ตั้งแต่จีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดกว้างต่อภายนอก ชาวจีนนิยมพูดกันว่า "อยากเจริญต้องสร้างถนนก่อน" ซึ่งก็เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมาในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นผลสำเร็จ ปัจจุบัน จีนกำลังเผยแพร่ประสบการณ์ดังกล่าวไปยังประเทศต่างๆรอบข้าง เพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจ
ในแผนยุทธศาสตร์ของจีนที่จะก่อสร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 ภาระสำคัญคือการเชื่อมโยงถึงกันด้านสาธารณูปโภคทั้งทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือ และท่าอากาศยาน เป็นต้น
ในที่ประชุมเจ้าภาพความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนเกี่ยวกับเสริมการเชื่อมโยงต่อกัน ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเน้นว่า "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และการเชื่อมโยงมีความผสมผสานกัน หากนำ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เทียบเป็นปีกของเอเชีย การเชื่อมโยงต่อกันก็จะเป็นสายเลือดของปีก
สื่อมวลชนญี่ปุ่นลงบทความแสดงความคิดเห็นว่า การที่จีนช่วยสร้างทางรถไฟแก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกนั้น เป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"
ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนต่างประเทศจำนวนหนึ่งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของจีนดังกล่าว โดยระบุว่าเป็น "แผนมาร์แชลล์ฉบับจีน" ต่อกรณีนี้ นายหลิว เจี้ยนเชา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า แผนมาร์แชลล์ในอดีตแสดงบทบาทสำคัญในการให้ยุโรปฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรือง แต่เนื่องจากเกิดในยุคสงครามเย็น จึงมีเงื่อนไขบังคับต่างๆต่อประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ ส่วนแผน"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของจีนไม่ได้มุ่งจะแสวงหาการขยายอิทธิพลของตน และไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อกลไกส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน
เขาเน้นว่า "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของจีนมีการเปิดกว้างต่อภายนอกอย่างสูง ไม่เพียงแต่มีการเปิดกว้างในด้านภูมิภาค หากยังมีการเปิดกว้างในโครงการความร่วมมือต่างๆ โดยส่งเสริมให้ประเทศต่างๆเข้าร่วมตามความสมัครใจ และดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของตลาดและกิจการพาณิชย์บนพื้นฐานที่เสมอภาคและอำนวยประโยชน์แก่กัน