วันที่ 6 สิงหาคมนี้ นางหยาง เซี่ยผิง เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียนคนแรกได้ยื่นสารตราตั้งต่อดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตา เธอกล่าวว่า การที่จีนแต่งตั้งคณะทูตประจำอาเซียนนั้นแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญในความสัมพันธ์กับอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณกล่าวว่าหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการประสานงานและความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์อาเซียน-จีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศภาคีและประเทศอื่นๆ จัดส่งคณะทูตไปประจำอาเซียน ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 เท่า โดยในอดีต หลายประเทศแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูตประจำอินโดนีเซียทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตประจำอาเซียนด้วย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ส่งเอกอัครราชทูตมาประจำอาเซียนมากเป็นพิเศษ ปัจจุบัน มีอย่างน้อย 64 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่แต่งตั้งทูตประจำอาเซียน ในปี 2012 จีนได้ส่งคณะทูตประจำอาเซียนแล้ว
ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการอาเซียนแบ่งงานออกเป็น 4 กรม ได้แก่กรมเศรษฐกิจ กรมการเมืองและความมั่นคง กรมชุมชนและบรรษัทกรมกิจการสังคมและวัฒนธรรม มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 237 คน คาดว่าจะมีเจ้าหน้าที่ถึง 300 คน เนื่องจากมีงานมาก สำนักงานเลขาธิการอาเซียนประสงค์จะรับเจ้าหน้าที่เพิ่ม
นักวิเคราะห์อาเซียนบางคนเห็นว่า พร้อมๆ กับการดำเนินยุทธศาสตร์กลับคืนสู่เอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯ และปัญหาทะเลจีนใต้มีความเด่นชัดยิ่งขึ้น ทำให้อาเซียนกลายเป็นจุดสำคัญที่สหรัฐฯกับจีนพยายามมีบทบาท ดังนั้น การแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของอาเซียน การส่งเสริมการประสานงานภายในอาเซียนเป็นผลดีต่อการส่งเสริมความมั่นคงและสันติภาพของภูมิภาค
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณกล่าวว่า การท้าทายของอาเซียนในปัจจุบันคือ การค้าภายในอาเซียเป็นเพียงร้อยละ 25 ของยอดการค้า ซึ่งต้องทำให้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ปัญหาการท้าทายนี้คือส่งเสริมการลงทุนข้ามชาติภายในอาเซียน ให้วิสาหกิจเอกชนขนาดกลางลงทุนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานด้านการคมนาคม เพื่อความสะดวกในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
In/kt