บทสัมภาษณ์คุณอัญชลี คงกรุต ด้านประเด็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของการประชุมสองสภาของจีน(2)
  2013-03-07 14:38:55  cri

ผู้สื่อข่าว: การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ได้เสนอ "การพัฒนาความเป็นเมืองแบบใหม่" และเมื่อปลายปีที่แล้ว การประชุมทางเศรษฐกิจของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้กำหนด "การเร่งความเร็วในการสร้างสรรค์ความเป็นเมือง" เป็นหนึ่งในภารกิจ 6 ประการทางด้านเศรษฐกิจของปี 2013 ในการประชุมสองสภาปีนี้ "ความเป็นเมือง" ก็ยังเป็นประเด็นร้อน ซึ่งเห็นว่าเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ลดความต่างระหว่างเมืองและชนบท และความต่างทางรายได้ ช่วยให้ประชาชนจีนทั่วประเทศมีรายได้สูงขึ้น แต่พื้นที่ต่างๆ ยังคงเกิดปัญหาและผลกระทบขณะดำเนิน "ความเป็นเมือง" เทศบาลบางพื้นที่วางแผนก่อสร้างสวนสาธารณะ อาคาร สนามบนผืนดินของชาวนา เพื่อหวังได้รับผลงานด้านการบริหารมากขึ้น สร้างความลำบากต่อชีวิตชาวนาและทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัจจัยที่ไม่มั่นคงมากขึ้น ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต่างเรียกร้องให้หยุดการพัฒนา "ความเป็นเมือง" และเสนอว่าควรให้หันมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนจะดีกว่า สำหรับคุณเห็นว่า "ความเป็นเมือง" กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีข้อขัดแย้งกันหรือไม่ และ ควรประสานความสัมพันธ์ระหว่างสองด้านนี้อย่างไรหรือในรูปแบบใด

นส.อัญชลี: โดยจริงๆ แล้ว เนื้อหาความเป็นเมืองและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน่าจะไปด้วยกันได้ แต่ดิฉันมองว่าสำหรับเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรการเกษตรที่อาจจะไม่เป็นธรรม และก็ยังไม่ยั่งยืน เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินของจีนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะว่าในที่สุด จีนก็คล้ายกับประเทศอื่นๆ คือว่า เอาที่ของการเกษตรไปกระจ่ายลงทุนในทางอสังหาริมทัรพย์มากขึ้นเรื่อยๆ ที่สงสัยก็คือว่า มันจะทำให้อาชีพชาวนาหมดไป และก็กลายมาเป็นคนงานมากขึ้นหรือเปล่า จริงๆ แล้วนี่คือสิ่งที่รัฐบาลจีนต้องกรานหรือเปล่า เพราะว่าในอนาคต เราก็ไม่รู้ว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมมันมีขึ้นมีลง แต่จริงๆ แล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น เรื่องนี้น่าสนใจคือว่า นี่ของทางภาคเทศบาลท้องถิ่นกู้ยืมออกมากสร้างโครงการต่างๆ มันสูงมาก

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่การประสานกันระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือว่าความเป็นเมือง แต่เป็นการที่คิดว่า จีนอยากจะให้เป็นอะไร อยากจะให้ไม่มีชาวนา ทุกอย่างเป็นเมือง อุตสาหกรรมหมดหรือเปล่า

ผู้สื่อข่าว: ในรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนระบุว่า ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและชีวิตให้เหมาะสม ส่งเสริมและสร้างสรรค์ระบบนิเวศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนจีนบางคนกล่าวว่า สภาพอากาศหมอกหนาจัดนั้นเป็นการเตือนภัยจากธรรมชาติ จีนต้องทุ่มเทความพยายามมากขึ้นในการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อนำประโยชน์สูงสุดมาสู่ประชาชน ปัจจุบัน เทศบาลบางแห่งได้กำหนดดัชนีทางระบบนิเวศไว้ในมาตรฐานการประเมินผลการบริหารของเจ้าหน้าที่รัฐบาล จำนวนตัวเลขพื้นที่ป่าไม้ อัตราการกำจัดน้ำเสีย อัตราการใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น เพื่อเป็นเงื่อนไขพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งของผู้นำ ท่านเห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้เหมาะสมหรือไม่ และจะช่วยให้พื้นที่ต่างๆ รอดพ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเร็วที่สุดได้หรือไม่ และเห็นว่า จีนควรทำอย่างไรจึงจะเกิดความสมดุลระหว่างสัดส่วนของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อม

นส.อัญชลี: จีนน่าสนใจเสมอในการที่ใช้ข้อมูลต่างๆ ไปคล้ายๆ กับเป็นดัชนีในการวัดว่าผู้บริหารทำงานดีแค่ไหน ฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งคงจะได้แข่งกันว่า ใครทำเพิ่มป่าไม้ เพิ่มปริมาณน้ำสะอาด ถ้าสมมุติว่าเมืองใหนมีเรื่องปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เจ้าเมืองก็จะเกิดปัญหาขึ้นมา แต่ดิฉันคิดว่า อย่างนี้อย่างเดียวไม่พอ สิ่งที่ต้องตามมาคือการเปิดเผยข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม และให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและการดูว่าโครงการอะไรเกิดขึ้น เกิดเพราะอะไร เขามีส่วนในการกำหนดมากน้อยแค่ไหน ต้องไปพร้อมกันทั้งสองอย่าง เจ้าเมืองหรือผู้ปกครองเมืองไม่ได้เป็นคนเดียวที่มีส่วนในเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าสมมุดว่า ต้องมีเจ้าหน้าที่ระดับล่างๆ เขาหาประโยชน์จากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เขาคงไม่สนใจเท่าไร

