เมื่อเร็วๆ นี้ นายลูฮัต พันไจตัน ที่ปรึกษาทางการทหารของประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าวว่า ยุทโธปกรณ์ด้านการป้องกันประเทศของอินโดนีเซียล้าหลังกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย 10 ปี จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนายุทโธปกรณ์ทางการทหารให้ทันสมัย เพื่อป้องกันน่านน้ำทะเลและน่านฟ้า งบประมาณการป้องกันประเทศของอินโดนีเซียจะมีถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 เป็นประมาณ 1.5% ของมวลรวมการผลิตภายในประเทศ
สถิติปี 2011 แสดงว่า อินโดนีเซียมีทหารอากาศ 34,000 คน ทหารเรือ 74,000 คน เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดจำนวน 250 ล้านคนแล้ว เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ ทหารเรืออินโดนีเซียนอกจากเรือดำน้ำที่ซื้อจากรัสเซีย 2 ลำแล้ว อื่นๆ เป็นเรือรบขนาดเล็กจำนวนประมาณ 100 ลำ ทหารอากาศมีเครื่องบินรบทันสมัยรุ่น ซู-30 และซู 27 จำนวนประมาณ 16 ลำ นอกจากนั้น ยังได้ซื้อเครื่องบินขนส่งรุ่น ซี-130 มือสองจากออสเตรเลียไม่กี่ลำ แต่มีเพียง 3 ลำที่ยังใช้งานอยู่ แม้อินโดนีเซียมีความได้เปรียบในจำนวนทหารเมื่อเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซียก็ตาม แต่ความทันสมัยสู้สองประเทศดังกล่าวไม่ได้
นายลูฮัตกล่าวอย่างชัดเจนว่า อินโดนีเซียต้องยกระดับความทันสมัยของทหารเรือและทหารอากาศ เพื่อรับมือกับการท้าทายที่แฝงอยู่ในปัญหาทะเลจีนใต้กับจีน เขายังกล่าวว่า ทหารเรือจะเพิ่มเรือรบมากยิ่งขึ้น เพิ่มงานลาดตระเวนทางทะเล นอกจากนี้ ยังจะซื้อเครื่องบินขนส่งรุ่น ซี-130 อีก 2 ลำ เพื่อเสริมขีดความสามารถด้านการขนส่งและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของทหารเรือ มาตรการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อินโดนีเซียต้องยกขีดความสามารถของทหารเรือและทหารอากาศโดยด่วน
Yim/Lr