เทศกาลหยวนเซียว(ภาษาแต้จิ๋วเรียกง่วนเซียว)หรือเทศกาลโคมไฟ
ตอนค่ำ พระอาทิตย์ตกดิน เด็กๆ จะถือโคมไฟออกจากบ้านมาร่วมสนุกสนานกัน แต่สาเหตุเป็นเพราะอะไร เด็กๆ วัยรุ่นคนทางเหนือคงไม่ทราบ ในแต้จิ๋ว วันนี้เรียกว่า "ชุกฮวยฮึ๊ง" แปลว่าออกสวน คือเป็นวันสำหรับเด็กที่โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เมื่อถึงอายุ 15 ปีแล้ว ต้องออกจากสวนไปเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากว่าสวนคงมืดๆ จึงต้องถือโคงไฟดูทางไม่ให้หกล้ม
วันเช็งเม็ง วันรำลึงบรรพบุรุษที่สำคัญที่สุดในปี ชาวแต้จิ๋วให้ความสำคัญต่อวันนี้อย่างมาก แต่ละปีเมื่อถึงระยะก่อนและหลังวันเช็งเม็ง คนที่ทำงานในเมืองใหญ่เช่นเมืองกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้นจะพยายามขับรถกลับบ้านเกิด ทำให้ทางด่วนที่เชื่อมเมืองซัวเถากับสองเมืองดังกล่าวมีรถติดทั้งวัน
เทศกาลตวนอู่หรือเทศกาลขนมบ๊ะจ่าง เป็นวันรำลึกนายชวี หยวนนักการเมือง กวีชื่อดังเมื่อประมาณ 2 ,000 ปีก่อน เขาโต้เถียงกับฮองเต้เพราะไม่เห็นด้วยกับการบริหารของฮ่องเต้ จึงถูกปลอดออกจากตำแหน่งและไล่จากเมืองหลวงให้ไปอยู่ชนบท นายชวี หยวนรู้สึกเจ็บใจมากที่ประเทศชาติกำลังประสบความสูญเสียอย่างมาก จึงกระโดดลงแม่น้ำฆ่าตัวตาย ชาวบ้านท้องถิ่นให้ความเคารพต่อนายชวี หยวน ไม่อยากให้ปลากินเนื้อของเขา จึงเอาใบไม้ไผ่ห่อข้าวเหนียวและมัดไว้เหมือนกับคน โยยลงแม่น้ำให้ปลากิน นอกจากนั้นยังออกเรือไล่ปลาและตามหาศพของนายชวีหยวน จึงมีประเพณีเกิดขึ้นมาคือกินขนมบ๊ะจ่างและแข่งเรือมังกร
เทศกาลจงชิวหรือวันไหว้พระจันทร์ คนทางเหนือของจีนนิยมซื้อขนนเปี๊ยะไปกินที่บ้าน หรือนั่งริมริมน้ำทะเลสาบ ชมพระจันทร์และกินขนมเปี๊ยใส้ต่างๆ แต่ที่เขตแต้จิ๋ว ก่อนที่จะรับประทานขนมเปี๊ย จะมีการนำขนมเปี๊ยะไปไหว้พระจันทร์ก่อน เมื่อดวงจันทร์กระจ่างบนฟากฟ้า ผู้หญิงในบ้านจะจุดธูบ 3 ดอก ขอให้สามีได้เงินมาให้บ้านมากขึ้น เด็กๆ มีความปลอดภัยและเรียนหนังสือดีขึ้น
วันตงจื้อหรือเทศกาลเข้าฤดูหนาว ช่วงสุดท้ายของ 1 ปี หลังขยันทำงานมา 1 ปีแล้ว ควรพักผ่อนหย่อนใจในวันที่อากาศหนาวลง กินของบำรุงร่างกาย คนทางเหนือของจีนมักจะกินเกี๊ยวน้ำ ส่วนชาวแต้จิ๋วจะทำลูกชิ้นข้าวเหนียว ต้มน้ำตาลรับประทานกัน ใส่น้ำตาลขาวหรือน้ำตาลทรายก็ได้
นอกจากเทศกาลสำคัญแล้ว การไหว้เจ้าของชาวแจ้จิ๋วมีความละเอียดถึงแต่ละวันใน 1 เดือน คนรุ่นเก่ามักจะเลือกวันไหว้เจ้าตามความความนับถือของตน คือวันขึ้น 1 ค่ำและวันแรม 15 ค่ำ มีการไหว้เง็กเซียนฮ่องเต้ วันขึ้น 2 ค่ำและวันแรม 16 ค่ำ เทพเจ้าแห่งดิน วันขึ้น 3 ค่ำและวันแรม 17 ค่ำ เทพเจ้ามาจู่ วันขึ้น 4 ค่ำและวันแรม 18 ค่ำ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ วันขึ้น 5 ค่ำและวันแรม 19 ค่ำ เทพเจ้าแห่งข้าว วันขึ้น 6 ค่ำและวันแรม 20 ค่ำ เทพเจ้าไข่มุก วันขึ้น 7 ค่ำและวันแรม 21 ค่ำ ฮ่องเต้สามภูเขา วันขึ้น 8 ค่ำและวันแรม 22 ค่ำ เทพเจ้าอายุยืน วันขึ้น 9 ค่ำและวันแรม 23 ค่ำ เจ้าแม่กวานอิม วันขึ้น 10 ค่ำและวันแรม 24 ค่ำ เทพเจ้ายูไร วันขึ้น 11 ค่ำและวันแรม 25 ค่ำ เทพเจ้าแป๊ะกง วันขึ้น 12 ค่ำและวันแรม 26 ค่ำ ซักเซียงบ้อ วันขึ้น 13 ค่ำและวันแรม 27 ค่ำ เทวดาโห่เซียงโกว วันขึ้น 14 ค่ำและวันแรม 28 ค่ำ เทพเจ้าไท่เป๊ะกิมเช
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการประกอบพิธีไหว้เทะเจ้าในเทศกาลต่างๆ ของชาวแต้จิ๋วคือขนมชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นความทรงจำที่ดีงามสมัยเด็กของชาวแต้จิ๋วทุกคน ขนมเหล่านี้ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวเหนียวและแป้งมัน แต่คงต้องเรียกชื่อตามการออกเสียงของภาษาแต้จิ๋ว เพราะท้องที่อื่นๆ ของจีนไม่มีเลย คือ ขนม "อั่งท้อก้วย ฉือคักก้วย โพ๊ะจี๋ก้วย บ่อบี๋ก้วย ไช่ก้วย สุงก้วย เตี่ยมก้วย ไช่เท้าก้วย โอ่วก้วย ฮวักก้วย โกก้วย เห่าก้วย เบ๊ะก้วย เบาะบี๋ก้วย ก๋วยเตี๋ยว" ยังมีอีกมากมายตามแต่ละหมู่บ้าน ตำบล อำเภอเมืองของทั่วเขตแต้จิ๋ว ซึ่งล้วนเป็นส่วนประกอบในชีวิตของกลุ่มคนที่ดำรงชีวิตในภาคใต้จีน ทั่วประเทศจีนหรือทั่วโลก ที่เรียกว่า "ชาวแต้จิ๋ว" "กากีนั๊ง"
(In/lin)