PM2.5 (5)

2019-11-20 10:39CMG

เมื่อพูดถึงฟ้า เรามักจะรู้สึกว่า ทั้งสูงทั้งไกล ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์เราจึงจะเข้าใจและไปถึงได้ ไม่ต่างจากการทวงคืนฟ้าใส ซึ่งต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นกัน  หากเราทุกคนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อทวงคืนฟ้าใส เชื่อว่า ท้องฟ้าอันสดใสจะอยู่ใกล้มือเรา และพบเจอกันได้บ่อยเหมือนเดิม

图片默认标题_fororder_1-1

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาหมอกควันพิษอย่างร้ายแรง เมื่อจีนทราบข่าวนี้จึงได้จัดส่งไส้กรองเครื่องฟอกอากาศจำนวน 1,008 ชุด แก่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลและโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัด โดยมีนายเหริน ยี่เซิง กงสุลใหญ่จีนประจำจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้มอบให้แก่เทศบาลนครเชียงใหม่

图片默认标题_fororder_2-2

นี่จึงเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ตอกย้ำถึงถ้อยคำที่ว่า “จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” มิตรภาพระหว่างไทย-จีนนั้น ล้ำลึกมากกว่าความเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน แม้เผชิญกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 แต่สองประเทศก็ร่วมทุกข์ร่วมสุข เคียงบ่าเคียงไหล่ เพื่อขจัดหมอกควันพิษ  และทำให้ท้องฟ้ากลับคืนมาสดใสเหมือนเดิม   

จีนมีสุภาษิตว่า “ถงฮูซี  ก้งมิ่งยุ่น”     “ถงฮูซี ” คือ หายใจอากาศเดียวกัน “ก้งมิ่งยุ่น” คือ แบ่งปันชะตากรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีผลประโยชน์ร่วมกัน  ขณะนี้  จีน-ไทย “ถงฮูซี  ก้งมิ่งยุ่น” เพื่อพิชิตสงครามทวงคืนฟ้าใสอยู่

图片默认标题_fororder_3-3

เมื่อเราย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะพบว่า ปัญหา PM 2.5 ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยหรือจีน ที่มักเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม แต่ยังเกิดในประเทศพัฒนาแล้ว  ซึ่งรวมถึง อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี  สเปน  ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น  เหตุการณ์หมอกควันพิษเลวร้าย ที่เกิดขึ้นในกรุงลอนดอนเมื่อทศวรรษปี 1950 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 12,000 คน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐสภาอังกฤษจึงผ่านกฎหมายว่าด้วยอากาศบริสุทธิ์ ในปี 1956 ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อป้องกันและกำจัดมลพิษทางอากาศฉบับแรกของโลก ตามกฎหมายฉบับนี้ โรงไฟฟ้าทุกแห่งในกรุงลอนดอนจึงถูกสั่งปิดทั้งหมด  ต่อมา เทศบาลกรุงลอนดอนได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ก๊าซธรรมชาติแทนการเผาถ่านหิน และลดการใช้เตาเผาลง   ปัจจุบัน เทศบาลกรุงลอนดอนดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกลงเป็นศูนย์ (A zero-emission zone) โดยลดการใช้รถยนต์ เพิ่มจำนวนจักรยาน พร้อมตั้งเป้าว่า ภายในปี 2050 ถนนและเส้นทางการคมนาคมทุกสายในกรุงลอนดอนต้องปลอดมลพิษจากรถยนต์ โดยจำกัดจำนวนรถยนต์ให้เหลือเพียง 3 ล้านคันต่อวัน และเพิ่มปริมาณรถจักรยานบนท้องถนนให้ได้ร้อยละ 80 ของการเดินทางด้วยระบบขนส่งทั้งหมด

ส่วนกรุงโรม ประเทศอิตาลี ได้ดำเนินโครงการ “วันอาทิตย์รักษ์สิ่งแวดล้อม” หรือ “Eco-Sunday” ในช่วงเวลา  7.30 – 12.30น. และช่วง 16.30 – 20.30น. ทุกวันอาทิตย์ โดยอนุญาตให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ พลังงานสะอาดเท่านั้นที่จะวิ่งบนท้องถนนได้ ส่วนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันห้ามวิ่งในพื้นที่ใจกลางกรุงโรม หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ  เพื่อจูงใจชาวเมืองให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน กรุงโรมยังได้ลดราคาลงอีกด้วย โดยตั้งราคาบัตรขนส่งมวลชนอยู่ที่ 1.5 ยูโรต่อวัน  

ส่วนเทศบาลนครมิลาน ประเทศอิตาลีได้ออกนโยบายแบนการใช้รถยนต์ และให้หันไปใช้รถจักรยานแทนวันละ 6 ชั่วโมง คือ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00น. เพื่อลดความรุนแรงจากฝุ่นควัน

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2018 เป็นต้นมา  เทศบาลกรุงมาดริด ประเทศสเปน ห้ามรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทุกประเภทวิ่งในพื้นที่ใจกลางกรุง มาตรการนี้ในชื่อว่า “มาดริดเซ็นทรัล” ซึ่งสามารถลดระดับการปล่อยมลพิษจากรถยนต์ในพื้นที่กลางกรุงลงเหลือระดับต่ำสุด และยังสามารถลดมลภาวะทางอากาศลงได้ถึงครึ่งหนึ่งในหลายพื้นที่อยู่รอบข้างกรุงมาดริดอีกด้วย

ที่ประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ได้มีการรณรงค์ให้ยานยนต์ต่าง ๆ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศอย่างทั่วถึง โดย เจ้าของรถที่ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทวีปยุโรปเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงเป็นพิเศษ อากาศร้อนทำให้มลภาวะยิ่งเลวร้ายลง เทศบาลกรุงปารีสจึงได้ออกคำสั่งห้ามรถยนต์จำนวนมากกว่าครึ่งออกวิ่งตามท้องถนน เพื่อคลายความร้อนและลดมลภาวะ

ก่อนหน้านี้ กรุงปารีสก็มีการกำหนดให้ยานยนต์ต่าง ๆ วิ่งตามเลขคู่เลขคี่ของป้ายทะเบียนรถ เพื่อลดจำนวนยานยนต์บนท้องถนน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วง 17.30น. ไปจนถึงเที่ยงคืน ผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวจะมีโทษปรับตั้งแต่ 22 - 75 ยูโร 

นอกจากนี้ กรุงปารีสยังจำกัดความเร็วของรถยนต์ด้วย โดยจำกัดความเร็วของรถยนต์ที่วิ่งบนถนนวงแหวนรอบกรุงปารีสจาก 70  กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  และจำกัดความเร็วบนทางหลวงจาก 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนบนทางด่วนได้ลดความเร็วสูงสุดลงจาก 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  เพราะว่าการลดความเร็วของรถยนต์ คือเป็นการลดการทำงานของเครื่องยนต์ ส่งผลให้รถยนต์จะใช้น้ำมันลดลง และปล่อยควันพิษน้อยลงตามไปด้วย 

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx/1.26.1