ปัจจุบัน WIFI กลายเป็นเครือข่ายไร้สายสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ของเรา แต่เมื่อมีคนใช้พร้อมๆกันเพิ่มมากขึ้นกลับทำให้เครือข่าย WIFI ยิ่งช้าลงมาก เพราะ WIFI เป็นการส่งสัญญาณโดยมีพื้นฐานจากสัญญาณวิทยุ และสเปกตรัมความถี่ WIFI อยู่ระหว่าง 2-5 GHz เมื่อเทียบกับสเปกตรัมความถี่ของแสงที่มองเห็นได้ระหว่าง 400-800 THz คิดว่าจะแคบเกินไป และยากที่จะเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณให้มากขึ้น นอกจากนั้น ในเขตเมือง สัญญาณ WIFI ยังถูกรบกวนมากขึ้นเนื่องจากปัญหาขีดจำกัดรวมถึงอุปกรณ์อิเล็คทอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้น เหล่านี้ ล้วนส่งผลให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน แถม WIFI ยังมีข้อจำกัดการรับส่งจากสัญญาณวิทยุ ซึ่งหมายความว่ายิ่งความถี่น้อยเท่าไหร่ระยะการส่งก็สั้นมากเท่านั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการส่งสัญญาณให้ไกลขึ้น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่กินไฟมากขึ้น และย่อมจะทำให้เกิดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน และเนื่องจากสัญญาณวิทยุจะทะลุทะลวงกำแพงได้ง่าย อันจะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วย ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาตร์จึงใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อแสวงหาวิธีการใหม่มาแทน
และนักวิทยาศาสตร์พบว่า แสงไฟก็เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสามารถทำงานเหมือนกับ WIFI ที่ใช้คลื่นวิทยุ และพบว่าความถี่จาก LIFI นั้นยังสูงกว่า WIFI ถึง 100,000 เท่าเลยทีเดียว
เมื่อปี 2011 ศาสตรจารย์ ฮารัลด ฮาสส์ของมหาวิทยาลัยเอดินบะระของอังกฤษได้การเปิดเรียนสู่ทั่วโลก แสดงการประดิษฐ์คิดค้นที่วิเศษมาก บนโต๊ะที่ตั้งอยู่ข้างๆเขามีหลอดไฟ LEDอันหนึ่ง และมีอุปกรณ์ขนาดเล็กยาว 30 เซนติเมตรอันหนึ่ง เมื่อเขาเปิดไฟ LED และแสงไฟส่งไปยังอุปกรณ์นี้แล้ว จอภาพที่ตั้งอยู่ข้างหลังเขาจะปรากฎภาพดอกไม้บาน เมื่อเขาใช้มือบังแสงไฟ LED ภาพดอกไม้บนจอก็หายไป การสาธิตดังกล่าวได้รับเสียงปรบมือเป็นอย่างมาก และนิตยสารไทม์ประเมินว่า นี่เป็นการประดิษฐ์คิดค้นสำคัญ 50 อันดับแรกของโลกเมื่อปี 2011
แม้ว่า Li-Fi มีข้อได้เปรียบมากมายก็ตาม แต่ว่าก็มีข้อขีดจำกัดที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เช่น ต้องเปิดไฟตลอด มิเช่นนั้น จะเข้าอินเตอร์เน็ตไม่ได้ นอกจากนี้ ลำแสงจะต้องส่งตรงออกไปเท่านั้นจึงใช้งานได้ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใหญ่เกินไป เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความไม่สะดวกต่อผู้ใช้
ด้วยเหตุนี้ ศาสตรจารย์ เฉิน หนันกล่าวว่า การใช้ Li-Fi เข้าอินเตอร์เน็ตยังอยู่ในช่วงเริ่มแรก ยังแทน WIFI ไม่ได้ และยังมีข้อจำกัดเรื่องระยะไกลไกล้ด้วย ทว่า แม้มีขีดจำกัดในการใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปก็ตาม แต่ยังสามารถพัฒนาเพื่อนำไปใช้บริการสาธารณะ ศาสตรจารย์ เฉินหนัน ได้ยกตัวอย่างว่า ถ้าติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไว้ในไฟเขียวแดง โดยผ่านระบบรับข้อมูลที่อยู่ในรถ คนขับจะรับข้อมูลการจราจรได้ทันที แม้กระทั่งสภาพโดยรอบก็ใช้ได้ เช่น รอบๆมีอะไรเกิดขึ้น เป็นต้น การติดต่อระหว่างรถก็สามารถรับส่งข้อมูลโดยผ่านไฟในรถได้ ที่โรงพยาบาล บนเครื่องบิน เป็นต้น ล้วนสามารถจะใช้เทคนิคนี้ได้