ตัวของรัฐบาลจีนเองมีการคำนวนมูลค่าสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในมองโกเลียเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจะมีการศึกษาว่า น้ำสะอาดมีค่าเท่าไร ธรรมชาติมีค่าเท่าไร จึงคิดว่า ในอนาคต จีนอาจจะเป็นประเทศต้นๆ ที่สามารถจะคำนวนได้ว่า เราต้องการความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมยังไง ที่สามารถอธิบายได้ในเชิงเศรษฐกิจและการลงทุน อันนี้เป็นเรื่องของการข้อมูลและการศึกษาและความมีส่วนร่วม

ผู้สื่อข่าว: จากความเร็วการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2012 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มการเติบโตชะลอตัวลง โดยมี 8.1% ในไตรมาสแรก ต่อมาลดลงเหลือ 7.6% ในไตรมาสที่สอง และ7.4% ในไตรมาสที่สาม ตามลำดับ นายเวิน เจียเป่าได้ระบุในรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลว่า เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้จะอยู่ที่ 7.5% พร้อมกล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นเป้าหมายที่ต้องการและเหมาะสม คุณมีความคิดเห็นกับตัวเลขดังกล่าวนี้อย่างไร และเห็นว่าการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปทางเศรษฐกิจกับการลงทุนทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อกันหรือไม่

นส.อัญชลี: คำพูดอย่างนี้และท่าทีของรัฐบาลจีนก็แสดงให้เห็นอีกครั้งเลยว่า จีนต้องการที่จะเติบโตอย่างมั่นคง ไม่ได้มุ่งแต่ว่าต้องการเห็น GDP สูงๆ เพื่อเป็นการตอบสนองกันนักลงทุนต่างประเทศหรือว่านักลงทุนแต่อย่างเดียว สำหรับการชะลอทางด้าน GDP ก็บอกว่า นี่แหละเป็นสิ่งที่เราต้องการ มันก็เปิดโอกาสให้ตัวรัฐบาลเองและหน่วยงานมาดูข้างในตัวเองต้องการอะไร ก็กลับไปที่คำตอบคราวที่แล้วว่า ในมองโกเลีย จีนก็มีการศึกษา ซึ่งเรียกว่า GEP ซึ่งเป็นดัชนีของทางภาคนิเวศวิทยาว่ามีค่าทางภาคเศรษฐกิจเท่าไร มันก็ตอบในตัวมันเองอยู่แล้วว่า บางทีการที่ GDP ไม่พุ่งกระฉูดก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีก็ได้ที่เกิดขึ้นก็ได้สำหรับสิ่งแวดล้อมและประชาชน

ผู้สื่อข่าว: ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมมากที่สุดของประชาชนทั่วโลก ไม่เพียงเพราะว่าประเทศไทยมีทิวทัศน์สวยงามและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังมีสาเหตุสำคัญได้แก่ อากาศสดชื่น และมีสภาพแวดล้อมที่ดี จากมุมมองของคุณ ประเทศไทยนั้นมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากน้อยอย่างไรและในแง่ใดบ้าง รวมถึงไทยมีประสบการณ์หรือบทเรียนอะไรบ้างที่น่าสนใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นส.อัญชลี: ประเทศไทยก็เหมือนประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม ดิฉันคิดว่าทุกประเทศก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างๆ กันไป จริงๆแล้วประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองอุตสาหกรรมใกล้ๆ กับแหล่งถ่านหินหรือใกล้ๆ กับโรงงานปิโตรเคมนั้น มีปัญหาเรื่องอากาศเยอะมาก แต่อาจะไม่ดัง เพราะว่าเมื่อเทียบกับจีน เช่นในกรุงปักกิ่งมีการเปิดเผยคุณภาพอากาศ pm2.5 เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2012 มันก็สูงมาก ก็ทำให้คนตื่นตระหนกกัน แต่ว่าก็ทำให้นำไปสู่การแก้ไขที่ดี แต่เมืองไทยเขาบอกว่า ระบบการรายงานมลพิษไม่เป็นที่นิยม และคนไม่รู้ ถึงรู้ก็ไม่เชื่อ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่รู้ว่าปัญหาอยู่ที่ไหน มันก็มีบางเมืองอย่างที่แถวใกล้ๆ เหมืองถ่านหิน ชาวบ้านก็ไม่สบาย บางคนก็ตาย และก็สิ่งที่จะเกิดขึ้นคล้ายๆ กับเมืองจีน ซึ่งเกิดขึ้นนานแล้ว ก็คือภาคประชาชนหรือไม่ก็ชาวบ้านออกมาประท้วงโครงการถ่านหิน โครงการปิโตรเคมก็เกิดขึ้น บทเรียนที่เกิดขึ้นที่จีนสามารถจะมองได้ก็คือ ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเยอะมาก ในท้ายสุด ประชาชนก็ฟ้องรัฐบาลเยอะ หรือไม่ก็ฟ้องหน่วยงานรัฐ หรือไม่ก็บริษัทเอกชนค่อนข้างเยอะมาก พูดง่ายๆ ก็คือ มีการรวมตัวด้านประชาสังคม มีการใช้กฎหมายเพื่อป้องกันของชุมชนเอง ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ควร และหลายประเทศก็ควรเรียนจากประเทศจีนคือ ประเทศจีนก็เป็นสังคมของความรู้ ดิฉันค่อนข้างประทับใจกับนักวิชาการจีน ซึ่งยังค่อนข้างที่จะมาอยู่ออกมาพูดในเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมค่อนข้างเยอะ และพยายามที่จะให้ข้อมูลกับสังคม

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040