China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-05-15 17:34:36    
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย

cri

ปัจจุบัน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนับเป็นเรื่องใหญ่ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ในอดีต ไทยก็เคยเกิดภัยพิบัติรุนแรงหลายครั้ง อาทิ เหตุการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่ม ในพื้นที่อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2544 หรือเหตุการณ์สินามิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัันเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้สื่อข่าวได้ขอสัมภาษณ์นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับสภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของไทย ต่อไปขอเชิญท่านฟังคำให้ัุสัมภาษณ์ตอนที่ ๑ ครับ

ผู้สื่อข่าว: ขอเรียนถามท่านอธิบดีว่า ระบบเตือนภัยพิบัติของประเทศไทยมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ และเกิดขึ้นภายใต้สภาพอะไรครับ

อนุชา โมกขะเวส:ระบบเตือนภัยของประเทศไทยนี้ ให้นํ้าหนักความสําคัญหลังจากเกิดกรณีคลื่นยักษ์สึนาิมิทางภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หลังจากนั้นเราก็ได้มีการพัฒนาระบบเตือนภัยทั้งในระบบที่เป็นโครงสร้างทางเครื่องไม้เครื่อมือต่างๆ และก็รวมทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล

ผู้สื่อข่าว: ระดับเทคโนโลยีระบบเตือนภัยพิบัติของประเทศไทยเป็นอย่างไร

อนุชา โมกขะเวส:ในภาพใหญ่ ที่เป็นระบบที่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ผ่านทางระบบการเตือนภัยที่ศูนย์เตือนภัยพิบัตแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็มีส่วนสนับสนุนกับศูนย์กล่าว ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นอีกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลภาพรวมของการเตือนภัยในลักษณะที่เป็นโครงสร้างใหญ่ ซึ่งจะมีการเชื่อมสัญญาณระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่ส่วนกลาง และในพื้นที่ 6 จังหวัดนั้นโดยผ่านระบบดาวเทียม ในส่วนของโครงการอื่นๆ ก็เป็นระดับพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจํา ไม่ใช่ภัยพิบัตใหญ่อย่างเช่นสึนามิ

ผู้สื่อข่าว:ภัยพิบัติในประเทศไทยที่เกิดขึ้นมาแล้วมีอะไรบ้าง

อนุชา โมกขะเวส:ที่บ้านเราประสบมาก และมีผลกระทบโดยตรงก็เป็นเรื่องของนํ้าท่วม และก็นํ้าป่าไหลหลาก มีพื้นที่เสี่ยงภัยอยู่ทั่วทุกภาค ภูมิภาคที่เป็นภูเขา และประชาชนที่อยู่ริมต้นนํ้า ซึ่งมีการวางระบบเตือนภัย นอกจากระบบการป้องกัน ซึ่งได้รับการอบรมที่เราเรียกว่า "มิสเตอร์เตือนภัย" เป็นเรื่องคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ทางกรมฯ อบรมอาสาสมัครประจําพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยให้มีคนรับผิดชอบคอยเฝ้าติดตามสถานการณ์ โดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกต่อเนื่องหลายวัน "มิตเตอร์เตือนภัย"จะทําหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ รวมทั้งเราได้มอบเครื่องไม้เครื่องมือพื้นฐานให้กับ"มิสเตอร์เตือนภัย" ถ้าวัดนํ้าปริมาณได้ว่าเกินขีดความปลอดภัยแล้ว ก็ต้องแจ้งเตือนประชาชนให้อพยพ เป็นต้น และเราได้มีการอบรมที่เรียกว่าCBDIM เอาผู้นําชุมชนมาให้ความรู้ในเรื่องของการวางแผนที่เป็นของชาวบ้านร่วมกันทําเองว่า เขาเห็นว่าอะไรเป็นเรื่องที่เสี่ยงของชุมชนเขา เมื่อกําหนดได้ชัดเจนแล้ว เขาก็มาร่วมวางแผนว่าจะป้องกันอย่างไร ถ้าป้องกันแล้วยังป้องกันไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์มาแล้ว ใครจะรับผิดชอบอพยพพี่น้องประชาชน เป้าหมายการอพยพอยู่ที่ไหน อย่างไร ก็จะมีการวางแผนกัน ถึงขั้นที่ได้มีการฝึกซ้อมก็ยิ่งดี มีการฝึกซ้อมหนีภัยซึ่งหลายพื้นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงก็ได้ทําการฝึกซ้อมไว้แล้ว ช่วยได้มาก เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง ทุกคนก็รู้หน้าที่ว่าใครจะรับผิดชอบดูแลคนแก่ คนพิการ คนป่วยของชุมชนตรงจุดไหน เคลื่อนย้ายไปเส้นทางไหน เป้าหมายอยู่ตรงไหน มีใครรับผิดชอบในเรื่องอาหาร การเตรียมรักษาพยาบาล เรื่องการหาที่หลับที่นอนต่างๆ ก็จะมีการฝึกซ้อมล่วงหน้า อันนี้เป็นเรื่องที่เราพยายามทําให้ผู้เสี่ยงภัยทั้งหมด