เมื่อบ่ายวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านมติเกี่ยวกับการซื้อเกาะเตี้ยวอวี๋ให้เป็นดินแดนของญี่ปุ่น นับเป็นการเลือกหนทางที่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ทำให้ปัญหาเกาะเตี้ยวอวี๋ทวีความรุนแรงและบานปลาย
ฝ่ายญี่ปุ่นมองข้ามการประท้วงและเสียงคัดค้านจากจีน เมื่อเร็วๆ นี้ นายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีจีนได้กล่าวที่การประชุมเอเปกว่า หากญี่ปุ่นเร่งขั้นตอนการ "ซื้อเกาะ" ก็จะถือว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยเหนือดินแดนของจีนและทำลายความรู้สึกของประชาชนจีน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเผชิญกับการท้าทายครั้งล่อแหลมที่สุดในศตวรรษใหม่
เหตุผลที่รัฐบาลญี่ปุ่นประโคมข่าวการซื้อเกาะนี้ให้เป็นดินแดนของญี่ปุ่นนั้น มีข้ออ้างสำคัญว่า "ต้องการดำเนินการบริหารอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง" โดยแท้จริง รัฐบาลญี่ปุ่นแค่อยากถือโอกาสนี้เพื่อเข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนมองข้ามข้อตกลงร่วมกันของความสัมพันธ์ ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นกลับภาวะปกติเมื่อ 40 ปีก่อนด้วย
และข้ออ้างอีกประการหนึ่งของรัฐบาลญี่ปุ่นคือ รัฐบาลไม่สามารถขัดขวางกรณีเทศบาลโตเกียวพยายามจะซื้อเกาะนี้ได้ เลยเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาช่วยซื้อแทน จึงหวังว่าฝ่ายจีนคงเข้าใจ แต่ข้ออ้างแบบนี้ไม่ใช่การขอความเห็นใจ จีนคิดว่าเป็นข้ออ้างเท่านั้น
ปัญหาเกาะเตี้ยวอวี๋ ไม่เพียงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับดินแดนอนาจักและอธิปไตยของจีน เนื่องจากปลายศตวรรษที่ 19 เกาะเตี้ยวอวี๋ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองช่วงระหว่างครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 และตอนญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ประกาศว่าจะปลดปล่อยดินแดนที่ยึดครองด้วยกำลังทหารทั้งหมด และเกาะเตี้ยวอวี๋ก็เข้าข่ายในการประกาศนั้น เพราะฉะันั้น ปัญหานี้มีผลต่อความรู้สึกของจีนและประเทศเอเชียอื่นๆ ที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองในช่วงดังกล่าวด้วย ญี่ปุ่นจึงควรสำนึกความผิดในการรุกรากและเข้ายึดครองดินแดนของประเทศอื่นหรือไม่ และยอมรับการพ่ายแพ้อย่างปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือไม่ หากปล่อยให้กลุ่มฝ่ายขวาของญี่ปุ่นที่ไร้สำนึกจากสงคราม "บริหาร" ดินแดนเคยผ่านสงคราม ลัทธิจักรวรรดินิยมก็มีโอกาสฟื้นตัวอีกครั้ง ตลอดจนจะเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคและของโลก
Ying/Lei