China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-03-23 22:18:07    
การแลกเปลี่ยนทางพุทธศาสนาระหว่างจีน-ไทย

cri

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนปี 2007 พระอาจารย์เสวีย เฉิง อุปนายกและเลขาธิการพุทธสมาคมจีน รองผู้อำนวยการสถาบันพุทธศาสนาจีนได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยที่พุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม สมเด็จ พระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชทรงมอบประกาศนียบัตรให้แก่พระอาจารย์เสวีย เฉิง พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย นายฉิน ยวี่เซิน ที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมของสถานทูตจีนประจำประเทศไทย รวมทั้งคณาจารย์และนิสิตมหาจุฬาฯ ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

พระอาจารย์เสวีย เฉิง ได้กล่าวสุนทรพจน์หลังจากได้รับปริญญาว่า นี่ไม่เพียงแต่เป็นเกียรติของข้าพเจ้าเอง หากยังสะท้อนให้เห็นถึงไมตรีจิตมิตรภาพอันลึกซึ้งของประชาชนและวงการพุทธศาสนาไทยที่มีต่อประชาชนและวงการพุทธศาสนาจีน ซึ่งจะกระตุ้นให้ข้าพเจ้ามุมานะทำงานเพื่อมิตรภาพที่มีมาช้านานระหว่างประชาชนจีน-ไทย เพื่อมิตรภาพระหว่างวงการพุทธศาสนาจีน-ไทย และเพื่อสันติภาพและความก้าวหน้าของโลกและมนุษยชาติ จีน-ไทยเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกัน ไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศมีมายาวนานแต่โบราณกาล การแลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างวงการพุทธศาสนาจีน-ไทยได้สร้างคุณูปการที่เป็นคุณต่อการพัฒนามิตรสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ

ตั้งแต่ทศวรรษปี 1980 เป็นต้นมา การแลกเปลี่ยนทางพุทธศาสนาระหว่างจีนไทยได้รับผลคืบหน้าที่น่าปลื้มใจ เมื่อปี 1984 วงการพุทธศาสนาไทยได้มอบพระพุทธรูปทองแดง 5 องค์แก่วงการพุทธศาสนาจีน ขณะนี้ พระพุทธรูป 5 องค์นี้ประดิษฐานในวัดหลิงกวางกรุงปักกิ่ง วัดจีหมิงเมืองหนานจิง วัดไคหยวนเมืองหวูซี วัดกว่างเสี้ยวเมืองกวางโจว และวัดหยวนทงเมืองคุนหมิง เมื่อปี1993 สมเด็จพระสังฆราชไทยเสด็จเยือนจีน และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชนและวงการพุทธศาสนาจีน เมื่อปี 1994 รัฐบาลไทยอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อนิ้วพระหัตถ์จากวัดฝ่าเหมินเมืองซีอันไปประดิษฐานที่ประเทศไทย เมื่อปี 2002 รัฐบาลไทยอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วจากวัดหลิงกวางกรุงปักกิ่งไปประดิษฐานที่ประเทศไทยอีก พุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมหาศาลได้ไปสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยความปรารถนาว่า อานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระสารีริกธาตุจะแผ่พระบารมีกว้างไกลไพศาล และจะคุ้มให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้เจริญรุ่งเรืองและมีความสุขตลอดไป

การไปมาหาสู่กันฉันมิตรทางพุทธศาสนาระหว่างจีนไทยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของความสัมพันธ์จีนไทย

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นสถาบันศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่มีประวัติยาวนานและมีชื่อเสียงในโลก นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนามหาจุฬาฯขึ้นเมื่อปี 1887 เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระราชสำนักไทยและการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยมาโดยตลอด เป็นแหล่งอบรมบุคลากรฝ่ายสงฆ์และบุคลากรด้านพุทธศาสนาที่มีผลงานดีเด่นของไทย และได้สร้างคุณงามความดีเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สรรพสัตว์ จึงเป็นที่ยกย่องชื่นชมในวงการพุทธศาสนาโลก

หลายปีมานี้ มหาจุฬาฯได้จัดกิจกรรมด้านพุทธศาสนาระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน อาทิ การประชุมแลกเปลี่ยนทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท-มหายาน สมัชชาพระพุทธศาสนานานาชาติ และพิธีฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของสหประชาชาติเป็นต้น พระกรณียกิจดังกล่าวได้เพิ่มพูนความเข้าใจระหว่างพุทธศาสนิกชนนานาชาติ กระชับไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างวงการพุทธศาสนาของประเทศต่างๆ ส่งเสริมเชิดชูความเมตตากรุณา ผลักดันความสมานฉันท์ของโลกและมนุษยชาติ อีกทั้งแสดงบทบาทสำคัญในการพิทักษ์สันติภาพของโลกด้วย

พุทธสมาคมจีนมีความร่วมมือฉันมิตรกับมหาจุฬาฯมาโดยตลอด เมื่อปี 2004 สถาบันพุทธศาสนาจีนกับมหาจุฬาฯ ได้ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือ ตามคำเชิญของมหาจุฬาฯ พุทธสามาคมจีนจัดคณะเข้าร่วมการประชุมด้านพุทธศาสนานานาชาติที่มหาจุฬาฯ มาหลายครั้ง เมื่อเดือนเมษายนปี 2008 พุทธสมาคมจีนอาราธนาพระเทพโสภณอธิการบดีมหาจุฬาฯ และคณะเข้าร่วมการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งแรกที่จัดขึ้นในจีน

ก่อนหน้านี้ พระอาจารย์เสวีย เฉิง นำคณะผู้แทนพุทธศาสนาจีนเดินทางไปเข้าร่วมพิธีฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของสหประชาชาติประจำปีและได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า จีนไทยเป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้อง ไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศมีมาช้านานแล้ว การแลกเปลี่ยนทางพุทธศาสนาระหว่างจีน-ไทยได้สร้างคุณูปการที่เป็นคุณต่อการส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองประเทศ ตั้งแต่ทศวรรษปี 1980 เป็นต้นมา การแลกเปลี่ยนทางพุทธศาสนาระหว่างจีน-ไทยได้ดำเนินการอย่างกว้างขวาง เมื่อปี 1993 สมเด็จพระสังฆราชของไทยเสด็จเยือนจีน เมื่อปี 1994 รัฐบาลไทยอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อนิ้วพระหัตถ์จากวัดฝ่าเหมินไปประดิษฐานที่ประเทศไทย เมื่อปี 2002 รัฐบาลไทยอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วจากวัดหลิงกวางกรุงปักกิ่งไปประดิษฐานที่ประเทศไทยอีก พุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมหาศาลได้ไปสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และมีความปรารถนาว่า พระบรมสารีริกธาตุจะแผ่ความศักดิ์สิทธิ์กว้างไกลไพศาล และจะให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้เจริญรุ่งเรืองและมีความสุขตลอดไป การไปมาหาสู่กันฉันมิตรทางพุทธศาสนาระหว่างจีน-ไทยเป็นเรื่องที่งดงามและควรแก่การบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ การที่พุทธสมาคมจีนจัดคณะเยือนประเทศไทย ถือเป็นการสานต่อการแลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างวงการพุทธศาสนาจีน-ไทย