การออกเสียง
องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน
1. พยางค์
หน่วยเสียงพื้นฐานของระบบเสียงภาษาจีนกลางปัจจุบันคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบขึ้นจากหน่วยเสียง 3 ส่วน ได้แก่ พยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ โดยทั่วไปแล้ว ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวจะอ่านออกเสียงหนึ่งพยางค์
2. พยัญชนะ
พยัญชนะคือเสียงนำที่ขึ้นต้นในแต่ละพยางค์ ในภาษาจีนกลางมีพยัญชนะทั้งหมด 23 เสียง ได้แก่
b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s y w.
3. สระ
สระหมายถึงเสียงที่ออกตามหลังพยัญชนะในแต่ละพยางค์ สระในภาษาจีนแบ่งออกเป็นเสียงสระล้วนและเสียงที่ประกอบขึ้นจากเสียงสระเป็นหลัก(เนื่องจากระบบเสียงภาษาจีนกลางได้รวมเอาเสียงตัวสะกดไว้กับเสียงสระ สระประเภทนี้จึงหมายถึงเสียงสระที่ประสมรวมกับเสียงสะกด ซึ่งเทียบได้กับเสียงตัวสะกดแม่กน /n/ และแม่กง/ng/ ในภาษาไทย) สระจำนวนหนึ่งสามารถประสมกันกลายเป็นสระประสม และเมื่อเรานำสระมาประสมไว้หลังพยัญชนะก็จะกลายเป็นพยางค์ในระบบสัทอักษรพินอิน ในภาษาจีนกลางมีสระทั้งหมด 36 เสียง ได้แก่
a o e i u ü ai ei ui ao ou iu ie üe an en in un ün ang eng ing ong er ia iao ian iang iong ua uo uai uan uang ueng üan.
4. การอ่านรวมเป็นพยางค
ในภาษาจีนกลาง มีพยัญชนะและสระอยู่จำนวนหนึ่งที่ประสมรวมกันเป็นเสียงพยางค์เฉพาะ เวลาอ่านเราจะไม่สะกดแบ่งพยางค์ประเภทนี้ออกเป็นเสียงพยัญชนะและเสียงสระ แต่จะอ่านรวมออกมาเป็นพยางค์ พยางค์เฉพาะเหล่านี้มีทั้งหมด 16 เสียง ได้แก่
zhi chi shi ri zi ci si ye yi yin ying wu yu yue yun yuan.
5. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ
นอกจากนี้หน่วยเสียงจำนวนหนึ่งในระบบเสียงภาษาจีนกลางจะไม่มีเสียงพยัญชนะ พยางค์ประเภทนี้เรียกว่า พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ เช่น
ān 安 (สงบสุข); a 啊 (คำช่วยน้ำเสียง)
กฎการเขียนสัทอักษรพินอิน
โดยทั่วไป สัทอักษรพินอินของพยางค์ต่างๆ ประกอบขึ้นจากการสะกดรวมของเสียงพยัญชนะและสระ จากนั้นจึงใส่เสียงวรรณยุกต์ประกอบเข้าไป กฎการเขียนและสะกดพยางค์ของพยัญชนะและสระมีดังนี้
1. พยัญชนะ j,q,x จะสะกดรวมกับสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง i และ ü เท่านั้น เมื่อพยัญชนะ j,q,x ประสมกับสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง ü จะต้องลดรูปจุดสองจุดบน ü เช่น
ji, qi, xi
jia, qia, xia
ju, qu, xu
jue, que, xue
jun, qun, xun
2. เมื่อพยางค์ที่ประกอบขึ้นจากสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง i และ ü ไม่มีเสียงพยัญชนะมาประกอบ จะต้องเปลี่ยนรูป i เป็น y และเปลี่ยนรูป u เป็น w เช่น
ia→ya uo→wo
3. เมื่อสระ ui,un,iu,ü ประกอบขึ้นเป็นพยางค์ด้วยตัวเอง จะต้องเขียนเป็น
ui→wei un→wen iu→you ü→yu
4. เครื่องหมายคั่นเสียง
เมื่อพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียง a, o, e อยู่หลังพยางค์อื่น และทำให้การสะกดแบ่งพยางค์ไม่ชัดเจน เราจะใช้เครื่องหมายคั่นเสียง(’)มาคั่นระหว่างพยางค์ เช่น
jī'è 饥饿 (หิวโหย); míng'é 名额 (จำนวนโควต้า)
jiè 借 (ยืม); mín'gē 民歌 (เพลงพื้นบ้าน)
กฎการออกเสียง
1. เสียงวรรณยุกต์พื้นฐาน
