China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-08-06 18:54:40    
ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของจีนและอาเซียนหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษา

cri

สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า งาน "สัปดาห์แลกเปลี่ยนด้านการศึกษาจีน-อาเซียน"ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจวของจีนในวันที่ 6 สิงหาคม ผู้บริหารประมาณ 300 คนจากสถาบันอุดมศึกษาของจีนและอาเซียน สำนักเลขาธิการอาเซียน เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) และองค์กรอื่นๆได้ชุมนุมกันเพื่อปฏิบัติตาม "แถลงการณ์กุ้ยหยาง" ที่ลงนามในฟอรัมอธิการบดีจีน-อาเซียนครั้งแรก และจะอภิปรายในระดับลึกเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาจีน-อาเซียนที่มุ่งสู่ผลที่แท้จริง

เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2008 ในงาน "สัปดาห์แลกเปลี่ยนด้านการศึกษาจีน-อาเซียน"ครั้งแรก อธิกาบดีมหาวิทยาลัยของจีนและอาเซียนได้ออก "แถลงการณ์กุ้ยหยาง" ต่อจากนั้นหนึ่งปี กิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนได้พัฒนาอย่างมาก ในครึ่งแรกของปี 2009 นี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว เป็นต้น ทยอยกันเยือนจีน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการเพิ่มความร่วมมือด้านการศึกษา การสร้างกลไกแลกเปลี่ยนนักศึกษา และการรับรองวุฒิการศึกษาซึ่งกันและกัน ได้บรรลุความเห็นพ้องต้องกันมากมาย ดร.เห่าผิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีนกล่าวในพิธีเปิดงานว่า "ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา จีนกับประเทศต่างๆของอาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับรัฐบาลหลายฉบับ รวมทั้งข้อตกลงว่าด้วยการรับรองคุณวุฒิการศึกษาซึ่งกันและกัน เช่นได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาจีน-กัมพูชาเมื่อเดือนธันวาคมปี 2008 ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษาจีน-สิงคโปร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการรับรองวุฒิการศึกษาจีน-เวียดนามเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาจีน-ไทยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืนระหว่างสองฝ่าย"

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การเพิ่มกาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผลักดันความร่วมมือและได้รับชัยชนะร่วมกัน ได้กลายเป็นกระแสหลักของโลกปัจจุบัน ดังนั้น การเพิ่มการแลกเปลี่ยนของมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ การดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาส่วนภูมิภาค และการอบรมนักศึกษาที่มีวิสัยทัศน์สากล นับเป็นมาตรการสำคัญที่ผลักดันให้การอุดมศึกษาของประเทศต่างๆสอดคล้องกับโลกาภิวัตน์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักศึกษาในทุกประเทศเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน สนใจเลือกเรียนวิชาที่คล้ายกัน และเผชิญกับการท้าทายร่วมกัน ในฐานะที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค จีนมีศักยภาพค่อนข้างเข้มแข็งในด้านการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและการพัฒนาเศรษฐกิจ นี่คือสาเหตุสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศอาเซียนมากมายปรารถนาที่จะแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษาของจีน ผศ.ดร.มรว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวในงานว่า "เพราะว่าประเทศจีนเก่งมาก ความสำคัญไม่ได้อยู่เฉพาะในเรื่องภาษา แต่ความสำคัญของความรู้ของประเทศจีนอยู่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก ในวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ก็เก่งมาก เพราะฉะนั้นในตรงนี้ ท่านก็ได้รับสั่งว่า น่าที่จะพยายามสร้างความสัมพันธ์ในศาสตร์ต่างๆที่เป็นประโยชน์ ในตอนนั้นก็มีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจจะทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง"

การดำเนินการแลกเปลี่ยนของมหาวิทยาลัยระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน มีส่วนช่วยต่อการเพิ่มความเข้าใจ กระชับมิตรภาพของเยาวชนจีนและอาเซียน ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อสันติภาพและการพัฒนาภายในภูมิภาค ดร.เห่าผิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีนระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการจีนจะเพิ่มโควต้้าทุนการศึกษาของรัฐบาลและกระจายไปยังนักศึกษาประเทศอาเซียนให้มากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2009 – 2010 วางแผนให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาจากประเทศอาเซียนประมาณ 1200 คน เขากล่าวว่า "หวังว่า สองฝ่ายจะใช้ความพยายามร่วมกัน ทำให้นักศึกษาอาเซียนที่มาศึกษาต่อที่จีน และให้นักศึกษาจีนที่ไปศึกษาต่อที่ประเทศอาเซียนต่างเพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนคนภายในปี 2010

นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า กระทรวงศึกษาธิการจีนจะสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของจีนและอาเซียน ให้ร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับสากล เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในอาเซียน ดำเนินนโยบายส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา ใช้มาตรการที่มุ่งสู่ผลที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีนกับอาเซียน Min/Lu