อีกไม่กี่วัน นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนก็จะเยือนไทย แล้วสัปดาห์หน้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยก็จะเยือนจีนอย่างเป็นทางการด้วย รัฐบาลทั้งสองประเทศจะลงนามข้อตกลงในหลายด้านซึ่งรวมทั้งความร่วมมือด้านการรถไฟด้วย โดยรายการของวันนี้ ผมจะสัมภาษณ์คุณสมภพ จันทร์ฟัก บรรณาธิการข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เชิญท่านมาเล่าความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างจีน-ไทย
ถาม: เชิญคุณสมภพ จันทร์ฟักแนะนำสภาพปัจจุบันของรถไฟไทย
คุณสมภพ จันทร์ฟัก: ตอนนี้สภาพปัจจุบันของรถไฟไทย เราต้องยอมรับว่า ในเมืองไทยมีรถไฟมาแล้วไม่น้อยว่า 100 ปี แต่พัฒนาไม่ได้มาก ทั้งนี้เนื่องมาจากอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ค่อนข้างเยอะ แม้ว่าในอดีต มีความพยายามในการที่จะพัฒนารถไฟในหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่เดินหน้า เมื่อก่อน ไทยใช้รางรถไฟของอังกฤษ คือรางรถไฟแคบ ก็ขนาดประมาณ 1.1 เมตร แต่ที่สำคัญในไทยไม่มีรถไฟทางคู่ เวลาจะหลีกกันจะต้องรอสับหลีกที่สถานี ไม่สามารถสวนกันได้เลย ทำให้การเดินทางทางรถไฟในอดีต เราต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานมากในการเดินทางจากแต่ละเมืองไปแต่ละเมือง ส่วนขบวนโดยสารที่ผู้โดยสารนั่งก็เป็นแบบเก่า ทำให้การบริการทางรถไฟไม่ได้รับความนิยม
ถาม: ดูข่าวว่า รัฐบาลไทยมีมติสร้างรถไฟทางคู่ในเบื้องต้นแล้วพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ทำไมมีมติอย่างนี้
คุณสมภพ จันทร์ฟัก: มีปัญหาอยู่ 3 ประการ ประการแรกคือเรื่องของการเวรคืนที่ดิน เพราะที่ดินในเมืองไทยเป็นทั้งที่ดินของเอกชน เป็นทั้งที่ดินของรัฐ ส่วนที่จะต้องไปเวรคืนที่ดินของเอกชน ก็จะใช้งบประมาณในการชดเชย ประการที่สอง เรื่องของงบประมาณรายจ่ายประจำปี การทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีถ้าไปพุ่งตรงจุดใดจุดหนึ่งมากจนเกินไป มันก็จะทำให้ขาดงบประมาณที่ไปจะใช้ในส่วนอื่น ๆ ประการที่สาม หนี้สาธารณะเพดานของไทยอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 60 ของจีดีพีโดยทั่ว ๆ ไป แต่ว่าของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 42 43 ถ้าหากกู้มาแล้วทำเป็นรถไฟความเร็วสูงสักทีเดียวเลย มันก็จะชนเพดานหรือไม่ก็ใกล้เคียง ถ้าหากไทยจะต้องกู้เพื่อไปทำกิจการอื่น ๆ เป็นต้นว่า บริหารเรื่องของสาธารณูปโภคอื่น ๆ จะทำยังไง รัฐบาลก็เลยมีความคิดว่า รายคือสิ่งที่จำเป็นก่อน สิ่งที่จะเป็นอันดับแรกคือรถไฟทางคู่ ไม่ต้องสับหลีก มันก็ช่วยย่นเวลา ซึ่งสามารถช่วยขนส่งสินค้าได้ง่ายขึ้น
(Sompob/Cui)