ไครจะเป็น "บริษัท Space X "ของจีน ?
  2018-09-08 10:40:45  cri

เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา บริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอวกาศซิงจิ้นหรุงเย่า ปักกิ่ง จำกัด หรือ "ซิงจิ้นหรุงเย่า"( Beijing Space Honor Technology Co.,Ltd) ซึ่งเป็นวิสาหกิจการบินอวกาศภาคเอกชนของกรุงปักกิ่งได้ยิงส่งจรวดพาหะ "SQZ-1Z"ที่วิจัยและผลิตด้วยบริษัทเองจากศูนย์ยิงส่งดาวเทียมจิ่วฉวนของจีนเป็นผลสำเร็จ ได้ส่ง "ดาวเทียม" ที่วิจัยและผลิตโดยวิสาหกิจภาคเอกชน 3 ดวงเข้าสู่วงโคจรย่อย(suborbital)ในอวกาศ เพื่อดำเนินการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของตน

เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา ศูนย์ยิงส่งดาวเทียมจิ่วฉวนได้ยิ่งส่งจรวดธุรกิจ OS-X1 ที่บินตามวงโคจรย่อยดวงที่ 2 ที่วิจัยและผลิตโดยบริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอวกาศหลิงอี ปักกิ่ง จำกัด หรือ "หลิงอี คงเจียน" (One Space)เป็นผลสำเร็จด้วย ซึ่งมีมาตรฐานเดียวกันกับ"SQZ-1Z" นอกจากนี้ ดาวเทียมพาหะรุ่น OS-M ที่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถนำส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจนรอบโลกได้ได้ทำการทดลองเครื่องยนต์ระดับ 2 และระดับ 3 เป็นผลสำเร็จแล้ว หวังจะบินขึ้นสู่อวกาศในสิ้นปีนี้

ด้วยการใช้ความพยายามของวิสาหกิจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศภาคเอกชน กิจการการบินอวกาศทางธุรกิจของจีนกำลังเปิดฉากขึ้น ทำให้ปี 2018 กลายเป็นปีแรกแห่งการบินอวกาศภาคเอกชนของประวัติศาสตร์จีน

การวิจัย ผลิตและยิงส่งจรวดการบินอวกาศ เมื่อก่อนต้องดำเนินไปภายใต้การนำของรัฐบาล แม่สหรัฐฯ ก็เช่นกัน ต่อมา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศของสหรัฐฯ พัฒนาสู่ระดับสูงขึ้น ได้สร้างเงื่อนไขให้กับการบินอวกาศภาคเอกชน เช่นบริษัทSpace X และ Blue Origin ซึ่งเป็นวิสาหกิจภาคเอกชนของสหรัฐฯ ทั้งนั้น สามารถได้รับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีระดับสูงสุดซึ่งในประเทศอื่นเป็นผลิตภัณฑ์ระดับการบินอวกาศจากตลาดที่เปิดเผย และราคาก็อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้ กล่าวในแง่นี้แล้ว ระดับการพัฒนาของวิสาหกิจการบินอวกาศทางธุรกิจของวิสาหกิจภาคเอกชน สามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับอุตสาหกรรมภาครวมที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ ปัจจุบัน ยานอวกาศ "Dragon" ของ Space X ได้เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติหลายครั้ง เชื้อเพลิงของเหลวที่วิจัยโดย Space X สามารถใช้ในการเก็บคืนจรวด ทั้งนี้ส่งเสริมให้ผู้ผลิตจรวดโบอิ้งและล๊อคฮีด มาร์ติน(Lockheed Martin)ต้องร่วมมือกันจัดตั้งสหพันธ์การยิ่งส่ง

เปรียบเทียบแล้ว ปัจจุบัน วิสาหกิจภาคเอกชนของจีนยังอยู่ในขั้นตอนที่ "ใช้จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงก้อนดำเนินการบินในวงโคจรย่อย" เพราะเทคโนโลยีที่พวกเขาสามารถได้มาจากตลาดเปิดเผยมีเท่านี้เอง ดูทางผิวเผิน เป็นความแตกต่างระหว่างวิสาหกิจการบินอวกาศทางธุรกิจภาคเอกชนของจีนและสหรัฐฯ แต่ในทางลึกซึ้ง จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของระดับอุตสาหกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสองประเทศ

แต่ทว่า วิสาหกิจการบินอวกาศทางธุรกิจภาคเอกชนของจีน รวมถึง"ซิงจิ้นหรุงเย่า" และ"หลิงอี คงเจียน" ไม่ได้จำกัดอยู่ในใบสั่งทางการค้าในปัจจุบันเท่านั้น หากยังมีแผนระยะยาวด้วย เช่น เว็บไซต์"ซิงจิ้นหรุงเย่า" แสดงว่า ในอนาคตจะวิจัยและผลิตจรวด "SQZ-2" ซึ่งคล้ายคลึงกับจรวด "Falcon 9" ของสหรัฐฯ ที่ใช้เชื้อเพลิงของเหลวและสามารถใช้ได้หลายครั้ง นอกจากนี้ ยังวิจัยเครื่องจักรที่ใช้เมเธน ซึ่งมีความยากลำบากสูงสุด

เนื่องจากเครื่องจักรเมเธนต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงมาก ชิ้นส่วนก็จำเป็นต้องมีสมรรถนะที่สูดที่สุดด้วย การวิจัยเครื่องจักรเมเธนของบริษัท"ซิงจิ้นหรุงเย่า" ก็จะผลักดันให้วิสาหกิจภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องของจีนพัฒนาเทคโนโลยีด้วย จนขับเคลื่อนการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทั้งนี้มีความหมายทางประวัติศาสตร์และทางยุคสมัยต่อการพัฒนาของวิสาหกิจการบินอวกาศภาคเอกชนของจีน ไม่ใช่ปัญหาที่ใครจะเป็น Space X ของจีน

Tim/LR/Cai

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040