ตลาดนัดเดือน 3 ของชนชาติไป๋ที่ต้าหลี่

                    ตลาดนัดเดือน 3 ที่นครต้าหลี่ยูนนาน เป็นเทศกาลที่
ยิ่งใหญ่ของชนชาติไป๋ ซึ่งจัดขึ้นที่เชิงเขาชางซาน ทางตะวันตก
ของตัวเมืองต้าหลี่ระหว่างวันขึ้น     15   ค่ำถึงแรม   5  ค่ำเดือน 3
ทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ          ในช่วงตลาดนัด จะแออัดไปด้วย
พ่อค้าแม่ค้า     ดาษดื่นไปด้วยเพิงและแผงลอย คึกคักเป็นพิเศษ
                   ตลาดนัดเดือน 3 ต้าหลี่ที่มีประวัติยาวนานและอัต-
ลักษณ์ของตนเอง เป็นทั้งงานมหกรรมซื้อขายสินค้าที่มีขนาด
ใหญ่โตในภาคตะวันตกของยูนนาน        และเป็นงานมหกรรม
บันเทิงวัฒนธรรมกับกิจกรรมกีฬาของชนชาติที่มีสีสันหลาก
หลาย   โดยเฉพาะกิจกรรมแข่งม้าในตลาดนัดเดือน   3 ที่นัก
ขี่ม้ามาชุมนุม ม้าอาชาไนยห้อตะบึง เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเร้าใจ
น่าชมอย่างยิ่ง

            เล่ากันว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีทรราชคนหนึ่ง เพ้อ
ฝันคิดอยากจะมีอายุยืนไม่รู้จักตาย          บริวารที่ประจบสอพลอ
ก็แนะให้ทรราชกินดวงตาของคนวันละคู่          ซึ่งได้นำเอาความ
หายนะอย่างร้ายแรงแก่ชาวบ้านชนชาติไป๋ในท้องถิ่นนั้น      ตอน
นั้นมีวีรบุรุษอันทรงพลังอัศจรรย์คนหนึ่งตั้งใจจะช่วยประชาชน
ชาวไป๋กำจัดทรราช         วันหนึ่งในเดือน     3 วีรบุรุษผู้นี้วางแผน
หลอกทรราชไปที่ยอดเขาจงเหอเฟิงของภูเขาชางซาน แล้วเรียก
หมาเทวดากัดคอทรราช   ดูดกินเลือดจนทรราชตาย จึงได้กำจัด
ผู้ชั่วร้ายซึ่งเป็นการขจัดภยันตรายของประชาชนชาวไป๋ ชาวบ้าน
ชนชาติไป๋จึงนัดชุมนุมร้องรำทำเพลงที่เชิงเขาชางซานระหว่าง
วันขึ้น    15  ค่ำถึงแรม  5  ค่ำเดือน  3    ทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ
เพื่อระลึกวีรบุรุษผู้นี้และวันศิริมงคลที่ประชาชนชาวไป๋ได้รับ
การช่วยเหลือให้พันจากทุกข์ภัย      ต่อมาเมื่อเวลาผ่านมาปีแล้ว
ปีเล่า ในที่สุดก็กลายเป็น   “ตลาดนัดเดือน 3” ที่มีปีละครั้ง ใน
ช่วง “ตลาดนัดเดือน 3”     ของทุกปี นอกจากมีการแลกเปลี่ยน
ซื้อขายสินค้าแล้ว     ยังมีการแสดงฟ้อนรำประจำชนชาติและการ
เล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ ด้วย
                 โดยเฉพาะกิจกรรมแข่งม้าใน “ตลาดนัดเดือน 3” ที่
ต้าหลี่ซึ่งมีปีละครั้ง ยังเป็นโอกาสอันดีแก่บรรดาเด็กสาวชนชาติ
ไป๋ในการคัดเลือกคนที่รัก   นักขี่ม้าที่หน้าตาหล่อ ทะมัดทะแมง
ฝีมือควบม้ายอดเยี่ยม     มักจะได้รับความสนใจจากสาว ๆ มาก
เป็นพิเศษ และกลายเป็นเป้าหมาย   “ขับเคี่ยว” ของพวกหล่อน

เทศกาลคั่วสือ : เทศกาลแบบจารีต
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติลีซอ

