China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-03-28 14:15:18    
ไทย-จีนร่วมแสวงหาวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเมืองจีน (ตอนที่ 1)

cri

อาจารย์สมพงศ์เห็นว่า อาจารย์สอนภาษาไทยในเมืองจีนสะท้อนถึงการเห็นคุณค่าของภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ซึ่งคิดว่า เป็นภาษาต่างประเทศกลุ่มน้อยในเมืองจีนที่มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โทและเอก จึงได้เปรียบของการเรียนการสอนภาษาไทยที่นำสัมฤทธื์ผลมาสู่ผู้เรียนสังคมก็ตามและเทศชาติชาติคือ ความตั้งใจเป็นเลิศของนักศึกษาจีน

" เกี่ยวกับเรื่องภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ทันที่ที่ผมมาเรียนภาษาจีนที่เมืองจีน ทันทีที่ผมมาสอนภาษาไทยเด็กจีนที่เืมืองจีน ผมค้นพบข้อได้เปรียนและก็มองเห็นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่า ข้อที่หนึ่ง นักศึกษาจีนมีความตั้งใจเรียนเป็นเลิศ เมื่อเทียบแล้ว คู่แข่งที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดเห็นจะเป็นญี่ปุ่น ญี่ปุ่นยังมีแรงดาลใจในการเรียนหนังสือ แต่มีวิธีการเรียนที่แตกต่างกับจีนมากๆ ใครก็ตาม ที่สอนนักศึกษาจีนจะรู้สึกประทับใจทุกคน เพราะนักศึกษาเอาจริงเอาจัง "

ด้วยความตั้งใจเป็นเลิศของนักศึกษา การทุ่มเทเอาจริงเอาจังของภาครัฐโดยรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา ทำให้การเรียนการสอนภาษาไทยในเมืองจีนก้าวไกลบนพื้นฐานการมีสื่อการเรียนการสอนที่ดี

"อันที่สอง ที่นี่ด้วยบุคลากรอันน้อยนิด ความทุ่มเทนั้นสูง การสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นสูง การสนับสนุนจากรัฐบาลกลางสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลนะครับ มันทำให้ผู้สอนมีความตั้งใจสูง เดี๋ยวนี้เรามีตำราเรียนภาษาจีนที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่ประเทศจีน คืออาจารย์หนังสือภาษาไทยพื้นฐานของอาจารย์พันเต๋อติ่ง สำหรับผมเป็นตำราที่ดีที่สุดในโลกนี้ "

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันบ่อยๆย่อมทำให้เกิดการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา การเรียนการสอนภาษาไทยก็เช่นกัน หากผู้เรียนและผู้เรียนด้วยกัน หรือผู้สอนและผู้สอนด้วยกัน รวมทั้งผู้สอนและผู้เรียนที่ไม่ว่ากำลังดีกว่า หรือจบการศึกษาไปแล้ว ได้มีโอกาสนำภาษาไทยไปใช้ในชีวิตจริง ได้มีโอกาสกลับมาพบปะคุยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อได้มีการขับเคลื่อนรวมกลุ่มสนใจในรูปแบบของสมาคมการเรียนการสอนภาษากลุ่มน้อยสาขาวิชาภาษาไทยในประเทศจีน

"ผมขอแสดงความยินดีกับการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งประวัิติศาสตร์ การเรียนการสอนของภาษาไทยที่ได้มีการจัดตั้งสมาคมการเรียนการสอนภาษากลุ่มน้อยสาขาวิชาภาษาไทยเป็นครั้งแรก ที่ประเทศไทย เราคุยกันหลายครั้งในระดับส.บ.อ. แม้แต่การไปประชุมที่การเรียนการสอนภาษาแม่ในฐานะที่เป็นภาษาต่างประเทศที่สิงคโปร์เมื่อคราวที่แล้วที่ผมไป พูดถึงกันมากก็คือเราต้องการตั้งสมาคมผู้สอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ แต่เราไม่สามารถทำได้สำเร็จ แต่ที่นี่ทำได้สำเร็จแล้ว "

ท่านผู้ฟังคะ รายการ "จับมืออาเซี่ยน"วันนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็นของรศ.ดร.สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ จากภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับไทยจีนร่วมกันแสวงหาวิธีการพัฒนาในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษา ต่างประเทศ ขณะที่อาจารย์สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ร่วมการสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ"การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่าง ประเทศ"จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้งซึ่งมีเนื้อหาสาระจากการสัมมนาที่น่าสนใจอีกมาก แต่ว่า วันนี้เวลาของรายการหมดลงแล้ว ขอเชิญท่านผู้ฟังติดตามส่วนที่เหลือในรายการ "จับมืออาเซี่ยน"ครั้งต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ


1 2