China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-07-17 14:04:20    
เหลียวหลัง-แลหน้า ความสัมพันธ์ ๓๔ ปีไทย-จีน (1)

cri

เมื่อวันที่?๑ กรกฎาคมที่ผ่านมา นายกร ทัพพะรังสี นายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีนได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ความสัมพันธ์ฺ ๓๔ ปีไืทย-จีน" ในงานสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ "เหลียวหลัง-แลหน้า ความสัมพันธ์ ๓๔ ปีไทย-จีน" ที่จัดขึ้นที่สถาบันวิชาการป้่องกันประเทศ ณ กรุงเทพฯ โดยได้เล่าถึงประสบการณ์และทัศนะที่น่าสนใจยิ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีนทั้งในอดีต?ปัจจุับันและในอนาคต ต่อไปขอเชิญท่านฟังคำปาฐกถาพิเศษของนายกร ทัพพะรังสีครับ

กร ทัพพะรังสี:ขอกล่าวสวัสดีท่านผู้มีเกียรติอีกครั้งหนึ่งนะครับ จากสิ่งที่พวกเราเห็นที่แขวงกันอยู่บนป้ายด้านหลังก็คงจะเห็นว่า"เหลียวหลัง-แลหน้า ๓๔ ปีไทย-จีน" ผมค่อนข้างจะโชคดีว่า เป็นผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่ 2517 ตอนนั้นผมเป็นเลขาของฯพณฯ ชาติชาย ชุณหะวัณอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ และได้อยู่ในเหตุการณ์ช่วงระยะรอยต่อตรงนั้น ที่รัฐบาลท่านคึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเข้ามาสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ต้นปี 2518 โดยมีท่านชาติชายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น ที่จะทําการสร้างสัมพันธภาพทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เหตุการณ์นั้นมาจนถึงวันนี้ 34 ปีแล้วครับ จากการที่บังเอิญผมก็เป็นเด็กๆ คนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในทีมงานของฯพณฯ ชาติชายในครั้งนั้น และการเวลาผ่านไป ท่านชาติชายก็ได้เป็นนายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีนด้วย ก็อยากจะนําสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีใครทราบกันมากนัก มาพูดให้พวกเราฟังว่าจนถึงทุกวันนี้เป็นอย่างไร และจากนี้ไปมีอะไรที่คนไทยควรติดตาม ก็คงจะเป็นสองส่วน ส่วนแรกก็คือจุดเริ่มต้น ผมยังจํากันได้ดีว่า ในจุดเริ่มต้นตรงนั้น ความที่ผมทํางานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ เดือนเมษายน 2518 เหตุการณ์ในประเทศอินโดจีนเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นลาว เวียดนาม และกัมพูชา ท่านชาติชาย ชุณหะวัณบังเอิญไปสหรัฐฯเวลานั้นมีฯพณฯ อนันท์ ปันยารชุน เป็นทูตไทยที่ประจําที่สหประชาชาติกรุงนิวยอรค์ ตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทําให้เกิดการติดต่อไปยังกรุงปักกิ่ง เพราะเรายังไม่ได้มีสถานทูตจีนในประเทศไทย แต่มีตัวแทนของรัฐบาลจีนอยู่ที่สหประชาชาติ ฯพณฯ ชาติชาย ชุญหะวัณมีโอกาสได้ไปพบท่านโจวเอนไหลที่กรุงปักกิ่งโดยผ่านการติดต่อของฯพณฯ ทูตอนันท์ ปันยารชุนที่นิวยอร์คในขณะนั้น ซึ่งระยะนั้นผมอยู่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นสิ่งที่อยากจะให้พวกเราได้ทราบว่า ครั้งแรกที่ฯพณฯ โจวเอนไหลพบกับฯพณฯ ชาติชาย ชุญหะวัณที่กรุงปักกิ่ง ท่านชาติชายไปเยี่ยมท่านโจวเอนไหลที่โรงพยาบาล และสิ่งที่เป็นความประทับใจไม่รู้ลืมเลยก็คือว่า ทันทีที่ท่านชาติชายเดินเข้าในในห้องรับแขก ท่านโจวเอนไหลยืนต้อนรับอยู่นั้น ท่านกล่าวว่า "ขอต้อนรับชาติชาย ลูกชายของเพื่อนเก่า" ประโยคนี้มีความหมาย ซึ่งแม้แต่ท่านชาติชายเองก็ไม่ทราบว่าท่านโจวเอนไหลหมายถึงอะไร เมื่อได้มีการสนทนากันแล้ว ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ท่านโจวเอนไหลเล่าให้ฟังว่า