           “เทศกาลคั่วสือ” เป็นเทศกาลแบบจารีตสืบทอดกันมา
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติลีซ่อ ซึ่งเทียบเท่าวันตรุษจีนของชน
ชาติฮั่นช่วงเทศกาลพอดีเป็นช่วงที่ดอกท้อบานสะพรั่งดังนั้น
จึงกล่าวได้ว่า     ยามดอกท้อบานของทุกปีก็คือวันฉลองปีใหม่
ของชนชาติลีซอ
              ชนชาติลีซอส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำนู่เจียง
(สาละวินตอนบน)         มณฑลยูนนาน แคว้นปกครองตนเองชน
ชาติลีซอนู่เจียง เป็นแคว้นปกครองตนเองชนชาติลีซอหนึ่งเดียว
ของจีนการฉลองวันตรุษปีใหม่ของประชาชนลีซอในท้องถิ่น
แต่ละครอบครัวต้องตำโรตีข้าวเหนียวและโรตีข้าวโพดเหนียว
หมักเหล้าอุที่หอมกลมกล่อม       ทุกครอบครัวต้องนำโรตีข้าว
เหนียวที่ตำครกแรกสักนิดไปไว้บนต้นท้อและต้นสาลี่ เพื่อภาว-

นาขอให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์และมีความสุขในวาระ
ปีใหม่ วันสุกดิบจะไปทานข้าวบ้านอื่นไม่ได้   โดยเชื่อว่ามิฉะนั้น
ก็จะหายไปกับดวงจันทร์         ดังนั้น ทุกคนในครอบครัวจะทาน
ข้าวส่งท้ายปีเก่าที่บ้านอย่างพร้อมหน้ากัน   ไม่มีใครไปนอกบ้าน
ในคืนนั้น ตามนิทานโบราณของชนชาติลีซอ   ชนชาตินู่ สุนัขเป็น
ผู้นำพันธุ์ข้าวมาให้โลกมนุษย์ ดังนั้น ในพิธีเซ่นไหว้ปีใหม่ ชนชาติ
ลีซอจะต้องเอาข้าวถ้วยหนึ่ง โรตีข้าวเหนียวแผ่นหนึ่ง หมูชิ้นหนึ่ง
เซ่นไหว้เทพสุนัข เพื่อตอบสนองบุญคุณของสุนัข
                  การฉลอง “เทศกาลคั่วสือ” ของชนชาติลีซอท้องถิ่น
ต่าง ๆ เริ่มจากวันแรกถึงวันที่       12 ซึ่งหมายถึงปีหนึ่ง 12 เดือน
ในช่วงฉลองปีใหม่สมาชิกในครอบครัวต่างก็พักผ่อนหยุดงาน
สวมใส่ชุดแต่งกายที่ดีที่สุดเพื่อฉลองเทศกาล มีการปักเสาชิงช้า
และราวกระโดดสูง แข่งขันกีฬาโล้ชิงช้าและกระโดดสูง ชายหนุ่ม
จะดีดพิณชวนสาว ๆ         ไปร้องรำทำเพลงที่ชายป่า หรือไปเล่น
เกมส์          “ทรายฝังร่างคน”ที่ริมฝั่งแม่น้ำนู่เจียงและแข่งถ่อแพ
คนสูงอายุจะดื่มเหล้าอุและขับร้องทำนองพื้นบ้าน       ร้องเหนื่อย
แล้วดื่มเหล้าอุสักถ้วย     พักสักครู่แล้วขับร้องต่อ บางคนสามารถ
ร้องต่อเนื่องกันหลายวันหลายคืน   วันที่ 7 ของปีใหม่เป็นวันหยุด
พักผ่อนของสตรี       สตรีไม่ต้องเอากระบอกไผ่ไปแบกน้ำใช้จาก
ลำห้วย ไม่หุงข้าวในวันนั้น         วันที่ 9 เป็นวันหยุดพักผ่อนของ
ผู้ชาย ผู้ชายก็จะไม่ต้องไปแบกน้ำ   ไม่ต้องหุงข้าวและไม่ไปล่า
สัตว์ในป่าดงในวันนั้น       ประเพณีการสลับกันหยุดพักผ่อนแบบ
วันที่ 7 หญิง วันที่ 9   ชายนี้ เป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกัน
มาของชนชาติลีซอ