China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-05-08 17:37:07    
สัมภาษณ์พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(ตอนที่ 2)
รายการวิทยาศาสตร์และการศึกษาจีน

cri

คราวที่แล้วได้นำเสนอบทสัมภาษณ์พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เรื่องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในมหาจุฬาฯ และการประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 2 ของจีน ทีนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างเรื่องของการดูแลนักศึกษาต่างชาติที่เป็นพระภิกษุและฆารวาสในมหาจุฬาฯ รวมถึง "โลกกลมกลืน พรหมลิขิตอยู่ร่วมกัน" สอดคล้องกับสภาวการณ์โลกปัจจุบันอย่างไร วันนี้ ผมขอนำท่านผู้ฟังไปพูดคุยกับพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยต่อนะครับ

ผาไท?นิสิตต่างชาติที่มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยในปัจจุบันมีมากน้อยแค่ไหน

เจ้าคุณอธิการบดี?นิสิตต่างชาติ ตอนนี้เท่าที่สำรวจตัวเลขก็ประมาณ 1300 ทั้งรูปทั้งคน เพราะว่าเป็นพระก็เยอะ ฆารวาสก็มี ในจำนวนนี้ มาจากประเทศเพื่อนบ้านก็เยอะ อย่างประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม มาจากประเทศจีนก็เยอะ ประเทศจีนก็จะมีทั้งฝ่ายมหายานและฝ่ายเถรวาสไปเรียนอยู่พอสมควรทีเดียว

ผาไท?การจัดการเรียนการสอนสำหรับนิสิตต่างชาติ รวมทั้งนิสิตจีนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นอย่างไร

เจ้าคุณอธิการบดี?นิสิตที่ไปเรียน บางส่วนรู้ภาษาไทย นิศิษจีนที่ไปเรียน บางส่วนรู้ภาษาไทยระดับภาษาพูดแล้ว ส่วนใหญ่มาจากสิบสองปันนาของยูนนาน แล้วก็มีมาจากมณฑลอื่นของจีน แต่ว่าถ้าเป็นระดับปริญญาตรี เราก็มีหลักสูตรภาษาอังกฤษให้เรียนได้ ถ้าเขามีพื้นภาษาอังกฤษพอสมควร ไปก็จะเรียนหลักสูตรนานาชาติ คือสอนด้วยภาษาอังกฤษ ปริญญาโทและปริญญาเอกก็มีสอนด้วยภาษาอังกฤษ เท่าที่ไปเรียนอยู่ตอนนี้ เขาเลือกเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ส่วนนิสิตที่เลือกเรียนหลักสูตรภาษาไทยก็มีบ้าง แต่ว่าจะน้อย

ก็ดูแล้วนิสิตจีนก็ปรับตัวได้ดี เพราะเราก็สอนด้วยภาษาเสริมอีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ เพราะอยู่ต่างประเทศก็ต้องใช้ แต่ว่าหลายคนที่ไปเลือกเรียนภาษาไทยก็ง่าย เพราะว่าภาษาจีนกับภาษาไทย ถ้าเรียนกันจริงๆนี่ คนจีนเรียนภาษาไทยง่ายก็เรียนภาษาอังกฤษ เพราะว่าเป็นภาษาตระกูลเีดียวกัน เรียกว่าภาษาคำโดด ไวยากรณ์อะไรต่างๆก็ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าตัวหนังสือต่างกัน

สำหรับพระ เราให้นอนที่มหาวิทยาลัย มีหอพัก โดยเบอร์เซนต์แล้วฆารวาสมีน้อย ดังนั้นหอพักสำหรับฆารวาสหรือสำหรับผู้หญิง ภิกษุณียังไม่มี แต่ว่าเราก็มีหอพักสำหรับอาจารย์ อาจารย์ทั้งฝ่ายคารวาสและฝ่ายพระให้อยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเรียนระัดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกให้พักในหอพักอาจารย์ได้ แต่หลายคนก็ไปหาที่พักอยู่ใกล้ๆมหาวิทยาลัย

อาหารการกินนี่ ประเทศไทยเีรียกว่าโดยลักษณะอาหารจะใกล้เคียงกับอาหารจีน แล้วภัตตาคารอาหารจีนเยอะแยะมาก ที่สำคัญก็คือว่า อาหารไทยก็เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คนไปที่ไหนก็จะมีภัตตาคารอาหารไทย เพราะฉะนั้น เขาอาจจะคุ้นกับอาหารไทยตั้งแต่บางทียังไม่มาถึงประเทศไทย ดังนั้น จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องอาหาร

1 2 3