ได้เคยมีติดต่อกับฯพณฯ จอมพลผิน ชุญหะวัณก่อนหน้าแล้ว ตั้งแต่สมัย 2485 ต่อมาได้พบกับท่านชาติชาย ชุญหะวัณในความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย ก็ยินดีมากที่ได้ต้อนรับลูกชายของเพื่อนเก่า เมื่อเสร็จสงครามโลกแล้ว ก็แสดงว่าท่านผิน ชุญหะวัณในระยะนั้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ก็ยังมีการติดต่ออยู่กับฯพณฯ โจวเอนไหลอย่างต่อเนื่องมาเช่นเดียวกัน สิ่งที่ฯพณฯชาติชาย ประทับใจมากที่สุด คือหนแรกที่ไปพบท่านเหมา เจ๋อตง ท่านเหมา เจ๋อตงบอกว่า "ชาติชาย อย่าไปกังวลนัก ที่ประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันออกฝั่งประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น เพราะประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ประชาชนรักและเคารพมาก" นี่เป็นความคิดเห็นของฯพณฯเหมา เจ๋อตง ที่พูดให้ท่านชาติชาย ชุณหะวัณได้ฟัง และท่านเหมา เจ๋อตงยังได้ฝากท่านชาติชายว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม รัฐบาลไทยจะต้องดูแลเกษตรกรให้ดี อย่าให้เกษตรกรต้องเดือดร้อน เพราะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ทําให้เกษตรกรเดือดร้อนแล้วจะเป็นปัญหามากที่สุดสําหรับประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ยังเก็บไว้ในความทรงจําของท่านชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งผมเป็นเลขานุการในระยะนั้น ยังมาพูดเล่าขํากันอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งท่านถึงแก่อสัญกรรมไป จุดเริ่มต้นตรงนั้นเมื่อ 34 ปีมาแล้ว อยากจะขอเรียนท่านว่า เมื่อกี้ท่านทูตวัฒนธรรมประเทศจีนก็บอกแล้วว่า จีนเองก็พัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศของตนมา 31 ปีแล้วด้วย สิ่งนี้ทําให้ผมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในจุดเริ่มต้นมาจนกระทั่ง 34 ปีที่ผ่านมา และมาได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่เป็นนายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีนสืบต่อจากฯพณฯชาติชายนั้น มีการสังเกตุวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของประเทศจีนมาอย่างใกล้ชิด เพราะว่านายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีนจะมีโอกาสได้ต้อนรับคณะที่มาจากประเทศจีนเกือบทุกคณะ เพราะจุดเริ่มต้นของสมาคมมิตรภาพไทย-จีนนั้น ผมอยากจะขอเรียนให้ทราบสั้นๆ ว่า หลังจากมีการเปิดสัมพันธภาพทางการทูตระหว่างรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลจีนเรียบร้อยแล้ว ฯพณฯโจวเอนไหลเป็นผู้ซึ่งได้กล่าวขึ้นว่า "ชาติชาย ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะเปิดช่องทางอีกช่องทางหนึ่งสําหรับประชาชนต่อประชาชน ไม่เพียงแค่รัฐบาลต่อรัฐบาล ข้าพเจ้ามีความปรารถนาอยากจะให้ประชาชนต่อประชาชน มีช่องทางที่จะสื่อสารคมนาคมติดต่อกันอีกช่องทางหนึ่ง ข้าพเจ้าจะจัดตั้งสมาคมมิตรภาพจีน-ไทยขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ขอให้ท่านชาติชายจัดตั้งสมาคมมิตรภาพไทย-จีนขึ้นที่กรุงเทพฯ" และตรงนั้นภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า people to people จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้ประชาชนของทั้งสองประเทศทุกแขนงสาขาอาชีพและไม่ใช่รัฐบาลสามารถติดต่อกันได้ ท่านผู้มีเกียรติครับ ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายที่ได้เกิดขึ้นคู่ขนานประกอบการสร้างสัมพันธภาพทางการทูตเมื่อ 34 ปีที่แล้ว