คุยเรื่อง"เกาเข่า"ของจีน (2)
  2012-07-03 16:11:52  cri

เมื่อข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระบบการสอบเอนทรานซ์ บางคนประณามว่าระบบในปัจจุบันถือคะแนนสอบเป็นสิ่งสำคัญที่สุดกว่าสิ่งอื่นใดในชีวิต เป็นระบบที่ไม่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ แต่บางคนก็เห็นว่า ปัจจุบันยังไม่มีระบบไหนที่มีความยุติธรรมเท่าระบบสอบเอนทรานซ์ได้ เพราะการสอบทำให้นักเรียนไม่ว่าจะเกิดในครอบครัวฐานะดีหรือยากจน ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท ล้วนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันโดยอาศัยความสามารถด้านการเรียนของตน หากไม่มีระบบนี้ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสอาจต้องสูญเสียโอกาสในการได้รับการศึกษาระดับสูงไปอีก

แต่บางคนก็ตั้งคำถามว่า การสอบแบบนี้ ปีนี้มี ปีหน้ามีและมีทุกปี ไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญมากถึงขนาดนี้เลย และก็ยังมีบางคนย้อนถามว่า การสอบที่ดูเหมือนมีความยุติธรรม ยุติธรรมจริงหรือ ดูจากสถิติในหลายปีที่ผ่านมา นักเรียนเข้าสอบเอนทรานซ์ในมณฑลอันฮุย ทุก 7826 คนสอบเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ 1 คน เมื่อเทียบกับนักเรียนปักกิ่งแล้ว อัตราสอบเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่งต่างกัน 41 เท่า และนักเรียนปักกิ่งมีโอกาสสอบเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่งมากกว่นักเรียนมณฑลกว่างตง 37.5 เท่า มากกว่านักเรียนมณฑลกุ้ยโจว 35.4 เท่า และมากกว่านักเรียนมณฑลเหอหนาน 28 เท่า ยิ่งกว่านั้นมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นหนึ่งในภาคตะวันออกของจีน โอกาสที่นักเรียนเซี่ยงไฮ้จะสอบเข้าได้เป็น 53 เท่าของอัตราถัวเฉลี่ยทั่วประเทศ เป็น 274 เท่าของนักเรียนมณฑลซานตงและ 288 เท่าของนักเรียนเขตมองโกเลียใน

เลยมีคนตำหนิว่า มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยของชาวปักกิ่ง มหาวิืยาลัยฟูตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของชาวเซี่ยงไฮ้ ทั้งนี้ล้วนเกิดจากลัทธิกีดกันทางการศึกษาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เข้าสอบภายใต้ระบบเดียวกัน แต่โอกาสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำต่างกันมาก

มาฟังเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง

หนุ่มชาวหูหนานคนหนึ่งเป็นคนงานก่อสร้างทำงานที่นครเซี่ยงไฮ้ ครั้งหนึ่งพบกับวิศวกรผู้ออกแบบอาคารที่เขากำลังสร้างอยู่ คุยไปคุยมาจึงรู้ว่าทั้งสองคนต่างสอบเอนทรานซ์ในปี 1999 ซึ่งสมัยนั้นข้อสอบเหมือนกันทั่วประเทศ หนุ่มหูหนานสอบได้ 523 คะแนน ไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนหนุ่มวิศวกรเข้าสอบที่ปักกิ่งได้ 421 คะแนน สอบเข้ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง หลายปีผ่านไป ชะตาชีวิตของสองคนต่างกันราวฟ้ากับดิน คุณว่าการสอบเอนทรานซ์ยุติธรรมจริงหรือ เด็กๆ ที่ใฝ่ฝันจะเปลี่ยนชะตาชีวิตด้วยการสอบนั้น ได้รับความยุติธรรมจริงหรือ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับคือ มีคนมากมายประสบความสำเร็จด้วยการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในฝันและเปลี่ยนชะตาชีวิตของตนได้ในที่สุด แต่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ มีแต่ผู้ที่เคยผ่านการสอบเอนทรานซ์เท่านั้นที่ทราบว่าต้องทุ่มเทและอดทนเพียงใด ช่วงมัธยมปลายปีที่ 3 ถือเป็นระยะเวลาที่นักเรียนทุ่มเทกับการเตรียมสอบอย่างเต็มที่ และถูกนักเรียนมองว่าเป็นช่วงเวลาที่โหดเกี้ยมทารุณมากที่สุด

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040