China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-03-23 21:51:36    
เสียงระฆังดังในสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน

cri

เช้าวันที่ 23 พฤศจิกายนปี 2008 เมืองอู๋ ซี ฮ่องกงและเมืองกาวสูงได้ยินเสียงระฆังอวยพรในเวลาเดียวกัน พระมหาเถระอี เฉิง นายกสมาคมพุทธศาสนาจีน พระมหาเถระซวี หยุน นายกสมาคมแสงพุทธธรรมสากล และพระมหาเถระเจว๋ กวาง นายกสมาคมพุทธศาสนาฮ่องกง จัดสวดมนต์อำนวยพรให้แผ่นดินใหญ่จีน ฮ่องกงและไต้หวัน และให้มีความสมานฉันท์ในสังคมและสันติภาพระหว่างสองฝั่งช่องแคบและทั่วโลก

การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 ที่ได้รับความสนใจจากวงการพุทธศาสนาทั่วโลกจัดขึ้นโดยสมาคมพุทธศาสนาจีน สมาคมแสงพุทธธรรมสากล สมาคมพุทธศาสนาฮ่องกงและสมาคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาประชาชาติจีน และจะจัดพิธีเปิดในเมืองอู๋ซีและพิธีปิดที่เมืองไทเปในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-วันที่ 1 เมษายนศกนี้

การประชุมพุทธศาสนาโลกจัดขึ้นโดยวงการพุทธศานาระหว่างสองฝั่งช่องแคบในปี 2005 มีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยน ความร่วมมือและการเจรจาระหว่างพุทธศาสนิกชนทั่วโลก และเป็นเวทีที่กว้างใหญ่แก่วงการพุทธศาสนาของจีน เป็นโอกาสอันดีในการการแลกเปลี่ยนระหว่างวงการพุทธศาสนาระหว่างสองฝั่งช่องแคบการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งแรกจัดขึ้นในมณฑลจื้อเจียงในปี 2006 มีพระภิกษูสงฆ์จากวงการต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ นักธุรกิจและนักการเมืองกว่า 1,000 คนจาก 37 ประเทศและเขตแคว้นเข้าร่วม และส่งอิทธิพลอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ

ประเด็นสำคัญของการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 คือ "โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน" การประชุมครั้งนี้จะแสดงความหมายของพรหมลิขิตอยู่ร่วมกันที่มีประเพณีที่สืบทอดมาช้านานของจีน และจะแสดงโฉมหน้าของพุทธศาสนาชนชาติจีนให้ทั่วโลกได้ประจักษ์

การประชุมครั้งนี้นอกจากจะอภิปรายประเด็นสำคัญกว่า 10 ประเด็นแล้ว ยังจัดงานแสดงวัฒนธรรม 5 แห่ง ซึ่งรวมทั้งโบราณวัตถุ ภาพศิลปกรรม เครื่องปั้นดินเผาและภาพถ่ายเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ เจ้าภาพการประชุมยังออกคำเชิญไปยังบุคคลวงการพุทธศาสนาของกว่า 60 ประเทศและเขตแคว้น จนถึงปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการการประชุมได้รับการยืนยันเข้าร่วมประชุมจากผู้แทนกว่า 20 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ไทย ศรีลังกาและอินเดีย

1 2