China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-09-22 15:55:59    
รองผอ. IMF ระบุ ถึงเวลาต้องปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

cri

การประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นที่เมืองพิตต์สเบิร์กสหรัฐฯ ในวันที่ 24-25 กันยายนนี้ ปัญหาการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศเคยเป็นประเด็นสำคัญที่หารือกันในที่ประชุมสุดยอดของกลุ่มจี 20 ที่กรุงวอชิงตันและกรุงลอนดอน เชื่อว่า ในที่ประชุม ณ เมืองพิตต์สเบิร์กครั้งนี้ ประเด็นนี้ยังคงฮอตฮิตเหมือนการประชุมสุดยอดเมื่อ 2 ครั้งที่ผ่านมา ก่อนเปิดการประชุมครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้เดินทางไปสำนักงานใหญ่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อสัมภาษณ์นายจอห์น ลิปสกี้ รองผู้อำนวยการ IMF

IMFก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1945 เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1947 โดยมีหน้าที่สำคัญคือ ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และสภาพการค้าของประเทศต่างๆ เสนอความช่วยเหลือทั้งเทคโนโลยีและเงินทุน จัดระบบการเงินโลก กำกับกติกาทางเศรษฐกิจของโลก เพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีเสถียรภาพ พร้อมกับสถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ ช่วงกว่า 10 ปีมานี้ มีเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูป IMF โดยเฉพาะหลังจากเกิดวิกฤติการเงินโลกแล้ว ยิ่งมีความจำเป็นต้องปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ต่อการนี้ นายจอห์น ลิปสกี้กล่าวว่า ปัจจุบัน IMFได้มีการปรับปรุงบ้างแล้ว

"เราได้มีการปรับปรุงสำคัญทั้งในวิธีการและเงินทุน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกของเราอย่างดียิ่ง เมื่อปีที่แล้ว ได้ทำการปฏิรูปสำคัญในหลายๆด้าน เพื่อรับมือกับวิกฤติการเงินโลก"

นายจอห์น ลิปสกี้กล่าวว่า หลังเกิดวิกฤติการเงินโลกแล้ว IMFได้ใช้วิธีการต่างๆ เช่น ปล่อยกู้ฉุกเฉิน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก นายลิปสกี้เห็นว่า ตั้งแต่การประชุมสุดยอดจี 20กรุงลอนดอนเป็นต้นมา สถานการณ์เศรษฐกิจโลกได้ปรากฏวี่แววที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงของ IMFท่ามกลางวิกฤติได้รับประสิทธิผลที่ดี

" ขณะคุยกับนักลงทุนก็รู้ว่า ตลาดการเงินมีการปรับปรุงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ตลาดการเงินได้เปลี่ยนทัศนะต่อความเสี่ยงในปัจจุบันแล้ว นักลงทุนบอกเราว่า หลังการประชุมสุดยอดกรุงลอนดอนแล้ว เงินทุนไหลไปสู่ตลาดที่เกิดใหม่ ก็เนื่องด้วยความช่วยเหลือของ IMFและสถาบันการเงินข้ามชาติอื่นๆ ทำให้อนาคตเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไปในทางที่ดี ผมคิดว่า ก็เนื่องจากมีการปฏิรูปและปรับปรุงวิธีการและการเพิ่มเงินทุนจึงทำให้เกิดประสิทธิผลดังกล่าว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า การดำเนินความร่วมมือข้ามชาติสามารถรับมือกับปัญหาทั่วโลกได้"

แต่นายลิปสกี้ก็ชี้ว่า ถึงแม้IMFมุ่งเน้นการปฏิรูปมาโดยตลอด แต่พิจารณาจากสภาพในปัจจุบันแล้วเห็นได้ว่า การปฏิรูปต้องเกี่ยวเนื่องกับการงานในทุกด้าน ไม่ใช่เรื่องที่ทำอย่างง่ายๆ นายลิปสกี้กล่าวว่า

"ปัจจุบัน การปฏิรูปดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ก็เผชิญกับการท้าทายอันล่อแหลม เพราะเศรษฐกิจโลกยังไม่ได้หลุดพ้นจากความยากลำบาก ยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในหลายๆด้าน อย่างเช่น ต้องเพิ่มการปรับปรุงและตรวจสอบตลาดการเงินโลก ซึ่ง IMF มีบทบาทสำคัญมาก นอกจากนี้ การปฏิรูปด้านการบริหารก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เพียงแต่ต้องการเวลา แต่ยังต้องให้ทุกฝ่ายบรรลุข้อตกลงและอ่อนข้อให้กัน"

ในการปฏิรูปIMF ปัญหาความเป็นตัวแทนของประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ได้รับความสนใจจากประชาคมโลก

นายลิปสกี้กล่าวว่า  "หลักการทั่วไปในการปฏิรูปคือ สิทธิ์การออกเสียงต้องสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศต่างๆมีสัดส่วนเท่าไหร่ในเศรษฐกิจโลก ดังนั้น การปฏิรูปสิทธิ์การออกเสียงจึงเป็นประเด็นในการการอภิปราย แผนการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ผ่านมติเมื่อปีที่แล้ว แต่ในแผนการดังกล่าว สัดส่วนของบางประเทศต่ำเกินควร จีนก็เป็นตัวแทนของประเทศเหล่านี้ ส่วนบางประเทศก็ได้สัดส่วนมากเกิดควร เราจึงได้ข้อตกลงร่วมกันว่า ประเทศที่ได้สัดส่วนมากเกินควรน่าจะให้ส่วนหนึ่งแก่ประเทศที่ได้สัดส่วนน้อยไป กลุ่มเศรษฐกิจอย่างจีน ที่ไม่ได้สัดส่วนของสิทธิ์การออกเสียงมากเพียงพอ และเศรษฐกิจคึกคักจะได้สัดส่วนในสิทธิ์การออกเสียงอย่างไม่ต้องสงสัย"

ปัจจุบัน เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังย่างเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัว ตามการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเติบโตทางบวกในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่แสดงให้เห็นความมั่นใจของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค 16 ประเทศในเขตเงินยูโรกระเตื้องขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเวลา 4 เดือน ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียก็นำหน้าของโลก กล่าวได้ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังหลุดพ้นจากความซบเซา แต่ว่า มีคนส่วนหนึ่งเป็นห่วงว่า หลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว อาจจะมองข้ามความจำเป็นในการปฏิรูปอีก ต่อการนี้ นายลิปสกี้กล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างไร การปฏิรูป IMFจะมุ่งไปสู่หนทางเพื่อกระชับความร่วมมือและร่วมกันรักษาเสถียรภาพทางการเงินของทั่วโลก