การสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 จัดขึ้นที่เมืองฉวนโจว มณฑลฝูเจี้ยนตั้งแต่วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจาก 30 ประเทศจำนวน 280 คนได้อภิปรายประเด็น "ประชาคมร่วมชะตากรรม ร่วมกันสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21
การสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากประชาคมโลก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการต่างประเทศบางคนเห็นว่า ยุทธศาสตร์ แนวคิด "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เป็นผลดีต่อการส่งเสริมความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กันระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ตามเส้นทางสายไหมทางทะเล และมีส่วนช่วยต่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคด้วย
นายเจิ้ง โหย่งเหนียน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกของสิงคโปร์เขียนบทความว่า การสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" สามารถพัฒนาโอกาสที่อำนวยผลประโยชน์แก่กันระหว่างจีนกับประเทศตลาดเกิดใหม่ ด้วยการดำเนินความร่วมมือและใช้ทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น จะกระตุ้นศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามเส้นทางสายไหมทางทะเล ผลักดันให้ความสัมพันธ์ฉันหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศจีน ด้วยการโอนกำลังการผลิตที่เหลือเฟือ ส่งเสริมการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จึงพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนให้มีระดับสูงยิ่งขึ้น
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกล่าวว่า ขณะนี้ คำว่า "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"ได้กลายเป็นศัพท์นิยมในเวทีต่างประเทศและสื่อมวลชนต่าง สะท้อนถึงซอฟต์เพาเวอร์ทางการทูตของจีน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนเท่านั้น หากยังเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งต่อโครงสร้างโดยรวมของทั่วโลก
นาย Chiew Chee Phoong รองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บรูไน ไทมส์ระบุว่า อาเซียนจะได้รับประโยชน์จาก"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" บรูไนก็จะแบ่งบันผลประโยชน์ที่ได้จากความเจริญรุ่งเรืองของจีนด้วย เนื่องจากกระบวนการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" จะพัฒนาเครือข่ายการคมนาคม บรูไนจึงจะได้ตลาดที่กว้างขึ้นและการลงทุนมากยิ่งขึ้น จีนจะส่งเสริมการค้าเสรีส่วนภูมิภาคและของโลกด้วยการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ทั้งนี้ทำให้อาเซียนมีความหวังและความมั่นใจเป็นอย่างมาก
In/Lr