China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-08-18 16:27:53    
นิทานเด็กรัสเซียบนเวทีงิ้วปักกิ่ง
รายการมุมมองทางวัฒนธรรม

cri

นิทานเด็กเรื่อง "ชาวประมงกับปลาทอง" (The Fisherman and the Golden Fish) นับเป็นนิทานที่รู้จักกันทุกบ้านทุกเมืองทั่วโลก นิทานดังกล่าวเป็นผลงานของ อเล็กซานเดอร์ พูสกิน (Alexander Pushkin, ค.ศ.1799-1837) นักวรรณคดีที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย ซึ่งแต่งขึ้นในปี 1833 เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่กรุงปักกิ่ง นิทานเด็กรัสเซียเรื่องนี้ได้ถูกแปลงมาแสดงในรูปแบบงิ้วปักกิ่ง อันเป็นผลของความร่วมมือระหว่างคณะงิ้วปักกิ่งแห่งชาติจีนกับสถาบันงิ้วศึกษา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเป็นหนึ่งในความพยายามของจีนในการเผยแพร่งิ้วปักกิ่งสู่เด็กและเยาวชน

ที่ท่านกำลังฟังอยู่นี้เป็นการขับร้องของเทพีปลาทองในงิ้วปักกิ่งเรื่อง "ปลาทองกับชาวประมง" ผู้รับบทเทพีปลาทองคือ สีว์ อิ๋ง ศิลปินงิ้วปักกิ่งดีเด่นจากคณะงิ้วปักกิ่งแห่งชาติจีน ผู้ซึ่งเคยคว้ารางวัลมาหลายรางวัล

งิ้วปักกิ่งเรื่อง "ปลาทองกับชาวประมง" มีเค้าโครงเหมือนกับต้นฉบับของพูสกิน คือ ขณะที่ชาวประมงไปจับปลาในทะเลได้พบเทพีปลาทองที่มีเมตตาจิต เทพีปลาทองใช้ฤทธิ์เดชตอบสนองความโลภของภรรยาชาวประมงหลายต่อหลายครั้ง ให้ทั้งบ้านใหม่หลังใหญ่ เงินทอง เพชรพลอย และคนใช้ จนกระทั่งเมื่อภรรยาชาวประมงขอว่าอยากจะเป็นพระสนม ปลาทองจึงถอนสิ่งของต่างๆ กลับไป แต่สิ่งที่แตกต่างจากต้นฉบับคือ งิ้วปักกิ่งเรื่องนี้สร้างตัวละครใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น กุ้งแซ่บ (กุ้งหอมเผ็ด) กบตะกละ และกุ้งมังกรเผ็ดซ่า (Ma La หมาล่า) ซึ่งเป็นตัวละครที่คอยช่วยปลาทองหนีออกจากอุ้งมือปีศาจของภรรยาชาวประมง

ส่วนการจัดฉากนั้นก็น่ารักมาก เต็มไปด้วยกลิ่นไอแห่งทะเล โดยมีการแขวนก้างปลาชิ้นใหญ่ไว้ตรงข้างบนเวที การแสดงเรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างไม่ขาดระยะ ด.ญ. สี่ว์ เสี่ยวชิง วัย 12 ปีกล่าวว่า

"ตอนนี้เป็นช่วงปิดเทอมฤดูร้อน แม่พาหนูมาชม หนูชอบเทพีปลาทองมากที่สุด เธอร้องได้ไพเราะมาก ลีลาการร่ายรำตอนต่อสู้กันก็เยี่ยมมาก วันหลังมีงิ้วปักกิ่งสำหรับเด็กแบบนี้ หนูก็จะมาดูอีก"

งิ้วปักกิ่งเรื่อง "ปลาทองกับชาวประมง" นับเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการงิ้วปักกิ่งสู่รั้วโรงเรียน" เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับงิ้วปักกิ่งและศิลปะประจำชาติมากยิ่งขึ้น นายเฝิง หงฉี ผู้กำกับงิ้วปักกิ่งเรื่องนี้กล่าวว่า การนำนิทานเด็กของพูสกินมาดัดแปลงเป็นงิ้วปักกิ่งมีความสำคัญมาก

"นักเรียนประถมและมัธยมของเราต่างคุ้นเคยกับนิทานเด็กเรื่องนี้ ตอนนี้นำมาแสดงในรูปแบบศิลปะงิ้วปักกิ่ง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประจำชาติของเรา ทั้งการขับร้อง ดนตรี ลีลาการต่อสู้แนวบู๊ ก็ทำออกมาได้ตื่นเต้น ตัวละครต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมีชีวิตชีวา น่าชมและน่าติดตามมาก เด็กๆ สามารถรับได้ง่าย สนุนสนานและมีอารมณ์ร่วมไประหว่างการชมได้ และรู้สึกว่าศิลปะประจำชาติของเรามีมนต์เสน่ห์อย่างยิ่ง"

1 2