เสียงวรรณยุกต์พื้นฐานในภาษาจีนกลางมี 4 เสียง ได้แก่
เสียงหนึ่ง เป็นเสียงสูง
เสียงสอง เป็นเสียงขึ้น
เสียงสาม เป็นเสียงต่ำ
เสียงสี่ เป็นเสียงตก
เสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ใช้เครื่องหมาย ˉ,ˊ,ˇ และˋแทนตามลำดับ เครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งสี่จะเขียนไว้บนเสียงหลักของสระในแต่ละพยางค์ (เสียงหลักของสระหมายถึงเสียงที่ต้องอ้าปากกว้างและออกเสียงดังที่สุดในบรรดาเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นสระ) เช่น
qiāng, qiáng, qiǎng, qiàng
tuī, tuí, tuǐ, tuì
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลางมีคุณสมบัติในการแยกความหมาย ดังนั้น หากเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็จะต่างไปด้วย
2. เสียงเบา
พยางค์ประเภทหนึ่งเมื่ออยู่หลังพยางค์อื่นแล้วจะต้องอ่านออกเสียงสั้นและเบา พยางค์ประเภทนี้เรียกว่า เสียงเบา เวลาเขียนพยางค์ที่เป็นเสียงเบาจะไม่ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ใดๆ กำกับ เช่น
hǎo ma? 好吗 (ดีไหม)
bō li 玻璃 (แก้ว, กระจก)
3. การกลายเสียง
ในบางครั้งการอ่านพยางค์หลายๆ พยางค์ติดกัน เสียงวรรณยุกต์บางพยางค์จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เสียงอ่านจะไม่เหมือนกับเวลาอ่านพยางค์นั้นโดยลำพัง การเปลี่ยนแปลงของเสียงวรรณยุกต์แบบนี้เรียกว่า การกลายเสียง รูปแบบการกลายเสียงมี 3 แบบด้วยกัน คือ
• เมื่อวรรณยุกต์เสียงสามอยู่ติดกันสองพยางค์ เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์หน้าจะกลายเสียงเป็นวรรณยุกต์เสียงสอง (แต่เวลาเขียน ให้คงเครื่องหมายวรรณยุกต์เดิม คือ เครื่องหมายวรรณยุกต์เสียงสามไว้) เช่น 你好“nǐ hǎo” ก็ต้องออกเสียงเป็น “ní hǎ
• เมื่อพยางค์วรรณยุกต์เสียงสามอยู่หน้าพยางค์วรรณยุกต์เสียงหนึ่ง เสียงสอง เสียงสี่และพยางค์เสียงเบาส่วนใหญ่ จะต้องกลายเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียง “ครึ่งเสียงสาม” วรรณยุกต์เสียง “ครึ่งเสียงสาม”ก็คือ การออกเสียงสามเพียงครึ่งเสียงแรกที่เป็นเสียงตก เช่น
lǎo shī 老师 (ครู, อาจารย์)
yǔ yán 语言 (ภาษา)
• คำว่า “不” และ “一” ในภาษาจีนกลางจะมีการกลายเสียงเฉพาะ กล่าวคือ เมื่อ “不” และ “一” อยู่หน้าพยางค์เสียงสี่หรือพยางค์เสียงเบาที่กลายมาจากเสียงสี่ จะต้องออกเสียงว่า “bú” และ “yí” ตามลำดับ เช่น
bú shì 不是; yí gè 一个
แต่หากสองคำนี้อยู่หน้าพยางค์เสียงหนึ่ง เสียงสองและเสียงสาม ก็ยังคงออกเสียงเป็นเสียงสี่ตามเดิมว่า “bù” และ “yì” เช่น
bù shuō 不说; bù lái 不来; bù hǎo 不好
yì tiān 一天; yì nián 一年; yì qǐ 一起
4. พยางค์เสริมท้ายด้วยเสียง er
พยางค์เสริมท้ายด้วยเสียง er หมายถึง พยางค์ที่เกิดจากการเพิ่มเสียง er(-r) ต่อข้างท้ายเสียงสระ ในภาษาจีนกลางมีคำจำนวนมากที่มีการเสริมท้ายด้วยเสียง er เวลาเขียนสัทอักษรพินอินให้เพิ่มตัว r ต่อท้ายสระ หากเขียนเป็นตัวอักษรจีนให้เขียนตัว “儿” ต่อท้ายคำ เช่น
gēr 歌儿 (เพลง); huār 花儿 (ดอกไม้)
หากเป็นพยางค์มีสระที่ลงท้ายด้วยเสียง –i หรือ –n เมื่อจะประกอบเป็นพยางค์เสริมท้ายด้วยเสียง er ก็จะไม่ออกเสียง –i หรือ -n เช่น
xiǎo háir 小孩儿 (เด็ก); wánr 玩儿 (เล่น)
洪恩教育科技有限公司 协助开发
สร้างสรรค์บทเรียนโดยบริษัท Human Education& Technology Company Ltd.