วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1938 กองทัพอากาศจีนสู้กับญี่ปุ่นบนน่านฟ้าอู่ฮั่น
  2015-03-25 16:33:51  cri

วันนี้เป็นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ วันเดียวกันของปีค.ศ. 1938 ทหารรุกรานของญี่ปุ่นสั่งเรือบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ 12 ลำและเครื่องบินรบรุ่น มิตซูบิชิ 96-1 จำนวน 26 ลำ เดินทางไปทิ้งระเบิดทำลายเมืองอู่ฮั่นเมืองสำคัญที่อยู่ภาคกลางของจีน กองทัพอากาศจีนจัดตั้งขึ้นยังไม่นาน แต่ไม่กลัวที่จะสละชีพ สู้รบกับทหารญี่ปุ่นบนน่านฟ้าด้วยความกล้าหาญ ยิงตกเครื่องบินรบญี่ปุ่น 11 ลำ บดขยี้คำพูดที่ว่า ไม่มีใครสามารถเอาชนะทหารอากาศญี่ปุ่น นี่ก็คือการสู้รบทางอากาศอู่ฮั่นที่ขึ้นชื่อ

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมปี 1937 ทหารญี่ปุ่นเข้าตีและยึดเมืองหนานจิงซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยนั้น รัฐบาลหมินกั๋วของเจียงไคเชกย้ายจากเขตภาคตะวันออกไปสู่เขตตะวันตกของจีน ระหว่างทาง แต่ยังมีหน่วยงานสำคัญอีกมากมายตั้งอยู่ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นชุมทางสำคัญในเขตภาคกลางของจีน ดังนั้น เมืองอู่ฮั่นจึงเป็นเป้าหมายการโจมตีที่สำคัญของทหารญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1937 จีนและอดีตโซเวียตมีการลงนามสนธิสัญญาไม่รุกรานต่อกัน หลังจากนั้น โซเวียดได้จัดส่งกำลังทหารทางอากาศประจำจีน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 1938 ทหารอากาศที่ประจำเขตเมืองอู่ฮั่นและเสี้ยวก่านนั้น มีกองบินรบที่ 3, 4, 5 และกองบินรบอาสาสมัครโซเวียต

เช้าวันที่ 18 กุมภาพันธ์ปี 1938 ทหารญี่ปุ่นสั่งเรือบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ 12 ลำและเครื่องบินรบรุ่นมิตซูบิชิ 96-1 จำนวน 26 ลำ ออกเดินทางจากมณฑลอันฮุยและมณฑลเจียงซี เขตภาคตะวันออกของจีนไปสู่เมืองอู่ฮั่น กองบินรบที่ 4 ของทหารอากาศจีนรับคำสั่งให้ไปรบกับทหารญี่ปุ่น ร้อยเอกหลี่ กุ้ยตัน หัวหน้ากองนำเครื่องบินรบ 29 ลำขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็ได้เผชิญกับเครื่องบินรบของศัตรู เขารีบสั่งให้แบ่งกองใหญ่เป็นกองย่อย 3 กลุ่ม แยกกันปะทะกับเครื่องบินรบญี่ปุ่น โดยกลุ่ม 22, 23 เป็นทีมสู้รบโดยตรง และทีม 21 รับผิดชอบการปกป้อง ต่อจากนั้น บนน่านฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสนามบินฮั่นโข่ว กลุ่ม 21 ได้เผชิญกับเครื่องบินรบญี่ปุ่น 10 ลำ จึงรบกันทันทีบนน่านฟ้าสูงประมาณ 4,000เมตร หลังจากนั้น กลุ่มที่ 22, 23 ก็ได้พบเครื่องบินรบญี่ปุ่นอีกกลุ่มหนึ่ง สองฝ่ายจึงปะทะกันอย่างดุเดือดบนท้องฟ้าเมืองอู่ฮั่น

สุดท้าย ทหารอากาศจีนใช้เวลา 12 นาที เสียเครื่องบิน 5 ลำ เพื่อยิงตกเครื่องบินรบญี่ปุ่น 11 ลำ ผู้บัญชาการของกองบินรบญี่ป่นยิงฆ่าตัวตาย ด้านฝ่ายจีนอาทิ ร้อยเอกหลี่ กุ้ยตัน (หัวหน้ากอง) ร้อยเอกหลุ่ย จีฉูน(หัวหน้ากลุ่ม) และร้อยตรีปา ชิงเจิ้ง(นักบิน) เป็นต้น รวม 5 นายเสียสละชีพส่วนร้อยตรีจาง กวางหมิงแม้เครื่องบินของเขาถูกกระสุนยิงเจาะถึง 29 แห่งและตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส แต่ก็ยังคงยืนหยัดสู้รบขอกลับสู่สนามรบต่อ

ชัยชนะในการรบทางอากาศอู่ฮั่นนั้น นับเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรกของทหารจีนหลังจากเมืองหลวงหนานจิงถูกทหารญี่ปุ่นยึดครอง แม้ว่าในเวลานั้น กำลังรบของทหารจีนอ่อนกว่าญี่ปุ่นอย่างมาก แต่ความฮึกเหิมของทหารหนุ่มแห่งกองทัพอากาศจีนเหล่านั้น ทำให้สามารถสู้รบกับทหารญี่ปุ่นที่รุกรานด้วยความกล้าหาญ เป็นการโจมตีและกำราบความหยิ่งยะโสของศัตรู ทำลายคำพูดที่ "ทหารอากาศญี่ปุ่นไม่สามารถเอาชนะ" ข่าวชัยชนะนี้แพร่กระจายไปทั่วเมืองอู่ฮั่น ประชาชนและทหารล้วนตื่นเต้นดีใจอย่างยิ่ง วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1938 วงการต่างๆ ของอู่ฮั่นจัดงานชุมนุมขนาดใหญ่ในหัวข้อ "ฉลองชัยชนะการรบทางอากาศ ไว้อาลัยผู้สละชีพเพื่อชาติ" ท่านโจวเอินหลายนำคณะผู้แทนทหารและคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เข้าร่วมงานนี้

ชัยชนะทางอากาศครั้งนี้ได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนและทหารจีนอย่างกว้างขวาง เพิ่มความมั่นใจในการสู้รบกับทหารญี่ปุ่นให้ถึงที่สุด

(Yim/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040