เส้นทางค้าชาบนหลังม้า
  2014-08-26 12:15:26  cri

"ฉาหม่ากู่เต้า" หรือ "เส้นทางโบราณขี้ม้าค้าใบชาในสมัยโบราณแยกเป็น 6 เส้นทาง โดยมีเส้นทางหลักที่สำคัญอยู่สองสาย คือ 1. สายยูนนาน – ทิเบต 2. สายยูนนาน – ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บรูไน อินเดีย พม่าและไทย ฯลฯ ซึ่งเส้นทางสายยูนนาน – ทิเบต มีความยาวที่สุด ยาวกว่า 3600 กิโลเมตร ถือเป็นเส้นทางที่ยาวไกล อันตราย และมีความยากลำบากในการขนส่งชาผู่เอ่อร์มากที่สุด

เส้นทางขนส่งชานี้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เริ่มต้นจากมณฑลยูนนาน ผ่านเมืองต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า จนกระทั่งไปถึงทิเบต ตลอดระยะทาง 3,600 กิโลเมตร เป็นถนนเลี้ยวลดคดเคี้ยวบนเขาสูง อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,000-4,000 เมตร อากาศเลวร้าย และขาดอ๊อกซิเจน บางตอนสองข้างทางเป็นหุบเขา อันตรายมาก เนื่องจากระยะทางยาวไกล การเดินทางต้องใช้เวลานานถึงหลายเดือนหรือครึ่งปี ไม่ต้องพูดถึงเรื่องใบชาจะเสื่อมคุณภาพ เพราะผู้คุมคาราวานม้ายังต้องทรหดอดทนความยากลำบากน่าดูเลย

การขนส่งโดยใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะนั้น เป็นเรื่องที่แสนยากลำบาก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ใบชาเสื่อสภาพ บางทีอากาศชื้น ทำให้ใบชาบูดหรือมีกลิ่นเหม็นหืนได้

พ่อค้าและผู้ผลิตชาผู่เอ่อร์ในยุคนั้น จึงได้คิดหาวิธีที่จะทำให้ใบชาผู่เอ่อร์สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลายาวนาน โดยยังคงคุณสมบัติ คุณภาพ และรสชาติของชาไว้เหมือนเดิม จึงได้นำใบชาผู่เอ่อร์มาผ่านกระบวนการหมัก และอัดเป็นแผ่นหรือเป็นก้อน

วิธีการนี้ นอกจากจะสามารถทำให้ชาไม่เสื่อมคุณภาพกับรสชาติ ไม่เกิดการบูดและไม่มีกลิ่นเหม็นหืนแล้ว ยังทำให้ชาผู่เอ่อร์สามารถเก็บไว้ได้นานเท่าที่ต้องการ อีกทั้งการอัดบรรจุเป็นแผ่นหรือก้อน ก็จะทำให้ใบชาเกิดปฎิกิริยาอย่างต่อเนื่องและเพิ่มความสะดวกในการขนส่งมากยิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้ เนื่องจากใบชาแห้งจะกินเนื้อที่ การบรรจุใบชาผู่เอ่อร์จะไม่บรรจุโดยอัดแน่น หากม้าวิ่งเร็ว ก็จะทำให้ใบชาเสื่อมสภาพเร็ว และม้าแต่ละตัวขนส่งได้ไม่มาก ทั้งนี้ เส้นทางฉาหม่ากู่เต้า ยังทำให้การแปรรูปและการบรรจุหีบห่อชาผู่เอ่อร์มีการพัฒนาโดยมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนชาอื่นๆ

จากประสบการณ์หลายปี ผู้คุมคาราวานม้าสรุปว่า ม้าที่เดินทางบนเขาสูง ปกติสามารถแบกของได้ 30 กิโลกรัม ซึ่งแยกกันใส่ไว้สองข้างบนหลังม้า ข้างละ 15 กิโลกรัม ผู้ผลิตชาผู่เอ่อร์จึงต้องประดิษฐ์คิดวิธีอัดชาเป็นรูปกลมแบน 7 แผ่น บรรจุด้วยกัน เรียกว่า หนึ่งชุด ซึ่งม้าแต่ละตัวแบกได้ข้างละ 6 ชุด สองข้าง 12 ชุด น้ำหนัก 30 กิโลกรัมพอดี ชาผู่เอ่อร์ที่บรรจุเช่นนี้ เรียกว่า Qi zi bing หรือ ชาแผ่นเล็ก 7 แผ่น ทำให้การขนส่งมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันนี้ แม้ว่าคาราวานม้าและเส้นทางฉาหม่ากู่เต้า หรือเส้นทางโบราณที่ใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะในการขนส่งชาผู่เอ่อร์ไม่ได้ใช้กันแล้ว แต่ชาผู่เอ่อร์ที่มีกลิ่นรสหอมหวานและสรรพคุณในการเสริมสุขภาพและความงามกลับโด่งดังมากขึ้น จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่า ทำไมชาผู่เอ่อร์ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน

ชาผู่เอ่อร์มิได้เป็นที่นิยมแต่เฉพาะในมณฑลยูนนาน หรือมณฑลอื่นๆ ในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่กระแสการดื่มชาผู้เอ่อร์ยังโด่งดังไปจนถึงฮ่องกง ไต้หวัน สิงค์โปร์ อเมริกา ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศไทยด้วย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040