ยูนนานผลักดันการพัฒนา อุตสาหกรรมวัฒนธรรม
อย่างรวดเร็วในทั่วทุกด้าน

       เสียงไชโยโห่ร้องต่อการเร่งพัฒนาดังก้องเหนือแผ่นดิน
ภาคตะวันตก กระแสแห่งการสร้างผลงานใหม่ทางวัฒนธรรม
กระพือฮือโหมใต้เมฆสลับสี งานเอ๊กซโปอุตสาหกรรมวัฒน-
ธรรมภาคตะวันตก (คุนหมิง) ประเทศจีนครั้งแรกจัดขึ้นอย่าง
มโหฬาร ยูนนานได้นำภาพพจน์แห่งยุคสมัยที่ยึดมั่นในทรัพ-
ยากรได้เปรียบที่มีเอกลักษณ์    พยายามอุ้มชูอุตสาหกรรม
วัฒนธรรมให้เติบโตเข้มแข็ง ผลักดันการสร้างสรรค์ทางวัฒน-
ธรรมอย่างจริงจัง

               ยูนนานที่สวยงามอัศจรรย์ของจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมชน
ชาติที่แพรวพราวมีอัตลักษณ์ จึงถูกยกย่องว่า     เป็นขุมทรัพย์วัฒนธรรมชนชาติและ
มหาสมุทรแห่งศิลปะชนชาติที่หายากในโลก ในวาระขึ้นศตวรรษใหม่ ยูนนานกำหนด
การสร้างสรรค์มณฑลใหญ่ทางวัฒนธรรมชนชาติเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
ประการหนึ่ง   เริ่มแสวงหาทางสร้างผลงานวัฒนธรรมใหม่ที่พัฒนาอย่างมีเอกลักษณ์
ซึ่งนับได้ว่า   การพัฒนาทางวัฒนธรรมของยูนนานได้เข้าสู่จุดเริ่มต้นใหม่ทางประวัติ-
ศาสตร์แล้ว
             ยูนนานมีศักยภาพใหญ่หลวงและความได้เปรียบที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรม
วัฒนธรรม ยูนนานถูกขนานนามว่า         มหาสมุทรแห่งดนตรีและนาฏศิลป์หอวังแห่ง
วิจิตรศิลป์และภาพถ่าย         ฐานถ่ายทำภาพยนตร์โทรทัศน์ บ่อแร่แห่งผลิตผลงาน
วรรณกรรม บ่อทองคำแห่งวัฒนธรรมชนชาติ         ความได้เปรียบทางทรัพยากรจะ
สามารถแปรเปลี่ยนเป็นความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและความได้เปรียบทางอุต-
สาหกรรมอย่างรวดเร็วโดยผ่านการทุ่มกำลังขุดค้นและบุกเบิก ดังนั้น มณฑลยูนนาน
จึงเป็นมณฑลแรกของจีนที่เสนอตัวจะสร้างสรรค์เป็นมณฑลใหญ่ทางวัฒนธรรม
และได้เสนอเป้าหมายค่อนข้างก่อนเพื่อนที่จะอุ้มชูอุตสาหกรรมวัฒนธรรมให้เป็น
อุตสาหกรรมเสาหลักแขนงใหม่
        พร้อมกันนี้ มณฑลยูนนานได้สำแดงความได้เปรียบทางทรัพยากรอย่างแต็ม
เปี่ยมและเน้นเอกลักษณ์อันโดดเด่น     มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ฐานพัฒนาอุตสาห-
กรรมวัฒนธรรม โดยได้ก่อตั้งเมืองภาพยนตร์โทรทัศน์ที่ค่อนข้างใหญ่หลายแห่งซึ่ง
รวมทั้ง เมืองภาพยนตร์โทรทัศน์แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ได้ดึงดูดกองถ่ายภาพยนตร์