สมาคมมิตรภาพไทย-จีนกับสมาคมมิตรภาพจีน-ไทยซึ่งสํานักงานอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ได้มีการสื่อสารติดต่อเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีและการไปการมาสู่ตลอดเวลา 34 ปีไม่เคยขาดตอนเลย และตรงนี้ก็เป็นแนวทางจุดเริ่มต้นที่แนบเนียนมากของท่านโจวเอนไหลตั้งแต่เปิดสัมพันธภาพมาเมื่อ 2518 เพราะสมาคมมิตรภาพไทย-จีนกับสมาคมมิตรภาพจีน-ไทยได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ที่จะกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชนกับประชาชน องค์กรต่างๆ มากมายที่ไม่ใช่รัฐบาลมาโดยตลอด อย่างเช่นในการครบรอบ 30 ปีของการสร้างสัมพันธภาพทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนที่กรุงปักกิ่ง เจ้าภาพที่จะเฉลิมฉลอง 30 ปีมิตรภาพไทย-จีนที่กรุงปักกิ่ง ไม่ใช่รัฐบาลจีน ไม่ใช่กระทรวงต่างประเทศจีน ไม่ใช่สํานักนายกรัฐมนตรีจีน แต่เจ้าภาพที่จัดที่กรุงปักกิ่งครั้งนั้น จัดร่วมกันโดยสมาคมมิตรภาพจีน-ไทยที่กรุงปักกิ่ง และสมาคมมิตรภาพไทย-จีนที่ผมเป็นตัวแทน เป็นเจ้าภาพร่วมกันที่กรุงปักกิ่ง และก็มาเป็นเจ้าภาพร่วมกันที่กรุงเทพฯ อีกด้วย เหตุการณ์นี้ 30 ปีนั้นก็ผ่านมาแล้ว 4 ปี เราเชื่อว่า 35 ปีก็จะมีการเฉลิมฉลองเคียงคู่กันอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ภาครัฐบาล ตรงนี้นะครับ เป็นแนวทางหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นก็ขอเรียนยํ้าว่า เป็นข้อที่ทางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนโดยท่านโจวเอนไหลซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนั้น วางนโยบายตรงนี้ไว้ได้อย่างยืดหยุ่นมากๆ เพราะหลายครั้ง แม้แต่ครั้งที่จีนกับไทยเฉลิมฉลอง 30 ปีที่ศาลาประชาชนเทียนอันเหมิน มีหลายประเทศไปถามจีนว่า ทําไมจีนฉลอง 30 ปีกับไทยยิ่งใหญ่เหลือเกิน ทําไมไม่ทํากับประเทศอื่นบ้าง รัฐบาลจีนก็ตอบว่า รัฐบาลจีนไม่ได้จัด สมาคมมิตรภาพจีนไทยกับสมาคมมิตรภาพไทย-จีนเขาจัด เป็นต้น ตรงนี้ก็อยากจะขอเรียนว่า หลายครั้งที่นั่งอยู่ข้างหลังท่านชาติชายบันทึกการสนทนาระหว่างท่านกับผู้นําของประเทศจีนนั้น ยังจําได้ที่ประทับใจมาถึงทุกวันนี้ก็คือ ครั้งหนึ่ง ฯพณฯ ชาติชาย ชุณหะวัณได้รับมอบหมายให้ไปติดต่อขอซื้อนํ้ามันจากฯพณฯโจวเอนไหลประเทศจีน มีวิกฤตถ่ายเทนํ้ามันในประเทศไทย 30 กว่าปีมาแล้ว และท่านชาติชายก็เป็นผู้ซึ่งได้ใช้ศัพท์ และคํานี้ก็เป็นสิ่งที่สื่อมวลชนใช้จนกระทั่งในทุกวันนี้ ก็คือ ท่านขอซื้อนํ้ามันจากรัฐบาลจีนในราคามิตรภาพ คําว่า "ราคามิตรภาพ" อุบัติขึ้น 30 กว่าปีมาแล้ว จากการที่ท่านชาติชายได้ทําหน้าที่เพื่อไปขอซื้อนํ้ามันจากประเทศจีนในครั้งนี้ และฯพณฯ โจวเอนไหลก็เป็นนักการทูตที่เหนือชั้น เมื่อได้ยินได้ฟังว่าฯพณฯชาติชาย ชุณหะวัณขอซื้อนํ้ามันในราคามิตรภาพ ท่านโจวเอนไหลก็บอกว่า รัฐบาลจีนยินดีที่จะขายนํ้ามันให้ประเทศไทยในปริมาณที่รัฐบาลไทยต้องการ แต่เนื่องจากคําว่าราคามิตรภาพนั้นข้าพเจ้าไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไร แต่ข้าพเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะช่วยประเทศไทยแน่นนอน ฉะนั้นในสัญญาซื้อขายนํ้ามันก็ให้รัฐบาลไทยบอกเองว่าอยากจะซื้อราคาเท่าไหร่ ตรงนี้เป็นความทรงจําที่ยังจําได้ว่า ฯพณฯนายกโจวเอนไหลนั้นหลายครั้งหลายโอกาสที่แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศก็ดี นโยบาย และความที่เป็นผู้ใหญ่ของเอเชีย ผู้ใหญ่ของโลกก็ดีให้พวกเราได้เห็น สมกับที่ฯพณฯชาติชาย ชุณหะวัณได้เคยสอนผมไว้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปปักกิ่งด้วยกัน ก็คือว่า "ถ้าผมเติบโตขึ้น ขอให้มองประเทศจีนคือพี่ชายคนโต" และเป็นเช่นนั้นตลอด