China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2009-09-29 17:58:57    
การบรรยายเพลงชาติจีนของศ.หาน
รายการวัฒนธรรมจีน

cri

ศาสตรจารย์หาน ว่านจายเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฝึกหัดครูเสฉวน ท่านเป็นนักแต่งทำนองเพลง และผู้กำกับดนตรีชั้นหนึ่งของประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.หานได้จัดการบรรยายเรื่อง "จิตวิญญาณประชาชาติจีน และเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน" ให้แก่นักศึกษาและครูบาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฝึกหัดครูเสฉวนฟัง รายการวันนี้ ขอเสนอสารคดีเรื่อง การบรรยายเพลงชาติจีนของศ.หานค่ะ

ท่านผู้ฟังคะ เพลงชาติจีนมีชื่อว่า เพลงมาร์ชทหารอาสา ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปี 1935 เวลานั้น ญี่ปุ่นได้ยึดครองเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เนื่องจากวิกฤติกาลครั้งนั้น บริษัทภาพยนตร์แห่งหนึ่งในนครเซี่ยงไฮ้ได้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับปัญญาชนจีนที่เลิกอ่านหนังสือ แล้วหันไปยังสมรภูมิสู้รบกับญี่ปุ่นเพื่อกู้ชาติ นายเนี่ย เอ่อร์และนายเถียน ฮั่นร่วมแต่งทำนองและเนื้อเพลงให้แก่ภาพยนตร์เรื่องนี้และใช้ชื่อเพลงว่า เพลงมาร์ชทหารอาสา พอภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดฉายตามท้องที่ต่าง ๆ แล้ว เพลงมาร์ชทหารอาสาก็ได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมของประชาชนจีน

ต่อมาภายหลัง นายพอล โรบีสันนักร้องผิวดำชาวอเมริกันขับร้องเพลงนี้ให้ชาวโลกได้รู้จัก เมื่อปี 1944 สหรัฐฯ อังกฤษและฝรั่งเศสริเริ่มให้ใช้เพลงมาร์ทหารอาสาเป็นเพลงตัวแทนของจีน และนำไปออกอากาศในรายการวิทยุเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนกันยายนปี 1949 การประชุมครั้งแรกของสภาปรึกษาการเมืองประชาชนจีนกำหนดให้ใช้ เพลงมาร์ช

ทหารอาสาเป็นเพลงชาติชั่วคราว จนถึงปี 1982 การประชุมของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนได้ตกลงให้เพลงมาร์ชทหารอาสาเป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ

ศ.หานบรรยายด้วยภาคภูมิใจว่า เพลงชาติจีนเป็นเพลงที่ยอดเยี่ยม เปรียบเสมือนจิตวิญญาณของประชาชาติจีน มีพลังปลุกเร้า และทำให้ประชาชนสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นจากท่อนโหมโรงของเพลงนี้

ศ.หานแนะนำว่า "เพลงชาติของบางประเทศไม่มีท่อนโหมโรงเช่น เพลงคิมิกาโยของญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 9 และถือเป็นเพลงชาติเก่าแก่ก็ไม่มีท่อนโหมโรง เพลงลามาร์แซแยส (La Marseillaise) ซึ่งเป็นเพลงชาติของฝรั่งเศส ใช้ประโยคสุดท้ายเป็นท่อนโหมโรง ส่วนเพลงชาติของจีนไม่เพียงแต่มีท่อนโหมโรงเท่านั้น หากยังเริ่มต้นด้วย1-3-5 บันไดเสียงสามขั้น ซึ่งปิโทเฟ่นเรียกบันไดเสียงสามขั้นนี้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ เนี่ยเอ่อร์นักแต่งทำนองประยุกต์ใช้บันไดเสียงสามขั้นนี้เพื่อแสดงให้เห็นความเที่ยงธรรม ความมุ่งมั่นและความก้าวหน้าของประชาชาติจีน เพื่อประกาศให้ชาวโลกรับทราบว่า จีนเป็นประชาชาติที่มีชัยชนะ"

ถัดจากท่อนแรก มีกระสวนจังหวะที่แน่วแน่ 2 จังหวะ เพื่อสร้างภาพพจน์แห่งประชาชาติจีนที่มีความมั่นคงเหมือนภูเขาไท่ซาน ประชาชาติจีนซึ่งเต็มเปี่ยมด้วยพลังและความเชื่อมั่นในตัวเอง ท่อนที่ 3 และที่ 4 ของท่อนโหมโรงเลียนเสียงสัญญาณให้บุกประจัญบาน ถือเป็นการปลุกเร้าและให้กำลังใจ ฟังแล้วปลุกเลือดรักชาติและให้มีความเข้มข้นขึ้นมา ท่อนที่ 5 และท่อนที่ 6 ของท่อนโหมโรงก่อให้เกิดภาพที่ประชาชนจีนนับแสนนับล้านคนต่อสู้เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ อธิปไตยของประเทศชาติ

1 2