โทรทัศน์   70 กว่าเรื่องมาถ่ายทำที่ยูนนานเมื่อปี 2004 นอก
จากนี้   ฐานผลิตเครื่องแต่งกายเครื่องประดับประจำชนชาติ
ของแคว้นหงเหอ ฐานขายประมูลวัตถุโบราณและศิลปกรรม
คุนหมิงแห่งที่ 3 ต่อจากปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ก็กำลังเร่งรัดก่อตั้ง
     การเพิ่มกำลังดึงดูดการลงทุนจากภายนอก ดำเนินยุทธ-
ศาสตร์ที่อาศัยการบุกเบิกโครงการมากระตุ้นการพัฒนา เป็น
มาตรการอันทรงพลังประการหนึ่งของมณฑลยูนนานในการเร่ง
พัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม       นอกจากนี้ การยึดถือการ
จำเริญวัฒนธรรมเป็นเป้าหมาย ยึดถือการตลาดเป็นทิศทาง มุ่ง
มั่นในการผลิตสินค้า ประดิษฐ์สินค้าที่ยอดเยี่ยม สร้างสรรค์
บรรยากาศ เสริมสร้างการนำและการอุ้มชูแก่การผลิตผลงาน
ศิลปวัฒนธรรม บันดาลให้บังเกิดผลงานศิลปวัฒนธรรมที่ยอด
เยี่ยมจำนวนมากซึ่งมี “ภาพสะท้อนยูนนาน” เป็นแบบอย่าง
มณฑลยูนนานได้จัด “กิจกรรมประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม
ยูนนานอย่างต่อเนื่องที่ปักกิ่ง” และ “สัปดาห์ประชาสัมพันธ์
วัฒนธรรมยูนนาน” ที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อสะท้อนภาพพจน์อันดีงาม
ของยูนนานอย่างเต็มเปี่ยมที่เศรษฐกิจพัฒนา วัฒนธรรมรุ่ง-
เรือง ชนชาติต่าง ๆ สามัคคี สังคมมีเสถียรภาพ อันเป็นการ
สร้างเวทีสำหรับให้วัฒนธรรมยูนนานก้าวสู่ทั่วประเทศจีนและ
ก้าวสู่โลก ผลสำเร็จที่ได้รับและแรงเสน่ห์เฉพาะตัวที่มีอยู่ของ
วัฒนธรรมชนชาติยูนนาน ทำให้คณะศิลปะยูนนานได้รับ
เกียรติเป็นตัวแทนของประเทศจีนไปทำหน้าที่แลกเปลี่ยนวัฒน-
ธรรมกับต่างประเทศ ปี 2004 “ภาพสะท้อนยูนนาน” ไปร่วม
กิจกรรมการแสดง “วัฒนธรรมจีนท่องอเมริกาใต้” ที่บราซิล
และอาร์เจนตินา และประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ สถาบัน
ละครและนาฏศิลป์มณฑลยูนนานไปร่วมกิจการแสดงของ
สัปดาห์วัฒนธรรมจีนที่รัสเซีย คณะงิ้วโคมไฟมณฑลยูนนาน
ไปแสดงที่ยุโรปเหนือ ฯลฯ ปี 2005 พร้อม ๆ กับการจัดกิจ-
กรรมด้านวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น กิจกรรมการแสดง “สัมผัส
ยูนนาน” อย่างต่อเนื่องที่งาน “เทศกาลศิลปะนานาชาติแห่ง
นครเซี่ยงไฮ้ประเทศจีนครั้งที่ 7” “เทศกาลดนตรีเนียเอ่อ
ระหว่างประเทศครั้งที่หนึ่ง” “เทศกาลนาฏศิลป์แห่งประเทศ
จีนครั้งที่ 2” “การประกวดนาฏศิลป์จีนชิงรางวัลดอกบัวครั้ง
ที่ 5” “สัปดาห์ภาพยนตร์แม่น้ำแดงยูนนาน : ภาพยนตร์จีน

100 ปี ”     ตลอดจนคณะผู้แทนศิลปะยูนนานไปแสดงที่สวิส-
เซอร์แลนด์     ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น มาเลเซีย ศิลปวัฒนธรรมยูนนาน
กำลังก้าวสู่ทั่วประเทศจีนและทั่วโลก
            กิจกรรมลักษณ์ประดิษฐคิดสร้างที่มีประสิทธิภาพเหล่า
นี้   ทำให้ชาวยูนนานรับรู้มากขึ้นทุกวันว่า ทรัพยากรวัฒนธรรม
ที่อุดมสมบูรณ์ เข้มข้น ดั้งเดิมของยูนนาน ได้สั่งสมคุณค่าทาง
เศรษฐกิจอย่างมหาศาล เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดสำคัญที่สุด
อย่างหนึ่งของยูนนาน   อุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นกิจการใหม่
ที่มีพลังชีวิตมากที่สุดในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาอุตสาหกรรม
วัฒนธรรมเป็นการสอดคล้องกับแนวโน้มรวมของการพัฒนา
ของโลกที่เศรษฐกิจกับวัฒนธรรมผสมผสานกัน   เศรษฐกิจมี
ลักษณะเป็นแบบวัฒนธรรม       วัฒนธรรมมีลักษณะเป็นแบบ
เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนทางสำคัญในการสืบสาน เชิดชูและอนุรักษ์
วัฒนธรรมประชาชาติจีน
           การยึดถือการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นจุดทะลุ
เป้าหมาย   การยึดถือการจำเริญวัฒนธรรมของชนชาติเป็นพื้น
ฐานแน่นหนา การสร้างมณฑลใหญ่ทางวัฒนธรรมชนชาติของ
ยูนนาน     ได้ปรากฏแนวโน้มการพัฒนาที่สั่งสมมานานแต่เพิ่ง
เฟื่องฟู     อุตสาหกรรมวัฒนธรรมของยูนนานมีท่าทีการพัฒนา
ดุจดั่งเรือร้อยลำแข่งกับน้ำเชี่ยว   เรือพันลำชักใบเตรียมโต้ลม

