China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-11-07 16:01:38    
บ้านของหนอนหนังสือ
รายการสถานีต่อไป

cri

Linda Jaivin นักเขียนชาวออสเตรเลีย

สำหรับผมซึ่งคลุกคลีอยู่ในแวดวงนักเขียนไทยมาหลายปีดีดัก เห็นความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดในงานเขียนเกือบทุกประเภท รู้ว่างานเขียนบ้านเรามีอุปสรรคทางภาษาเป็นอย่างแรกในการก้าวออกไปสู่โลกกว้าง และมีปัญหาเรื่องขาดบุคคลที่สามารถแปลงานเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเบื้องต้นที่ทุกคนต่างก็รู้ แต่มักลืมนึกไปถึงเนื้อหา ซึ่งเป็นจุดหลักของเรื่องว่าสามารถก้าวออกไปสู่โลกภายนอกได้จริงแค่ไหน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมงานเปิดตัวหนังสือของ Linda Jaivin นักเขียนนวนิยายอีโรติกและเชิงประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ซึ่งอาศัยอยู่ในปักกิ่ง ได้มาเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ซึ่งมีแผนจะออกวางตลาดในปี 2009 เรื่อง In Bed With George 'Chinese' Morrison ในตอนหนึ่งช่วงกลางรายการเสวนา ก่อนที่จะเข้าสู่การอ่านบางตอนของเรื่องใหม่ล่าสุดนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้ชิมลางและยั่วน้ำลายให้ใจจดใจจ่อรอติดตามผลงานของเธอ เธอได้เล่าประสบการณ์การเก็บข้อมูลเขียนหนังสืออิงประวัติศาสตร์เล่มนี้ว่า

เธอเล่าถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ออกมาเป็นฉากๆ วิเคราะห์ลักษณะนิสัย และพฤติกรรมออกมา บอกถึงจุดที่เป็นแรงบันดาลใจ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นความเป็นนักเขียนมืออาชีพที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดยิบ ตัวละครของเธอมีทั้งความสมจริงในแง่ประวัติศาสตร์ และก็มีสีสันน่าประทับใจจากการแต่งแต้มสีสันด้วยฝีมือการประพันธ์ของเธอ เวลาหนึ่งชั่วโมงกว่าที่เธอพูดให้ผู้ร่วมงานเสวนาฟังนั้น แม้จะมีข้อมูลพิมพ์ออกมาเป็นแผ่นๆ ที่เธอถือและอ่านอยู่ตลอดเวลา แต่ผมเชื่อว่า ถึงแม้เธอจะไม่อ่าน เธอก็สามารถตอบปากเปล่าได้อย่างไม่ตกหล่น ซึ่งแสดงถึงการทุ่มเทอยู่กับการเขียนเรื่องและการค้นข้อมูลอย่างละเอียด เพราะในท้ายรายการนั้น มีคำถามเพิ่มเติมอีก 2 – 3 ข้อ เธอก็ตอบออกมาได้อย่างมั่นใจ และชัดเจน เรียกเสียงปรบมือด้วยความประทับใจจากผู้ฟังทั้งห้องได้ทันที

จากจุดนี้เองที่ทำให้ผมพบว่านักเขียนบ้านเรายังต่างกับนักเขียนระดับนานาชาติอย่างไร นั่นก็คือ การค้นคว้าศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง ซึ่งโดยมากมักนิยมเขียนจากความทรงจำ และความประทับ เรื่องแม้จะดี แต่ส่วนใหญ่ก็ยังขาดน้ำหนักในเรื่องความสมจริง ซึ่งเป็นหัวใจของการเขียนนิยายเลยทีเดียว

ท่านผู้ฟังรู้ไหมครับว่าทำไม เราถึงอ่านนิยายกัน

ก็เพราะมันสมจริงนี่เองแหละครับ มันเหมือนจริงมาก แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องจริง นิยายดีๆ จึงมักพาเราหลีกหนีเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่งโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมักถูกกล่าวขานว่า "วางไม่ลง" ฉะนั้นสิ่งที่นักเขียนที่ดีที่เขียนหนังสือที่วางไม่ลงได้ คือนักเขียนคนนั้นต้องสามารถชั่งน้ำหนักระหว่างเรื่องจริงและจินตนาการได้อย่างพอเหมาะพอเจาะนั่นเอง

วิธีการเสวนาของทำเนียมฝรั่งแบบนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะแตกต่างจากเมืองไทย ที่จะต้องมีเวที มีผู้ดำเนินการเสวนา มีคนมอบของที่ระลึก แต่นี่นักเขียนฉายเดี่ยวคนเดียวทั้งรายการเลย นอกจากนี้สำนักพิมพ์ยังมีงบให้นักเขียนเดินทางไปเปิดตัวหนังสือตามเมืองสำคัญต่างๆ และทำแบบนี้ได้ประโยชน์กันทั้ง 3 ฝ่าย คือนักเขียนก็ได้พบนักอ่านของตัวเองอย่างแท้จริง และในทางอ้อมก็ได้ประสบการณ์การเดินทาง ซึ่งอาจจุดประกายการเขียนได้ นักอ่านก็ได้ความบันเทิงและความรู้เบื้องหลังการเขียนหนังสือแต่ละเล่ม ทางอ้อมก็อาจเกิดนักเขียนหน้าใหม่ได้ สุดท้ายสำนักพิมพ์และร้านหนังสือก็ได้การประชาสัมพันธ์และยอดจำหน่ายหนังสือ

1 2 3 4 5