China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-06-11 18:44:14    
กรุงปักกิ่งอาศัยเทคโนโลยีการออกแบบและสร้างสนามกีฬาโอลิมปิก เชิดชูแนวคิดประหยัดพลังงาน(1)

cri

ภายหลังจีนประกาศเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง 2008 เมื่อ 8 ปีก่อน กรุงปักกิ่งได้เริ่มสร้างสนามกีฬาโอลิมปิก และพัฒนาสิ่งปลูกสร้างขั้นพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปัจจุบัน พร้อมๆกับวันเปิดงานกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่ใกล้จะมาถึง สนามกีฬาที่ทันสมัยตั้งตระหง่านอยู่ในตัวเมืองปักกิ่งเสมือนดอกเห็ดในฤดูฝน ส่วนใหญ่เตรียมพร้อมสำหรับการจัดการแข่งขันแล้ว นับเป็นข่าวที่น่าภาคภูมิใจของชาวจีนและชาวโลกที่มาเชียร์โอลิมปิก สิ่งที่น่าชื่นชมกว่านี้คือ สถาปนิกและนักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบและก่อสร้างสนามกีฬาต่างๆด้วยไฮเทคโนโลยี และเชิดชูแนวคิดการประหยัดพลังงานในการใช้สนามกีฬาดังกล่าว

สนามกีฬาแห่งชาติของจีนที่มีชื่อเรียกว่า"รังนก" มีโครงสร้างเป็นเสาเหล็กกล้าคงทนที่ก่อตัวขึ้นด้วยวิธีการทอผ้า เสาเหล็กกล้าทั้งหลายเป็นรูปโค้ง ประกอบเป็นรังนกที่มีความยาว 144.5 เมตรทางเหนือ-ใต้ และความกว้าง 114 เมตรทางตะวันออก-ตะวันตก นับเป็นโครงสร้างเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดและสลับซ้อนที่สุดของโลก เป็นงานก่อสร้างที่ยากและละเอียดมาก ในวันที่ประกอบโครงสร้างเหล็กกล้าหลายส่วนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลักง่ายๆคือการทอรังนกนั่นเอง บรรดาวิศวกรและกรรมกรก่อสร้างทำงานตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพราะถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นพิเศษและยากที่สุด หลายวันมาแล้วที่พวกเขาทำงานบนพื้นดินเพื่อประกอบเสาเหล็กกล้าให้เป็นโครงหลัก จากนั้นจะใช้เครื่องจักร์ประกอบโครงเหล็กให้เป็นรูปรังนก โครงเหล็กกล้าแต่ละอันมีน้ำหนักหลายร้อยตัน แต่ทุกคนที่มีส่วนร่วมต่างอดทนต่อสู้และประสานงานอย่างดี ร่วมมือกันอย่างมีรประสิทธิภาพ วิศวกรควบคุมเครื่องจักร 9 เครื่องทำงานอย่างระเอียดรอบคอบ ใช้เวลา 3 ชั่วโมงถึงประกอบโครงเหล็กกล้าหลายส่วนเข้าต่อเป็นรังนก ตามตำแหน่งที่ถูกต้องตามผังก่อสร้าง ปัจจุบัน วิธีการก่อสร้างรังนกกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาสมบูรณ์ของจีน ทั้งความทันสมัยและความยากในการปฏิบัติต่างได้สร้างสถิติใหม่ในการก่อสร้างของโลก

ในระหว่างการก่อสร้างฐานรากของรังนก มีอยู่ขั้นตอนหนึ่งคือใช้วัสดุก่อสร้างทับถมตามที่ขุด เนื่องจากต้นทุนในการใช้หินและทรายธรรมชาติสูงมาก สถาปนิกจึงหันไปทำการวิจัยเพื่อใช้กากที่มาจากการถลุงเหล็กทแน ในที่สุดปัญหาการถมฐานรากรังนกก็แก้ไขด้วยกากเหล็กกล้าที่มีน้ำหนักเกิน 80,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงแต่ประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างเท่านั้น หากยังนำทางเลือกใหม่สำหรับการจัดการกากเหล็กอีกด้วย

สนามยิงปืนกรุงปักกิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับจัดการแข่งขันโอลิมปิกเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกแห่ง คือสร้างห้องยิงปืนที่มีความยาว 134 เมตรโดยปราศจากเสาค้ำยัน ผู้ออกแบบแนะนำว่า การออกแบบห้องให้ไม่มีเสาค้ำยัน ซึ่งจะทำให้การก่อสร้างยากขึ้นหลายเท่า เพื่อประกันให้นักยิงปืนทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน นอกจากนี้แล้ว การที่ไม่มีเสาค้ำจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชม ไม่ว่านั่งที่มุมไหน จะไม่มีที่บังตา สามารถดูการแข่งขันยิงปืนได้สะดวก

สนามกีฬาว่ายน้ำแห่งชาติที่ชื่อว่า"ลูกบาศก์น้ำ"เป็นสิ่งก่อสร้างสวยงามน่าทึ่งอีกแห่งหนึ่ง ที่ลูกบาศก์น้ำสวยงามเพราะกำแพงและหลังคาภายนอกคลุมด้วยแผ่นรองอัดก๊าซในรูปฟองน้ำจำนวน 1,437 แผ่น ทาสีน้ำเงิน ทำให้ศูนย์ว่ายน้ำฯดูเหมือนลูกบาศก์น้ำก้อนมหึมา แผ่นรองฟองน้ำแต่ละแผ่น สามารถทนความร้อนที่สูงถึง 206 ํC และรับน้ำหนักเท่าน้ำหนักของรถคันหนึ่ง วิศวกรแนะนำว่า ผู้ชมไม่ต้องกังวลว่า"ฟองน้ำ"จะแตกง่าย เพราะใช้วัสดุคงทนโดยเฉพาะ

 

http://www.mipang.com/places/18733/about