“เทศกาลเปิดการประมง” จุดประกาย วัฒนธรรมการประมงเจียงชวนยูนนาน

       อำเภอเจียงชวนได้จัดงานเทศกาลเปิดฤดูการประมงเจียง
ชวนยูนนานประเทศจีนครั้งที่หนึ่งและงานแสดงสินค้าผลิต-
ภัณฑ์น้ำทะเลสาบที่ราบสูงด้วยรูปแบบ “พันคนชักใบ หมื่นคน
จับปลา” ร่วมกันฉลอง   “เทศกาลเปิดการประมง” ที่สืบทอด
กันมาอำเภอเจียงชวนก็ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการว่าเป็น
“ศูนย์การค้าผลิตภัณฑ์น้ำทะเลสาบที่ราบสูงยูนนาน” ซึ่งเป็น
การมอบทุนทรัพย์นามธรรมอันล้ำค่าก้อนหนึ่งให้แก่เจียงชวน
โดยได้ยกระดับบทบาทของอำเภอเจียงชวนในฐานะเป็นแหล่ง
ลอจิสติกส์การค้าผลิตภัณฑ์น้ำ
          วัฒนธรรมการประมงของอำเภอเจียงชวนมณฑลยูนนาน
มีประวัติแต่ช้านานแล้ว     ในโบราณวัตถุเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่
ขุคค้นจากภูเขาหลี่เจียซานของเจียงชวน     ก็มีลวดลายเครื่อง
มือจับปลาและสภาพการหาปลาของบรรพบุรุษอาณาจักรเตียน
สมัยโบราณ ขณะเดียวกัน   อำเภอเจียงชวนมีความพร้อมด้าน
เงื่อนไขการทำประมงที่ฟ้าโปรดเป็นพิเศษ     ทรัพยากรน้ำที่
อุดมสมบูรณ์และความได้เปรียบทางภูมิประเทศธรรมชาติ
ปัจจุบันนี้ทั่วอำเภอเจียงชวนมีเนื้อที่การประมงถึง 1.63 แสน
โหม่วหรือ 6.79 หมื่นไร่ นับเป็นอำเภอหนึ่งเดียวของมณฑล
ยูนนานที่มีเนื้อที่การประมงมากกว่าเนื้อที่ไร่นา
               เวลา8นาฬิกาตอนเช้าวัน“เทศกาลเปิดการประมง”
ชาวประมงทุกครอบครัวพากันมาถึงริมทะเลสาบซิงหยุนหูอัน
กว้างใหญ่ รอคอยวินาทีการจับปลาด้วยความเร่าร้อน ทันใด
ที่เห็นกระสุนสัญญาณเปิดทะเลสาบยิงสู่ท้องฟ้า เรือนับพันลำ
ที่เตรียมพร้อม ณ ริมทะเลสาบก็พุ่งออกไปทันที บรรดาชาว
ประมงพายเรืออย่างสุดแรงเพื่อแย่งทำเลจับปลาที่ดีที่สุด เรือ
ประมงต่าง ๆ นา ๆ ทั้งลำใหญ่และลำเล็กกระจายทั่วทะเลสาบ
ในชั่วพริบตา นับเป็นวิสัยทัศน์ที่น่าดูมาก
           ในช่วงเทศกาลเปิดการประมงนาน 20 วัน แต่ละวันจะ
มีประมาณ 8   หมื่นคนไปซื้อปลาที่นั่น ดังนั้น นอกจากตลาด
ปลาสดแล้ว จากย่านทะเลสาบซิงหยุนหูถึงตัวเมืองตลอดจน
สองฟากทางหลวงก็มีปลาสดต่าง ๆ วางขาย คนพื้นเมืองไม่
ว่ารวยหรือจนต่างต้องรับประทานปลาในช่วงนี้ตามประเพณี
เพื่อร่วมฉลอง ใน   “เทศกาลเปิดการประมง” ยังมีกิจกรรม
หลากหลายรูปแบบ เช่น การบวงสรวงเทพยดาของชาวบ้านก่อน
จับปลา การประมูลขายปลาหลีฮื้อหัวโตที่ลือชื่อ การประกวด
ฝีมือปรุงอาหารประเภทปลา การแสดงฟ้อนรำพื้นบ้าน ซึ่งได้
เพิ่มสาระสีสันวัฒนธรรมแก่การประมงของอำเภอเจียงชวน