ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ชาวนาจำนวนหลายร้อยล้านคน พ้นจากสภาพความยากจน หมู่บ้านชนบทส่วนหนึ่งกลายเป็นเมืองที่ทันสมัย รถไฟความเร็วสูงที่เป็นสัญลักษณ์ของนิวไฮเทควิ่งอยู่ระหว่างเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ความเจริญของเศรษฐกิจจีนมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่น่าเชื่อ เมื่อเร็วๆ นี้ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ "เดีย เจย์ต" (Die Zeit) ของเยอรมนีเผยแพร่บทความในหัวข้อ "สูงยิ่งขึ้น ไกลยิ่งขึ้น เร็วยิ่งขึ้น" โดยนำเอาเจาะลึกสูตรสำเร็จ 11 ข้อของการปฏิรูปเปิดประเทศจีนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
บทความดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า เมื่อ 40 ปีก่อน ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน ได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เขตชนบท อนุญาตให้ชาวนาเหมาที่ดินและทำนากันเอง ด้านการพัฒนาของเมือง เขาตัดสินใจจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่งที่เมืองชายฝั่งภาคใต้ และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติไปลงทุน นโยบายเหล่านี้นำมาซึ่งผลสำเร็จอย่างเร็ว และเห็นได้ชัด
ตัวเลขและสาเหตุที่เกี่ยวกับการพัฒนาของเศรษฐกิจจีนคงมีมากมาย เรายกมาเพียง 11 ข้อเพื่อให้เห็นสภาพความเป็นจริงส่วนหนึ่งของจีนในปัจจุบัน
1.จนถึงสิ้นปี 2017 จีนมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนขึ้นเน็ตกว่า 700 ล้านคน
ในประเทศจีนปัจจุบัน ระบบดิจิตอลเข้าสู่ชีวิตประจำวันของชาวจีนอย่างรอบด้าน จนถึงสิ้นปี 2017 ชาวจีนจำนวนกว่า 700 ล้านคนใช้มือถือ ไอแพดหรือคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต มีประชากรจำนวนกว่า 500 ล้านคนที่จับจ่ายซื้อของโดยไม่ต้องใช้เงินสด การจ่ายเงินเกือบทั้งหมดล้วนสามารถดำเนินการโดยผ่านสมาร์ทโฟน ปัจจุบัน จีนกำลังเข้าสู่เป้าหมายที่เป็นสังคมไร้เงินสด โดยใช้ระบบ QR CODE หรือเข้าระบบจ่ายเงินทางอินเตอร์เน็ต
การที่จีนเป็นประเทศนำหน้าด้านสังคมไร้เงินสดนั้น นับเป็นผลสำเร็จของ APP 2 แบบ คือ "จื้อฟู่เป่า" (อาลีแพย์) และ"เวยซิ่น" (วีแชต) ปัจจุบัน การเดินทางในจีนสะดวกมาก ขนาดที่ไปซื้ออาหารว่างริมถนน ก็สามารถใช้สมาร์ทโฟนจ่ายเงินได้อย่างง่ายๆ
ขณะนี้ จีนมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต 3 บริษัท ที่ชาวจีนใช้ตัวย่อว่า BAT ได้แห่ B-ไป่ตู้ เสิร์ชเอ็นจินที่สำคัญที่สุดของจีน A-อาลีบาบา คุมตลาดอีคอมเมิร์ซออนไลน์และ T-เทนเนต์ ผู้ผลิตAPP วีแชต และยึดฐานะครอบคลุมตลาดเกมส์และการสนทนามัลติมีเดีย ปัจจุบัน อาลีบาบาและเทนเซตล้วนมีมูลค่าประมาณ500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
2.เกษตรกรจำนวน 300 ล้านคนเข้าทำงานในเมือง
ตัวเลขนี้มีความสำคัญมาก ถ้าไม่มีแรงงานชาวนาจำนวนนับร้อยล้านคนเข้ามาหางานทำในเมือง การเติบโตทางเศรฐกิจของจีนคงไม่สามารถประสบความสำเร็จ ช่วงปลายทศวรรษปี 1970 แรงงานชนบทเริ่มเดินทางออกจากบ้านเกิดเพื่อหางานทำในเมืองใหญ่ และเมืองริมชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน พวกเขาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างตึกอาคารสูง ทางหลวงและทางรถไฟ และสร้างชื่อเสียง "โรงงานโลก" ให้กับจีน นอกจากนั้น ยังมีงานที่เล็กๆน้อย ๆ อย่างอื่น เช่น การตั้งแผงลอยริมถนน เจ้าหน้าที่บริการหรือช่างต่างๆ เป็นต้น สถิติทางการจีนแสดงให้เห็นว่า ปี 2016 แรงงานชาวนาจำนวนกว่า 53% ทำงานด้านอุตสาหกรรมการผลิต อีกกว่า 46% ทำงานด้านการให้บริการ