China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-03-28 19:46:50    
นักวิชาการไทยแสดงความเห็นว่า สื่อตะวันตกขาดจรรยาบรรณในการรายงานปัญหาทิเบต

cri

ท่านผู้ฟังครับ วันที่ ๑๔ มีนาคมที่ผ่านมา ทิเบตและเขตที่อยู่รอบ ๆ เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ คนร้ายจำนวนหนึ่งทำร้าย ทำลาย ปล้นสะดมและวางเพลิง ซึ่งเป็นที่สนใจของทั่วโลก ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุซีอาร์ไอได้สัมภาษณ์นาย เฉียนเฟิง ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาของไทย

นาย เฉียนเฟิงเป็นรองผู้อำนวยการและบรรณาธิการใหญ่ของหนังสือพิมพ์เอเชียรายวัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาจีนของไทย หลังเกิดเหตุการณ์ไม่สงบที่เมืองลาซา เขาติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์นี้มาโดยตลอด และเห็นว่า สื่อตะวันตกรายงานเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างรวดเร็วที่สุด เขากล่าวว่า

ผู้ทำงานด้านสื่อต้องพยายามรายงานข่าวให้เร็วเท่าที่จะเร็วได้ แต่ การรายงานข่าวอย่างรวดเร็วนั้นไม่ควรบิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่ควรนำเรื่องตำรวจเนปาลสลายผู้แสดงกำลัง ซึ่งเป็นกลุ่มพลัดถิ่นแบ่งแยกทิเบต มารายงานว่า ตำรวจจีนกำลังจับกุมกลุ่มแบ่งแยกทิเบต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เนปาล แล้วหยิบมารายงานเข้ากับทิเบตของจีนได้อย่างไร

นาย เฉียนเฟิงยกตัวอย่างว่า สื่อตะวันตกรายงานข่าวเกี่ยวกับตำรวจจีนจับคน แต่ข้อเท็จจริงกลับเป็น ตำรวจกำลังช่วยส่งผู้ได้รับบาดเจ็บขึ้นรถ รถคันนั้นเป็นรถปฐมพยาบาล ไม่ใช่รถตำรวจ บนจอโทรทัศน์ของตะวันตกจะถ่ายทอดภาพชาวทิเบตที่ถูกตีบาดเจ็บซ้ำแล้วซ้ำอีก และยังบรรยายว่า เขาถูกทหารจีนรุมตี แท้ที่จริงแล้ว หนุ่มชนชาติทิเบตคนนั้นเป็นนายแพทย์ เขาถูกผู้ก่อเหตุทำร้ายจนศีรษะได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากว่า เขาไปช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กชนชาติฮั่นคนหนึ่ง เวลานั้น นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนหนึ่งที่ได้เห็นกับตาถึงความไม่สงบที่ทิเบตได้บันทึกภาพเอาไว้ด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายวิดีโอ หลังจากนั้น พวกเขาก็ได้ออกมาเล่าสิ่งที่ตนเองได้พบเห็น ซึ่งต่างจากสิ่งที่สื่อตะวันตกประโคมข่าวว่า ทหารจีนปราบปรามการเคลื่อนไหวแสดงกำลังที่สันติอย่างไร

นาย เฉียนเฟิงกล่าวว่า จากภาพข่าวที่เกี่ยวข้องเห็นได้ชัดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองลาซาเป็นเหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรง ไม่ใช่การเคลื่อนไหวแสดงกำลังที่สันติ เขากล่าวว่า

ปัจจุบัน สื่อบางรายของเยอรมันได้ยอมรับแล้วว่ามีความผิดพลาดในการรายงานเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่พวกเขาไม่ได้กล่าวขอโทษ เพียงแต่แสดงความเสียใจ เท่านั้น นี่ไม่ใช่แบบอย่างและลักษณะท่าทางของผู้ทำงานในแวดวงสื่อเลย แสดงให้เห็นว่า มีผู้เจตนาจะรายงานข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริงของปัญหาทิเบต โดยรายงานเหตุการณ์ ๑๔ มีนาคม ว่า เป็นเหตุการณ์การเคลื่อนไหวประท้วงที่สันติวของชาวบ้านชนชาติทิเบตในท้องถิ่นถูกทางการจีนปราบปรามด้วยกำลังอาวุธ นี่เป็นการกลับขาวเป็นดำ กลับดำเป็นขาว

นายเฉียนเฟิงกล่าวเพิ่มเติมว่า

ผมมีความเข้าใจนโยบายชนชาติของรัฐบาลจีนลึกซึ้งมาก รัฐบาลจีนมีความสุขุมรอบคอบมากในปัญหาชนชาติ และมีความสุขุมรอบคอบในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินใด ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตชนชาติส่วนน้อย ช่วงเวลานั้น จีนกำลังจัดการประชุมสองสภา ผู้นำสำคัญของทิเบตส่วนใหญ่มาประชุมที่ปักกิ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ร้ายแรงขนาดนี้ ผู้นำที่อยู่ในเมืองลาซาไม่กล้าสั่งการให้จับกุมคนร้าย พวกผู้ร้ายจึงมีโอกาสทำร้าย ทำลาย ปล้นสะดมและวางเพลิง หากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างที่สื่อตะวันตกรายงาน ผมเชื่อว่า ผลจะไม่ร้ายแรงถึงขนาดนี้

(cai)