เป็นวันสำคัญที่ผู้นำสหภาพยุโรปจะบรรลุความเห็นเป็นเอกฉันท์ในสนธิสัญญาดังกล่าว นายบราวน์เคยกล่าวย้ำหลายครั้งว่า ถ้าอังกฤษไม่ได้ "เส้นเเดง" เขาจะลงเสียงปฏิเสธสนธิสัญญาฉบับใหม่ในที่ประชุมผู้นำ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เเรงกดดันภายในประเทศยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่นายบราวน์สามารถเอาไปต่อรองกับสหภาพยุโรป