กฎหมายฉบับใหม่นี้ระบุว่า วิสาหกิจผู้ผลิตอาหารและประกอบการควรจัดตั้งหน่วยงานควบคุมดูแลกลไกตรวจสอบแหล่งผลิตขึ้น เพื่อประกันให้การดำเนินงานในทุกขั้นตอนการผลิตอาหารมีมาตรฐาน พ่อค้าผักจากตลาดค้าส่งผลิตผลการเกษตรซินฟาตี้ของปักกิ่งอธิบายว่า ผู้บริโภคสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสแกน QR โค้ดเหนือบรรจุภัณฑ์ เพื่อติดตามข้อมูลรายละเอียดทุกประเภทของผักที่ซื้อตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บจากพื้นที่เพาะปลูกจนกระทั้งถึงขั้นเสริฟบนโต๊ะอาหาร
หลายปีมานี้ ยอดการซื้อขายอาหารผ่านอินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างมาก แต่เนื่องจากกฎหมายความปลอดภัยทางอาหารฉบับเก่าไม่ครอบคลุมถึงการตรวจสอบในระดับปริมณฑล จึงเกิดการปลอมแปลงตราสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการหัวใสหรือไร้สิทธิ์การจำหน่ายได้ฉวยโอกาสแทรกตัวไปจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ต หากจะพบว่าสินค้ามีปัญหา ก็ต้องเปิดแพ็คเกจออกมาดูเสียก่อน ผู้บริโภคจึงมักประสบความยากลำบากในการขอคืนผลิตภัณฑ์อาหารที่สั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต
ทว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้แก้โจทย์ได้เป็นอย่างดี โดยกำหนดเจ้าของเว็บไซต์ที่เป็นเวทีขายอาหารผ่านอินเตอร์เน็ตต้องจดทะเบียนด้วยชื่อและนามสกุลจริง มีเงื่อนไขชัดเจนว่า ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของอาหาร ผู้บริโภคที่เสียประโยชน์จากการจัดซื้อผลิตภัณฑ์อาหารผ่านอินเตอร์เน็ต ในกรณีที่ผู้ขายยังไม่ยอมชดเชยความเสียหายนั้น สามารถเรียกร้องให้ทางเว็บไซต์ชดใช้ก่อนได้
กฎหมายฉบับใหม่นี้ยังสั่งห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงทารกและเด็กผ่านตัวแทนจำหน่าย ห้ามมีการติดตราสินค้าขึ้นใหม่ และห้ามแบ่งขาย นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า ผลิตภัณฑ์อาหารบำรงสุขภาพนั้น จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนจัดเก็บข้อมูล ส่วนสมรรถนะการบำรงที่โฆษณากัน ควรมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน เป็นต้น
TOON/FENG