China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-02-18 15:35:23    
สำนักงานสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติประกาศรายงานวิกฤตอาหารทั่วโลก

cri
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่กรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยาสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติประกาศรายงานวิกฤตอาหารทั่วโลก ชี้ว่า ถึงแม้วิกฤตอาหารทั่วโลกที่เกิดขึ้่นเมื่อปี 2008 ได้หายไปจากสายตาของชาวโลกมาแล้วสักพักก็จริง แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงอีก และคนเรายังไม่สามารถพัฒนาการเกษตรด้วยรูปแบบที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั่วโลกอาจจะเผชิญกับวิกฤตอาหารที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น

รายงานฉบับนี้แถลงในที่ประชุมคณะกรรมการ สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติครั้งที่ 25 และฟอรัมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของโลก ประเด็นของการประชุมครั้งนี้คือ ทำอย่างไรจึงจะอาศัย "เศรษฐกิจสีเขียว" แก้วิกฤตอาหาร การเงินและพลังงานของทั่วโลกที่เกิดจากพัฒนาสิ่งแวดล้อม รายงานฉบับนี้ชี้ว่า หลายสิบปีมานี้ พร้อมๆกับกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมในอัตราที่รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมทั่วโลกนับวันเสื่อมทรามลง ภาวะโลกร้อน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาเพิ่มขึ้น พื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลงขณะที่ืพื้นที่ทะเลทรายขยายขึ้นทุกที ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังผลให้การเก็บเกี่ยวธัญญาหารลดน้อยลงโดยตรง จนในที่สุดเกิดภาวะขาดแคลนธัญญาหาร และราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้น

รายงานฉบับนี้เน้นว่า ปัจจุบัน ปริมาณธัญญาหารที่ผลิตทั่วโลก มี 1 ใน 3 ถูกใช้เป็นอาหารสัตว์ หากไม่ใช้มาตรการการควบคุม ถึงปี 2050 ธัญญาหารที่นำไปผลิตอาหารสัตว์จะเกินครึ่งหนึ่งของธัญญาหารทั้งหมด ซึ่งจะทวีความรุนแรงวิกฤตอาหารและทำให้ภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรมลงต่อไป ทุกวันนี้ เพื่อลดมการปล่อยลภาวะ มีการนำธัญญาหารถูกใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ นี่เป็นสาเหตุสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ก่อเกิดวิกฤตอาหาร นายอาชิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติกล่าวว่า ในทวีปยุโรป แอฟริกา และภูมิภาคอื่นๆ มีธัญญาหาร 20 – 40% ถูกใช้อย่างสิ้นเปลือง นี่เป็นการสิ้นเปลืองอย่างมากต่อทรัพยากรสังคมและแรงงานเกษตรกร ดังนั้น เขาชี้ว่า การผลิตด้านเกษตรกรรมรวมทั้ง การขนส่ง การจำหน่ายและการบริโภค ตลอดจนทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการปฎิรูปด้วย

เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนธัญญาหาร และราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้นจากต้นตอ รายงานจากสำนักงานวางแผนสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติได้ออกข้อเสนอ 5 ประการ ได้แก่ 1.ควบคุมการขึ้นลงของราคาธัญญาหาร เพิ่มปริมาณธัญญาหารสำรอง รวบรัดขั้นตอนการผลิตและการจำหน่าย ใช้เทคโนโลยีใหม่ลดการสิ้นเปลืองธัญญาหาร 2.ส่งเสริมให้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สอง ลดลงหรือยกเลิกการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเก่า 3.เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นเก่า ถึงแม้เชื้อเพลิงชีวภาพดีกว่าเชื้อเพลิงฟอซิลไม่น้อยในดานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่การใช้ธัญญาหารผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นการสิ้นเปลือง จึงควรส่งเสริมให้นำกากธัญญาหารผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ 3.ลดปริมาณการใช้ธัญญาหารผลิตอาหารสัตว์ และใช้วัตถุอื่นๆทดแทน 4.สนับสนุนเกษตรกรทำการผลิตด้วยรูปแบบที่เอื้อต่อระบบนิเวศ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง และ 5.พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ประเทศพัฒนาลดหรือยกเลิกการให้เงินอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และลดกำแพงกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ธัญญาหารเข้าตลาดง่ายขึ้น และประกันความมั่นคงทางอาหาร

นอกจากนี้แล้ว รายงานยังเสนอให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมภาวะโลกร้อน และควบคุมจำนวนประชากรโลก ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภค ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างระบบนิเวศที่พัฒนาอย่างยั่งยืน

Min/Lu