China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-12-09 15:30:27    
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยในรอบ 30 ปีหลังจีนเปิดประเทศ(ภ)
รายการมุมมองทางวัฒนธรรม

cri

เนื่องในโอกาสที่จีนเปิดประเทศครบรอบ 30 ปี รายการมุมมองทางวัฒนธรรมวันนี้ ขอนำท่านผู้ฟังมาสนทนากับท่านฉินอี้ว์เซิน ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของกรมวิเทศสัมพันธ์กระทรวงวัฒนธรรมจีน ท่านเคยไปทำงานที่หน่วยวัฒนธรรมของสถานทูตจีนประจำประเทศไทยมา 3 ครั้ง รวมแล้วเป็นเวลา 19 ปี ท่านอุตส่าห์ผลักดันการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย และกล่าวอย่างภูมิใจว่า "ในรอบ 30 ปี ผมทำแต่เรื่องเดียว นั่นก็คือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย" รายการวันนี้ ขอเชิญท่านฟังแง่คิดและมุมมองของท่านที่ปรึกษาฉินเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยในรอบ 30 ปีหลังจีนเปิดประเทศค่ะ

ย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อน ท่านฉินหวนคิดว่า ในช่วงที่เริ่มความสัมพันธ์กันใหม่ๆ แต่ละปีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยมีเพียงไม่กี่ประการ เมื่อเดือนตุลาคมปี 1975 คณะกายกรรมกวางโจวในฐานะเป็นคณะศิลปะการแสดงคณะแรกของจีนได้เดินทางไปเยือนและจัดแสดงที่เมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถทรงทอดพระเนตการแสดง โดยมีนายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชติดตามไปด้วย

ด้วยความสนพระทัยของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย และการผลักดันอย่างแข็งขันของรัฐบาลทั้งจีนและไทย รวมทั้งการสนับสนุนขององค์กรและวิสาหกิจต่างๆ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยพัฒนาไปในหลายระดับและหลายลู่ทาง ซึ่งรวมทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงการกุศล เป็นต้น มีโครงการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยโครงการต่อปีอย่างรอบด้านซึ่งรวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การจัดพิมพ์ ศาสนา และโบราณคดีเป็นต้น

ท่านฉินกล่าวว่า "พูดถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนไทย ย่อมจะนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผมซาบซึ้งใจพระปรีชาสามารถในสมเด็จพระเทพฯ อย่างล้นพ้น เป็นเวลาช้านานแล้ว สมเด็จพระเทพฯ ทรงศึกษาวัฒนธรรมจีน เสด็จเยือนจีนกว่า 20 ครั้ง ทรงเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนจีน ในประเทศจีน ไม่ว่าไปภาคไหน แม้ว่าในดินแดนห่างไกล เมื่อพูดถึงประเทศไทย ก็จะมีคนบอกว่า เขารู้จักสมเด็จพระเทพฯ สมเด็จพระเทพฯทรงศึกษาภาษาจีน เสด็จเยือนจีนบ่อยๆ ท่านฉินกล่าวอีกว่า แต่ละครั้งในการเสด็จเยือนจีน ก็เสมือนพระองค์ทรงนำพาประชาชนไทยทั่วประเทศไปทัศนศึกษาจีน มีทั้งภาพข่าวที่ถ่ายทำอย่างงดงาม และพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับประเทศจีน ได้ให้ข้อมูลและความรู้อย่างละเอียดแก่ประชาชนไทย ท่านฉินเห็นว่า "ซือหลินทง" สามตัวอักษรนี้แทนพระนามในสมเด็จพระเทพฯ เป็นสัญญลักษณ์แห่งไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างจีน-ไทย เป็นสะพานเชื่อมของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย และเป็นจารึกในประวัติศาสตร์การไปมาหาสู่กันฉันมิตรระหว่างจีน-ไทย"

1 2