ปกิณกะการค้นคว้าเรื่องไทยไทตอนที่ 25

ชื่อและความเป็นมาของเครื่องใช้ส่วนหนึ่งของคนไทย-ไท

         จ้อง
         สิ่งที่ใช้สำหรับกางกันแดดกันฝน คนไทยเรียกว่าร่ม แต่
คนไทเดิมสาขาต่าง ๆ   เรียกว่าจ้อง คำนี้มาจากภาษาจีน ดฑ
สำเนียงจีนกลางปัจจุบันออกเสียงว่าชวง มีนิยามว่าฉัตรหรือร่ม
ซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่งของเจ้านายในสมัยอดีต ไทลื้อแคว้น
สิบสองพันนานอกจากเรียกร่มว่าจ้องแล้ว ยังเรียกฉัตรว่าจ้อง
ด้วยเพราะฉัตรของอาณาจักรเชียงรุ่งในอดีตก็มีรูปทรงเป็นร่ม
เพียงแต่มีลวดลายเป็นสีทองและเรียกว่าจ้องคำ   ซึ่งก็คือฉัตร
ทองคำ ราชสำนักเชียงรุ่งยังได้แต่งตั้งหัวหน้าเผ่าชาวเขาเช่น
เผ่าปลัง อีก้อ ฯลฯ เป็น พญาจ้องคำ   ซึ่งก็คือพระยาฉัตรทอง
คำ บรรดาศักดิ์นี้คล้ายกับพระยาพานทองของไทย

              เกือก
              สมัยโบราณ คนไทยเรียกรองเท้าว่าเกือก ไทล้านนา
คนลาวเรียกว่าเกิบ ไทลื้อเรียกว่าแข็บ คำเกือก เกิบ แข็บพ้อง
กับคำจีน ๅ์         ซึ่งสำเนียงจีนกลางปัจจุบันออกเสียงว่าจิ๊ แต่
สำเนียงจีนโบราณออกเสียงว่าเขียก โดยมีนิยามว่าเกือกไม้หรือ
เกี๊ยะ   จีนโบราณยังเคยใช้คำนี้มาเรียกรองเท้าฟางข้าวและรอง
เท้าผ้า โดยเรียกรองเท้าที่ฝั้นจากฟางข้าวว่าฉ่าวจิ๊ (ฒๅ์) เรียก
รองเท้าผ้าว่าปอ๊ะจิ๊ (ฒฏๅ์)       แคว้นสิบสองพันนาเมื่อ 50 กว่าปี
ก่อน ชาวไทลื้อในชนบทส่วนใหญ่ไม่มีรองเท้าจะสวม   ถึงฤดูฝน
หนทางบางหมู่บ้านเต็มไปด้วยโคลนเลน   ชาวบ้านจะเอาไผ่บง
ซึ่งเนื้อหนาปล้องสั้นมาผ่าครึ่งใช้เชือกเป็นสายพาดทำเป็นเกือก
ไม้สำหรับลุยโคลน ไทลื้อเรียกว่าแข็บโกบกาบ       ซึ่งมีรูปทรง
เหมือนจิ๊หรือเขียก เกี๊ยะจีนโบราณ

ยรรยงจิระนคร่

       เครื่องใช้ประจำวันของคนไทย-ไทที่มีชื่อพ้องกับของจีน หรือมีความเป็นมาจากจีนโบราณ (โดยไม่นับส่วนที่แพร่เข้า
เมืองไทยโดยชาวจีนโพ้นทะเล) นอกจากสมุดไทย ถู (ตะเกียบ) และตั่ง (สำหรับนั่งแล้ว) ยังมีจ้อง (ร่ม) เกือก ฯลฯ