เมื่อพูดคุยถึงเรื่อง Li-Fi ท่านผู้ฟังส่วนใหญ่คงรู้สึกแปลกใจและต้องถามว่า Li-Fi คืออะไร มีความหมายอย่างไรบ้าง ใช่ครับจริงๆแล้ว Li-Fi เป็นศัพท์ใหม่ ซึ่งย่อจากศัพท์ Light Fidelity คิดว่า ท่านผู้ฟังที่อาศัยอยู่ในเมืองช่วงนี้ ส่วนใหญ่ล้วนคุ้นเคย Wi-Fi แล้ว เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เข้าอินเตอร์เน็ตได้และต้องใช้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับพวกที่ใช้สมาร์ทโฟน ชอบพูดคุยกับเพื่อนๆ โดยใช้ Line หรือ We chart ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้บ่อยในสมาร์ทโฟน Wi-Fi เป็นอุปกรณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกวันนี้ Wi-Fi เป็นศัพท์ที่ย่อจาก Wireless Fidelity อาศัยคลื่นความถี่วิทยุมาส่งสัญญาอินเตอร์เน็ตส่วนศัพท์ Li-Fi ในตอนนี้ หมายถึง อาศัยคลื่นความถี่จากแสงที่เราใช้ทุกๆวันในปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวว่า กลุ่มนักวิทยาศาตร์จากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) นครเซี่ยงไฮ้ของจีนได้ค้นพบและพัฒนาหลอดไฟ LED ที่สามารถสร้างสัญญาณ Li-Fi นับเป็นเทคนิคล้ำหน้าของโลกและผลิตอุปกรณ์นี้ขึ้น สามารถรับส่งและประมวลผลสัญญาณได้สูงสุดถึง 3.7 Gbps ต่อวินาที สร้างสถิติใหม่ในโลก
ศาสตรจารย์ฉือหนัน จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมข้อมูลมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและรับผิดชอบโครงการนี้กล่าวเปิดเผยว่า ในห้องปฏิบัติการของเขา หลังจากนักวิจัยเชื่อมสายเคเบิลเข้ากับหลอดไฟ LED ขนาด 1 วัตต์แล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใกล้ๆหลอดไฟในห้องปฏับัติการของเขาจะเข้าอินเตอร์เน็ตได้ถึง 4 เครื่อง ช่วงนี้ อัตรารับส่งและประมวลผลสัญญาณได้สูงสุดเป็น 3.7 Gbps ต่อวินาที และตามปกติเฉลียแล้วยังสูงถึง 150 Mbps ซึ่งสูงกว่าความเร็วในการเข้าอินเตอร์เน็ตทั่วๆไปในจีนปัจจุบัน
ศาสตรจารย์ฉือหนันยังเผยว่า ขณะดำเนินการทดลอง พวกเขาได้ใช้หลอดไฟ LED ขนาด 1 วัตต์ ซึ่งสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในรัศมีประมาณ 3 เมตรเข้าอินเทอร์เน็ตได้ ถ้าใช้หลอดไฟ LED ขนาดใหญ่กว่าจะสามารถรับส่งสัญญาณได้เร็วขึ้นและมีกว้างขึ้น ถึงปัจจุบัน เทคนิคของเขาสามารถใช้หลอดไฟ LED ใหญ่สุศรัสมีการเชื่อมโยง 10 วัตต์และครอบคลุมรัศมีการเข้าอินเตอร์เน็ตได้ 15 เมตร
จริงๆแล้ว แสงก็เช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ เป็นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถรับส่งสัญญาณได้ ในวงการวิจัยการสื่อสารโดยใช้แสงที่มองเห็นได้นั้น เรียกเทคนิคนี้ว่า VLC (visible light communications) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อทศวรรษปี 1990 ระหว่างการวิจัย นักวิทยาศาสตร์ได้ติดไมโครชิปไว้ในตัวหลอดไฟ LED เพื่อเป็นจุดรับส่งและประมวลผลสัญญาณ ซึ่งสามารถควบคุมการกระพริบของหลอดไฟ LED
โดยทำให้ LED สามารถกระพริบได้ด้วยความถี่สูงถึงล้านครั้งต่อวินาที ไฟสว่างแล้วหมายถึง 1 และไฟปิดแล้วหมายถึง 0 ซึ่งคล้ายกับสัญญาณไฟที่เปิดปิด เนื่องจากการกระพริบมีอัตราความถี่สูงมาก จนทำให้สายตามนุษย์ไม่รู้สึกถึงการกระพริบเลย จริงๆแล้ว หลอดไฟ LED ที่เราใช้ทุกวันนี้ก็มีการกระพริบเช่นกัน แต่เราไม่รู้สึกเลย แต่อุปกรณ์รับแสงกลับสามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดแจ้ง ด้วยวิธีเดียวกันนี้ ข้อมูลไบนารี(binary)จะถูกแปลเป็นสัญญาแสงและถูกส่งออกไปอย่างมีประสิทธิพล ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้รัศมีการส่อบสว่างของแสงไฟนั้นจะรับสัญญาณดังกล่าวโดยผ่านอุปกรณ์ที่รับสัญญาณเฉพาะ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจรับรหัสนี้ได้